สภาพปัจจุบัน และความต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการ นิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

นุตประวีณ์ ภัครวัฒน์อังกูร

บทคัดย่อ

การวิจัยวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กระบวนการนิเทศภายในด้วยรูปแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านจัดสรร จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม จากคณะกรรมการการบริหารโรงเรียนบ้านจัดสรร จำนวน 10 คน ประกอบด้วย ครูประจำการ จำนวน 6 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 4 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการการบริหารโรงเรียนบ้านจัดสรร ครูประจำการ คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองในคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับสถานศึกษา จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการนิเทศภายใน แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพปัจจุบันในการนิเทศภายใน พบว่า สภาพปัจจุบันในการนิเทศภายใน อยู่ในระดับน้อย 2) ด้านความต้องการในการนิเทศภายใน พบว่า ความต้องการในการนิเทศภายใน อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ความต้องการพัฒนาคุณภาพครู พบว่า ทั้งในภาพรวมและรายด้านความต้องการในการนิเทศด้านการพัฒนาคุณภาพครู อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธัมนูญ อุ่นศิริ สุนันทา แก้วสุข และกริช ภัทรภาคิน. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3(1), หน้า 11-22.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ

ผกาวรรณ ศิริสานต์. (2552). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูประถมศึกษาโรงเรียนไผทอุดมศึกษา. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

พิทยา ฝั่งชลจิตร. (2559). ความต้องการการนิเทศภายในโรงเรียนของครูในกลุ่มเครือที่ 19 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. สืบค้นจาก http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2559-2-3_1475987016_11.5722470076.pdf

พุทธชาด แสนอุบล ประชุม รอดประเสริฐ และสถาพร พฤฑฒิกุล. (2561). สภาพ ปัญหา และแนวทางการปรับปรุงการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20. วารสารบัณฑิตศึกษา. 15(70), 171-182.

ราณี กุยรัมย์ และสาธิต ผลเจริญ. (2554). ปัญหาและแนวทางการนิเทศภายในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 2. The Graduate Research Conference, 12th Khon Kaen University 2011. หน้า 1436-1446.

ราณี กุยรัมย์. (2554). ปัญหาและแนวทางการนิเทศภายในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) สืบค้นจาก https://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2562

ละมัย ชูภักดี. (2560). สภาพและปัญหาการนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. สืบค้นจาก https://is.rajapark.ac.th/assets/uploads/2017091206225849.

วิจารณ์ พานิช. (2557). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศักดิ์ศรี ปาณะกุล. (2556). การประเมินหลักสูตร Curriculum evaluation. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สันติ หัดที และสุวัฒน์ จุลสุวรรณ. (2563). การศึกษาความต้องการจำเป็นการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(9), 64-78.

สุภาภรณ์ กิตติรัชดานนท์. (2551). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

แสงดาว คงนาวัง. (2560). รูปแบบการนิเทศภายในของโรงเรียน กรณีศึกษาโรงเรียนกุดตุ้มวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 4, 10 มีนาคม 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา. (2534). แนวทางการนิทศภายในโรงเรียนตามรูปแบบการนิเทศเพื่อให้โรงเรียนพัฒนาตนเอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

อธิศ ไชยคิรินทร์. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต) สาขาวิชาการนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.