A GUIDELINE FOR DEVELOPING TEAMWORK PERFORMANCES OF LOCAL ADMINISTRATION OFFICERS OF NONTHAI DISTRICT, NAKHON RATCHASIMA PROVINCE

Main Article Content

Aomjun Piromrach

Abstract

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จในการทำงานเป็นทีมของบุคลากรระดับท้องถิ่น  2) เพื่อศึกษาปัจจัยการทำงานเป็นทีมของบุคลากรระดับท้องถิ่น              3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงานเป็นทีมของบุคลากรระดับท้องถิ่น และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรระดับท้องถิ่นในเขตอำเภอโนนไทย  จังหวัดนครราชสีมา  การวิจัยในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ตอนที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ  บุคลากรระดับท้องถิ่นและประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานเป็นทีมของบุคลากรระดับท้องถิ่นในเขตอำเภอโนนไทย  จังหวัดนครราชสีมา จำนวน  300  คน โดยการใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ตอนที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ บุคลากรระดับท้องถิ่นและประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานเป็นทีมของบุคลากรระดับท้องถิ่นในเขตอำเภอโนนไทย  จังหวัดนครราชสีมา จำนวน  35  คน  ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive  sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์  โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content  Analysis) 


ผลการวิจัยพบว่า


1. ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลของบุคลากรระดับท้องถิ่นและประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานเป็นทีมของบุคลากรระดับท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง  คิดเป็นร้อยละ  60.33  มีอายุระหว่าง  40 – 49  ปี  คิดเป็นร้อยละ 40.33   มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาหรือต่ำกว่า  คิดเป็นร้อยละ  47.00  มีสถานภาพสมรส  คิดเป็นร้อยละ  67.67  มีสถานภาพทางสังคมเป็นประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานเป็นที่ของบุคลากรระดับท้องถิ่น  คิดเป็นร้อยละ  76.67 


2. ความสำเร็จในการทำงานเป็นทีมของบุคลากรระดับท้องถิ่น  ในภาพรวมมีความสำเร็จอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 12 ด้าน โดยด้านรูปแบบการทำงานที่หลากหลายมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด  ด้านความชัดเจนของวัตถุประสงค์ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 


 3. ปัจจัยการทำงานเป็นทีมของบุคลากรระดับท้องถิ่น  ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้ง  5 ด้าน โดยด้านสภาพแวดล้อมของทีมงาน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด      ส่วนด้านกระบวนการทำงานของทีมมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 


4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงานเป็นทีมของบุคลากรระดับท้องถิ่นในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ ด้านเป้าหมาย ด้านบทบาท และด้านสภาพแวดล้อมของทีมงาน ส่วนปัจจัยที่ไม่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงานเป็นทีมของบุคลากรระดับท้องถิ่น ได้แก่ ด้านกระบวนการทำงานของทีม  และด้านความสัมพันธ์ระหว่างกัน      


5. แนวทางพัฒนาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรระดับท้องถิ่น  มีดังนี้


             5.1 ด้านเป้าหมาย 1) ควรสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจให้พนักงาน 2) มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน และกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงานที่ชัดเจน  3) สร้างสัมพันธ์ภาพการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย มอบอำนาจในการตัดสินใจให้ผู้รับผิดชอบงาน


             5.2 ด้านบทบาท 1) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดผู้รับผิดชอบงานตามความสามารถของพนักงาน  2) กำหนดบทบาทความรับผิดชอบโดยการอออกคำสั่งเป็น      ลายลักษณ์อักษร โดยไม่ซ้ำซ้อนกัน 3) ประชุมชี้แจงความรับผิดชอบให้พนักงานทุกคนได้รับทราบ และเปิดโอกาสให้มีการซักถามเพื่อทำความเข้าใจ 


    5.3 ด้านกระบวนการทำงานของทีม 1) มีการจัดประชุมเพื่อวางแผนการปฏิบัติงานขององค์กร  2) ผู้บริหารควรมีความยืดหยุ่น รับฟังความคิดเห็นของพนักงาน ใช้เสียงส่วนใหญ่ในการตัดสินใจ  3) มีการจัดประชุมเพื่อติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน 


    5.4 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างกัน 1) ให้พนักงานร่วมกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจร่วมกัน ส่งเสริมให้บุคลากรท้องถิ่นทุกคนมีน้ำใจและมีความเอื้อเฟื้อต่อเพื่อนร่วมงาน            2) ส่งเสริมให้บุคลากรท้องถิ่นทุกคนมีการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการปฏิบัติงานซึ่งกันและกัน  3) ส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนสามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข        


    5.5 ด้านสภาพแวดล้อมของทีมงาน 1) ส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน ให้เกียรติและเคารพความคิดเห็นของทุกคน  2) ส่งเสริมให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาความดีหรือการเลื่อนขั้นจากความรู้ความสามารถและมีกระบวนการที่ตรวจสอบได้  3) ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร  


The objectives of this research are as follows: 1.) To study the successful teamwork of local personnel. 2.) To study the factors of teamwork. 3.) To study the factors affecting the success in team working of staff and local. 4.) To study the ways on how to improve or develop the teamwork of local personnel in Non Thai district in Nakhon Ratchasima Province.


This research was divided into two parts. Part one – Five level scale questionnaire, the group samples being used were three hundred local administrators and local residents who have been involved with a team of local personnel in Non Thai district, Nakhon Ratchasima Province by using multi-stage random sampling. The tools used in this research are a 5-level scale questionnaire. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and stepwise regression analysis. Part two - Interview. The group samples being used were thirty-five personnel and local residents who have been involved with a team of local personnel in Non Thai district, in Nakhon Ratchasima Province. This was obtained by purposive sampling. Tools used in the research were interviews using content analysis.


 


The results of this research showed that


          1.) The personal data of the local people and people who have been involved with a team of local personnel mostly are female which is 60.33 percent, Aged 40-49 years accounted for 40.33 percent, have secondary education or lower 47.00 percent, and were married. 67.67 percent, the social status of individuals who have been involved with the work of the local personnel is 76.67 percent.


          2.) In general, the success of the local personnel teamwork in twelve sections is moderate, variety of working pattern got the highest average and the clarity of purpose has the lowest average.


          3.) The factors of team working all over five sections were moderate, working environment got the highest percentage and working process was the lowest.


4.) The most influential factors of teamwork were target, working environment and performance while working process and relationship has no effect.


5. Guidelines to improve teamwork are as follows:


         5.1 Target 1.) Administrators should create a sense of pride for employees.  2.)  There should be plan to work together and set a clear and specified performance targets. 3.) Build good relationship, collaboration of all parties; decisions should be made by the officer in charge.


        5.2 Performance 1.) The local personnel should determine qualified person to be in charge in every department depending on the ability of the employees. 2.) Have a written statement determining specific responsibility not overlapping with another.


      5.3 Teamwork process 1.) set up meeting to plan for work implementation of the organization. 2.) The administrators should be flexible, listen to employee feedback and take opinions of majority in making decision. 3.) Set up meeting to monitor and evaluate the performance.


     5.4 Relationship 1.) Employees should share the vision and mission together, encourage local personnel to have kindness and courtesy towards colleagues. 2.) Encourage local personnel to help and support each other’s work. 3.) Encourage all staff to work happily together.


       5.5 Working environment 1.) Encourage all employees to participate in setting performance standards, honor and respect the opinions of everyone. 2.) Encourage local administrator to consider the achievements for promotion from knowledge and abilities which can be verified.  3.) Encourage local governments to cooperate with agencies inside and outside the organization.

Article Details

How to Cite
Piromrach, A. (2015). A GUIDELINE FOR DEVELOPING TEAMWORK PERFORMANCES OF LOCAL ADMINISTRATION OFFICERS OF NONTHAI DISTRICT, NAKHON RATCHASIMA PROVINCE. Political Science and Public Administration Journal, 6(1-2), 75–92. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polscicmujournal/article/view/86905
Section
Special Articles

References

ภาษาไทย
กมลพรรณ พัฒนา. (2552). แนวทางการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พิฆเนศพริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.

ธนิตรานันท์ พรรณสวัสดิ์. (2554). การทำงานเป็นทีมขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

นิรันดร์ สุภศร .(2550). การศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานการศึกษาอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปรียาภรณ์ ศรีเจริญ. (2554). การสร้างทีมงานขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกโพธิ์อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. รายงานการศึกษาอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พงศกร เพ็ชรรัตน์. (2553). การบริหารงานเป็นทีมขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิยาลัยขอนแก่น.

พิมพ์ลภัส ถ้วยอิ่ม. (2553). การทำงานเป็นทีมของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.

วราภรณ์ ไม้สนธิ์. (2553). การพัฒนาการทำงานเป็นทีมของพนักงานผู้ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบลพบพระ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก. รายงานการศึกษาอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิชิต อู่อ้น. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS. กรุงเทพฯ: พรินท์แอทมี.

ศิริพร ประนมพนธ์. (2553). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โอเอพริ้นติ้ง.

สิทธิโชค วรานุสันติกุล. (2550). การจัดการพฤติกรรมมนุษย์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

ภาษาอังกฤษ
Parker, G.M. (2007). Teamplayers and Team work: The New Competitive Business Strategy. San Francisco, Calif: Jossey-Bass.