การจัดการผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวิจัยเรื่อง การจัดการผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดชลบุรี เป็นการศึกษาวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่มีต่อผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดชลบุรี และเพื่อศึกษาการจัดการการผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดชลบุรี โดยศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ประกอบการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรผู้ใช้แรงงาน
ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่มีต่อผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วยผลกระทบในด้าน 1) ค้นทุนค่าจ้างสูงขึ้น 2) เกิดความล่าช้าในกระบวนการผลิต 3) สินค้ามีคุณภาพลดลง 4) ต้นทุนในการสั่งซื้อสูงขึ้น 5)ขาดแคลนแรงงานในกิจการขนาดเล็ก 6)กระทบต่อต้นทุนค่าจ้างแรงงานแต่ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการไม่สามารถขึ้นราคาค่าบริการได้ 7) รัฐบาลประสบความยากลำบากในการกำกับดูแลและต้องนำงบประมาณส่วนหนึ่งมาใช้ในการบริหารจัดการ 8) แรงงานมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นแต่ค่าครองชีพก็สูงขึ้นเช่นกัน ส่วนผลการศึกษาการจัดการผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดชลบุรีพบว่า 1)ผู้ประกอบการต้องลดต้นทุนค่าจ้างโดยปรับเปลี่ยนการใช้กำลังคนและลดค่าใช้จ่ายทุกด้าน โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมควรประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการ เช่น สรรพากร ประกันสังคม ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น 2)ลดขั้นตอนการผลิตและกระบวนการทำงานให้กระชับขึ้น โดยกระทรวงอุตสาหกรรมควรช่วยผู้ประกอบการในการมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ความรู้และข้อเสนอแนะ ต่างๆ แก่ผู้ประกอบการในการวางแผนการผลิตและวิธีการทำงานที่ถูกต้อง 3)ผู้ประกอบการต้องควบคุมต้นทุนการสั่งสินค้าโดยการวางแผนสั่งซื้อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ควรเข้ามาควบคุมราคาสินค้าอย่างสม่ำเสมอ 4) รัฐบาลควรมีการกระจายงานในระดับภูมิภาคเพื่อการควบคุมดูแลการดำเนินงานตามโครงการนี้อย่างทั่วถึง 5)มีโครงการพัฒนาฝีมือแรงงานและมีมาตรการด้านการดูแลแรงงานต่างชาติ ซึ่งกระทรวงแรงงานควรส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานอย่างต่อเนื่องและกำหนดนโยบายด้านแรงงานต่างชาติไม่ให้เกิดปัญหาต่อสังคมโดยรวม 6)เข้มงวดในการจัดเก็บภาษีเพื่อชดเชยรายได้ของรัฐบาล 7)แรงงานควรมีการวางแผนการใช้เงินอย่างประหยัดแม้ค่าแรงเพิ่มขึ้นก็ตาม
Article Details
- เนื้อหาและข้อมูลที่ลงตีพิมพ์ในวารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
- บทความและข้อมูล ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ ขอให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
ไทยรฐั ออนไลน์. 2556. “อุตสาหกรรมใกลต้ าย เพราะฤทธิ์ค่าจ้าง 300”. ไทยรฐั ออนไลน์ วันที่ 22 ธันวาคม. เข้าถึงได้จาก http://www.thairath.co.th/content/eco/340334. (22 ธันวาคม 2556).
บริษัทดอกเบี้ย จำกัด. 2556. “ค่าแรง 300 แรงส์.” ดอกเบี้ย, 31, 380, 30.
ปฏิวัติคนปฏิวัติงาน. 2556. “ธุรกิจดาวร่วงกับผลกระทบการขึ้นค่าแรง”. Human Revolution Organization Designation. วันที่ 12 มกราคม. เข้าถึงได้จาก: http:// humanrevod.wordpress.com/”. (3 กันยายน 2556).
รัฐบาลไทย. 2554. “กรอบการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล”. รัฐบาลไทย. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaigov.go.th” (15 สิงหาคม 2556).
สถาบนั วจิ ยั เพือ่ การพฒั นาประเทศไทย. 2556. “ทีดีอาร์ไอวิเคราะห์ผลดี/ผลเสียนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท”. เดลินิวส์. วันที่ 12 มกราคม . เข้าถึงได้จาก: http://www.dailynews.co.th/business/177744. (3 กันยายน 2556).
สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. 2556 “การพัฒนา SMEs ไทยสู่สากล”. สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. เข้าถึงได้จาก: http:www.sme.go.th.(10 สิงหาคม 2556).
ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 2556. “ปัญหาค่าแรงงาน 300 บาท ตามนโยบายรัฐบาลส่งผลกระทบต่อนายจ้างและลูกจ้าง”. ศูนย์ข้อมูลแรงงานแห่งชาติกระทรวงแรงงาน. เข้าถึงได้จาก: http://nlic.mol.go.th/th/. (6 ธันวาคม 2556).