การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการใช้สื่อในการเรียนการสอนของครู โรงเรียนราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณัฎฐพร จันทศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการใช้สื่อการเรียนการสอนของครู 2) ศึกษาปัญหาของการใช้สื่อในการเรียนการสอนของครู และ 3) ศึกษาความต้องการพัฒนาการใช้สื่อการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงประมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูในโรงเรียนราชบพิธ จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการใช้สื่อการเรียนการสอนของครูส่วนใหญ่มีการใช้สื่อ สัปดาห์ละ 1-5 ครั้ง ร้อยละ 40.00 เหตุผลของการใช้สื่อคือสื่อทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนมากขึ้น ร้อยละ 66.67 ใช้สื่อประเภทเอกสาร หรือ Sheet ประกอบการสอน ร้อยละ 43.33 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น Power Point เป็นต้น ร้อยละ 36.67 และใช้เกม ร้อยละ 43.33 2) ปัญหาด้านการใช้สื่อการเรียนการสอนของครู ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.13 โดยด้านปัญหาการใช้สื่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.22 และด้านสาเหตุของปัญหาการใช้สื่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.04 และ 3) ความต้องการพัฒนาการใช้สื่อการเรียนการสอนของครู อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.11โดยต้องการฝึกอบรมจากหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาสื่อ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.47 รองลงมาคือ ต้องการอบรมด้านความรู้/อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสื่ออยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.40 และต้องการให้หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบสร้างความร่วมมือในการพัฒนาสื่อ อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.33

Article Details

How to Cite
จันทศรี ณ. (2023). การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการใช้สื่อในการเรียนการสอนของครู โรงเรียนราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 68–80. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmutphuso/article/view/262307
บท
บทความวิจัย

References

งานทะเบียนสถิติบุคลากรโรงเรียนราชบพิธ. (2565). ข้อมูลจำนวนครูและบุคลากร ปีการศึกษา 2565. กรุงเทพฯ: งานทะเบียนโรงเรียนราชบพิธ.

จุลลดา จุลเสวก. (2560). แนวทางการพัฒนาการใช้สื่อการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 11(1), 90-99.

ฌานีปกร ปรารถนารักษ์. (2558). การศึกษาสภาพการใช้ ปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูระดับชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดพิจิตร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทรงสิริ วิชิรานนท์ อรุณี อรุณเรือง นิตินันท์ ศรีสุวรรณ และสุนันทา ชูตินันท์. (2561). ความต้องการจำเป็นในการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัมนาการเรียนรู้ทางนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วาสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 75-86.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2562). การประยุกต์ใช้สื่อให้เหมาะสมกับบริบทโรงเรียน. สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/70888

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2560. รายงานการวิจัย เรื่อง ความทั่วถึงและเท่าเทียมของการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. (2560). แนวทางจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2560). ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 2843-2854.

อนุวัฒน์ เอี่ยมแสน. (2562). ความต้องการใช้สื่อนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 9(3), 139-149.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Panich, S. (2014). Formability analysis of advanced high strength steel sheets using experimental and numerical Investigations. King Mongkut’s University of Technology Thonburi/Bangkok.