รูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนภาษาไทยด้วยวิธีเชิงระบบร่วมกับกระบวนคุณภาพ PDCA ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านราหุล จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

นุตประวีณ์ ภัครวัฒน์อังกูร

บทคัดย่อ

การวิจัยวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนภาษาไทยด้วยวิธีเชิงระบบร่วมกับกระบวนคุณภาพ PDCA ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และ 2) ศึกษาผลการพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนตามรูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านราหุล จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ประเมินจำนวน 5 คน ในการพัฒนารูปแบบฯ และทดลองใช้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านราหุล จำนวน 154 คน ด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนภาษาไทยภาษาไทยด้วยวิธีเชิงระบบร่วมกับกระบวนคุณภาพ PDCA ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านราหุล จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้วิธีการเชิงระบบ ประกอบด้วย (1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ทรัพยากรในการบริหาร (2) กระบวนการ ได้แก่ การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ กิจกรรมเรียนรู้ทางวิชาชีพ และดำเนินการตามวงจรคุณภาพ PDCA ได้แก่ วางแผน ดำเนินการตามแผน ตรวจสอบประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน (3) ผลผลิตและผลลัพธ์ เป็นความสามารถการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ได้แก่ การอ่าน (การอ่านออกเสียง กรอ่านตามหลักการใช้ภาษาไทย และการอ่านรู้เรื่อง) การเขียน (การเขียนคำ และการเขียนประโยชค์/ความเสียง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) ผลการพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนภาษาไทย ในภาพรวม พบว่า มีนักเรียนผ่านระดับดีขึ้นไป 150 คน (ร้อยละ 97.40) บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 80) ผลการประเมินความสามารถการเขียนคำ/การเขียนสรุปใจความสำคัญ/เขียนย่อความในภาพรวม พบว่า นักเรียนทั้งหมดจำนวน 154 คน มีนักเรียนผ่านระดับดีขึ้นไป 140 คน (ร้อยละ 90.90) บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 80) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2563 ภาพรวมทุกชั้นปีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยสูงขึ้น ร้อยละ 15.25 เมื่อพิจารณาตามระดับชั้น พบว่า ประถมศึกษาปีที่ 1 สูงขึ้นร้อยละ 13.88 ประถมศึกษาปีที่ 2 สูงขึ้นร้อยละ 9.13 ประถมศึกษาปีที่ 3 สูงขึ้นร้อยละ 11.53 ประถมศึกษาปีที่ 4 สูงขึ้นร้อยละ 4.01 ประถมศึกษาปีที่ 5 สูงขึ้นร้อยละ 42.31 และประถมศึกษาปีที่ 6 สูงขึ้นร้อยละ 10.65 จึงสรุปได้ว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านและการเขียนสูงขึ้น

Article Details

How to Cite
ภัครวัฒน์อังกูร น. (2023). รูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนภาษาไทยด้วยวิธีเชิงระบบร่วมกับกระบวนคุณภาพ PDCA ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านราหุล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 25–43. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmutphuso/article/view/263074
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ชลเกริกเกียรติ. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2561. โรงเรียนวัดบ่อมะปริง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

กิ่งรัก จบศรี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2547). การบริหารผลการดำเป็นงาน (Performance Management). กรุงเทพฯ: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2539). การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: กราฟิคฟอร์แมท (ไทยแลนด์).

โรงเรียนบ้านราหุล. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2562. เอกสารลำดับที่ 1/2562 กลุ่มเแผนงานและบประมาณ (เอกสารอัดสำเนา).

โรงเรียนบ้านราหุล. (2563). ข้อมูลนักเรียน. สืบค้นจาก https://data.bopp-obec.info/web/index_view_stu.php?School_ID=1067380494&Edu_year=2563&p=y

โรงเรียนบ้านราหุล. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 2563. เอกสารลำดับที่ 2/2562 กลุ่มเแผนงานและบประมาณ.

วราภรณ์ สกุลวิวรรธน์. (2558). ปัจจัยความสำเร็จของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุภธิดา วิรุฬพัฒน์. (2457). ผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การอ่านการเขียนสระเปลี่ยนรูปและลดรูปโดยใช้การเรียบรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สำนักงานคณะกรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). คู่มือการดำเนินงานขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านอ่านออก เขียนได้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Chard, D. L. Vaughn, S. and Tyler, Brenda-Jean. (2002). A Synthesis of Research on Effective Interventions for Building Reading Fluency with Elementary Students with Learning Disabilities. Journal of Learning Disabilities. 35(5): 386-406,2002.

Zoccolottl, P. (2008), Isolating Global and Specific Factors in Developmental Dyslexia: A Study Based on the Rate and Amount Model (RAM), Experimental Brain Research. 186(4): 551-560.