การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อประชาสัมพันธ์รายการสดบนแพลตฟอร์มออนไลน์สำนักข่าวไทย Live
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาและประเมินคุณภาพของดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อประชาสัมพันธ์รายการสดบนแพลตฟอร์มออนไลน์สำนักข่าวไทย Live โดยผู้เชี่ยวชาญ (2) ประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง และ 3) ประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อประชาสัมพันธ์รายการสดบนแพลตฟอร์มออนไลน์สำนักข่าวไทย Live เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อประชาสัมพันธ์รายการสดบนแพลตฟอร์มออนไลน์สำนักข่าวไทย Live 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ 3) แบบประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคคลทั่วไปที่เข้ามารับชมวิดิโอบนแพลตฟอร์มออนไลน์สำนักข่าวไทย Live ดำเนินการโดยวิธีสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลากจากบุคคลทั่วไปที่เคยชมดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อประชาสัมพันธ์รายการสดบนแพลตฟอร์มออนไลน์สำนักข่าวไทย Live และยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 50 คน ผลการพัฒนาได้ดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อประชาสัมพันธ์รายการสดบนแพลตฟอร์มออนไลน์สำนักข่าวไทย Live จำนวน 1 คลิป ความยาว 4.46 นาที ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี ( = 3.92, S.D. = 0.75) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดี (
= 3.75, S.D. = 0.69) ผลการประเมินด้านการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.78, S.D. = 0.47) และผลประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.69, S.D. = 0.52) ดังนั้น ดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อประชาสัมพันธ์รายการสดที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริง
Article Details
References
เขมทัต บุญพ่วง และคณะ. (2565). การพัฒนาชุดสื่อประชาสัมพันธ์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์แผนกวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี, 2(1), 38-49. ค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/257472/175102
จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์. (2558). แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับงานประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 8(2), 55-69. ค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_research/article/view/47984/39814
จำนง สันตจิต. (2556). ADDIE MODEL. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/520517
บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2018). การวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. สืบค้นจาก https://adacstou.wixsite.com/adacstou/single-post/2018/05/16/การว-เคราะห-ข-อม-ลงานว-จ-ย
พรปภัสสร ปริญชาญกล และคณะ. (2566). การพัฒนาวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์โปรไฟล์องค์กรของบริษัทไวท์ไลน์แอคทิเวชั่นจำกัดโดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเเบบ Simon Sinek’s Golden Circle. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร. พระนคร, 8(2), 94-105. ค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/266087/180880
ศักดิ์ กองสุวรรณ และคณะ. (2564). การพัฒนาชุดเนื้อหาและกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์แบบเน้นการมีส่วนร่วมในโครงการประกวดคลิปวีดิทัศน์เรื่อง “ทุนนี้เพื่อน้อง ทุนนี้เพื่ออนาคต”. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี, 1(1), 72-79. ค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/251719/170088
สุนทรียา จิตร์ถาวรมณี กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ และพรปภัสสร ปริญชาญกล. (2565). การพัฒนาวิชวลคอนเทนต์แบบอัลบั้มเพื่อการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์ Fiet Ambassador. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี, 2(2), 78- 88. ค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JLIT/article/view/256361/175195
สำนักข่าวไทย. (2567). สำนักข่าวไทย แพลตฟอร์มออนไลน์สำนักข่าวไทย Live. สืบค้นจากhttps://www.facebook.com/TnaMcotLive
Wachira Thongsuk. (2024). Content คืออะไร? มีแบบไหนบ้าง ใช้อย่างไรให้เหมาะกับแบรนด์. สืบค้นจาก https://talkatalka.com/blog/types-of-content/