ธรรมาภิบาลเปรียบเทียบและแนวทางการพัฒนาธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบหลักธรรมาภิบาลของประเทศไทยและต่างประเทศ และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ระหว่างเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 ท่าน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แล้วสร้างแบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากหน่วยงานราชการส่วนกลาง 95 หน่วยงาน ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า ไทย เดนมาร์ก สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียมีองค์ประกอบหลักธรรมาภิบาลที่เหมือนกันคือ หลักความโปร่งใสและหลักการมีส่วนร่วม ส่วนความแตกต่างคือเดนมาร์กและสหรัฐอเมริกานำหลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากำหนดเป็นกรอบตัวชี้วัดระดับธรรมาภิบาล และแนวทางในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของหน่วยงานภาครัฐไม่มีกรอบตัวชี้วัดที่ชัดเจน จากระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกรอบตัวชี้วัดธรรมาภิบาลแต่ละด้านจากมากไปน้อย อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างมาก ได้แก่ หลักความโปร่งใส หลักสำนึกรับผิดชอบ หลักนิติธรรม หลักการมีส่วนร่วม หลักคุณธรรม/จริยธรรมและหลักความคุ้มค่า ตามลำดับ หน่วยงานภาครัฐควรมีกรอบตัวชี้วัดธรรมาภิบาลทั้ง 6 องค์ประกอบ แต่รายละเอียดตัวชี้วัดธรรมาภิบาลแต่ละองค์ประกอบจะแตกต่างกันตามภารกิจของหน่วยงาน และหน่วยงานภาครัฐควรนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนให้เร็วขึ้น และเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น
Article Details
- เนื้อหาและข้อมูลที่ลงตีพิมพ์ในวารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
- บทความและข้อมูล ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ ขอให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ. (2555). ความเป็นมารัฐบาลเดนมาร์ก. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2561, จาก http://tica.thaigov.net
กลุ่มส่งเสริมวิชาการ สำนักนโยบายและวิชาการสถิติ. (2547). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2563, จาก http://service.nso.go.th
คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด. (2558). ความเป็นมาและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560, จาก http://www.ggc.opm.go.th
จันทรานุช มหากาญจนะ. (2559). การเมืองและการบริหารเปรียบเทียบ กรอบทฤษฎีพื้นฐานเพื่อการวิจัย. กรงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ชัยสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง. (2548). ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO กับการพัฒนาบ้านเมืองให้น่าอยู่ควบคู่คุณธรรม. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 45(2), 201–208.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2547). การปฏิรูประบบราชการเพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.
ณัฐกริช เปาอินทร์. (2560). รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์: ความพยายามในการยกระดับธรรมาภิบาล. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 9(2), 37–79.
______. (2561). นโยบายสาธารณะ การวางแผน และการจัดการเชิงกลยุทธ์. นนทบุรี: โรงพิมพ์รัตนไตร.
ณัฐฐา วินิจนัยภาค. (2553). ดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาลหน่วยบริหารจัดการการศึกษา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
______. (2554). นโยบายสาธารณะ : แนวทางการศึกษาแบบสหวิทยาการ. กรุงเทพฯ: โครงการเอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2546). ธรรมาภิบาล: หลักการเพื่อการบริหารรัฐกิจแนวใหม่. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 1(2), 1-18.
ทิวากร แก้วมณี. (2559). ธรรมาภิบาล = Good governance. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ จำกัด.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. นนทบุรี: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
ธีรวี ทองเจือ, และปรีดี ทุมเมฆ. (2560). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21: มิติด้านการศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(3), 389-403.
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ, และบุญมี ลี้. (2546). ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ปธาน สุวรรณมงคล. (2558). การบริหารงานภาครัฐกับการสร้างธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: บริษัท แก่นจันทร์การพิมพ์ จำกัด.
ปภาภัทร อัครางกูร. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับการเมือง. วารสารศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 15(4), 26-30.
ปาริชาต เทพอารักษ์, และอมราวรรณ ทิวถนอม. (2550). สุขภาวะของคนไทยจุดเริ่มต้นของความอยู่เย็นเป็นสุข. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 44(1), 12–17.
พระมหาภูษิต อคฺควณฺโณ. (2558). การนำหลักธรรมาภิบาลสู่การปฏิบัติ เพื่อการบริหารงานขององค์กรยุคใหม่. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 3(3), 1–19.
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546, 9 ตุลาคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 120 ตอนที่ 100 ก.
พอพันธ์ อุยยานนท์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2561, จาก http://www.stou.ac.th
พัชรี สิโรรส, บรรเจิด สิงคะเนติ, ถวิลวดี บุรีกุล, อัมพร ธำรงลักษณ์ และมานวิภา อินทรทัต. (2559). หลักธรรมาภิบาล: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
พัทธ์ปิยา จงชาณสิทโธ. (2559). ธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาประเทศไทยไปสู่ความเป็นเลิศ. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2562, จาก www.ocsc.go.th
ภัทรษมน รัตนางกูร. (2552). ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://phatrasamon.blogspot.com
เยาวลักษณ์ เคลือบมาศ. (2551). ความสำคัญของการเป็นผู้ประกอบการในปัจจุบัน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 1(2), 45-50.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.
เรณุมาศ รักษาแก้ว. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชน. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://wiki.kpi.ac.th
ลาชิต ไชยอนงค์. (2556). ธรรมาภิบาล: บริบทประเทศไทย. วารสารร่มพฤกษ์, 31(2), 77–98.
ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงการต่างประเทศ. (2561). แผนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กระทรวงการต่างประเทศ (พ.ศ. 2560 - 2564). สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2563, จาก http://www.mfa.go.th
สถาบันพระปกเกล้า. (2545). การศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีวัดผลการพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2562, จาก http://www.kpi.ac.th/knowledge/research
สํานักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สํานักงาน ก.พ.. (2560). ประเทศไทยในบริบทไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2561, จาก https://www.ocsc.go.th
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2557). การส่งเสริมจริยธรรมตามแนวทางสากล. วารสารข้าราชการ. 58(2), 20-23.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ. (2562). ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2562, จาก http://www.pacc.go.th
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2551). การปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www2.opdc.go.th
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). “พัฒนา”. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://www.royin.go.th
สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2558). ระเบียบวิธีวิจัย สำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
สุภางค์ จันทวานิช. (2556). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
แสงชัย อภิชาติธนพัฒน์. (2559). หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2563, จาก http://www.constitutionalcourt.or.th
อรพรรณ ศรีเสาวลักษณ์. (2553). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.stou.ac.th
อายุษ ประทีป ณ ถลาง. (2560). โลกแบนและมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2561, จาก https://www.the101.world
Dahl, R. (1961). Who Governs?: Democracy and Power in an American City. New Haven: Yale University Press.
Dye, Thomas R. (2013). Understanding public policy. Boston: Pearson.
Kettl, D. F., Pollitt, C., & Svara, J. H. (2004). Towards a Danish Concept of Public Governance: An International Perspective. Retrieved August 16, 2019, from www.publicgovernance.dk/docs/0408260903.pdf
Lowi, T., & Olson, M. (1970). Decision Making vs. Policy Making: Toward an Antidote for Technocracy. Retrieved January 20, 2018, from https://doi.org/10.2307/974053
Olson, M. (1965). The Logic of Collective Action: Public Good and the Theory of Groups. Massachusetts: Harvard University Press.
Transparency International. (2011). What Makes New Zealand, Denmark, Finland, Sweden and Others “Cleaner” Than Most Countries? Retrieved March 3, 2018, from http://blog.transparency.org
World Bank. (2019). Worldwide Governance Indicators. Retrieved February 2, 2020, from http://info.worldbank.org/governance/wgi/Home/Reports