การเตรียมความพร้อมและการรับรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุ ของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

อำพร สวยสอาด
ศิริรัตน์ พ่วงแสงสุข
ญาณินท์ สายหยุด
ศรีสุดา อินทมาศ
สุวิทย์ ไวยทิพย์
พัทรียา เห็นกลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบปัจจัยด้านลักษณะประชากรกับคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ 2) ศึกษาการเตรียมความพร้อมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ และ 3) ศึกษาการรับรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานที่ทำงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านประชากร ได้แก่ ตำแหน่งที่ต่างกันมีคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตัวแปร เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา รายได้ต่อเดือนที่ต่างกันมีคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการไม่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยด้านการเตรียมความพร้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านจิตใจ ด้านการใช้เวลาว่างส่งผลต่อคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านสุขภาพร่างกายไม่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ และ 3) ปัจจัยด้านการรับรู้ ด้านการรับรู้ข่าวสาร และด้านการรับรู้สิทธิ สวัสดิการสังคมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
สวยสอาด อ., พ่วงแสงสุข ศ., สายหยุด ญ., อินทมาศ ศ., ไวยทิพย์ ส., & เห็นกลาง พ. (2023). การเตรียมความพร้อมและการรับรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุ ของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 60–73. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmutphuso/article/view/267538
บท
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2564). ข้อมูลโรงงานและจำนวนแรงงานอุตสาหกรรม. สืบค้นจาก http://userdb.diw.go.th/factoryPublic/tumbol.asp

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2555). พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ฉบับแก้ไข เพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: บางกอกล๊อก.

กัลยา วานิชย์บัญชาและคณะ. (2561). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐกาญจน์ เกษรบัว และพอดี สุขพันธ์. (2563). การเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 11(1), 281-295.

ธีรดา ยังสันเทียะ. (2561). การศึกษาพฤติกรรม และการรับรู้ที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุของพนักงานบริษัทเอกชน ในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บงการ น้อยศรี. (2560). การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุทำงานของพนักงานกลุ่มบริษัท จีเอเบิล จำกัด. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปราณี หลำเบ็ญสะ (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วรรณรัตน์ ศรีสุขใส. (2561). การพัฒนาสวัสดิการแรงงานเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560 - 2579). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.

วีรวุฒิ พูลสวัสดิ์. (2562). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท วีรสยาม จำกัด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สํานักงานข้าราชการพลเรือน. (2551). สาระสำคัญในการปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สํานักงานข้าราชการพลเรือน.

Atchley, R. C. (1994). Social forces and aging an introduction to social gerontology he. (7th ed.). California: Wadsworth Publishing.

Flanagan J. C. (1978). A research approach to improving our quality of life. American Psychologist, 33(2), 138–147.

Yamane, T. (1967). An introductory analysis. New York: Harper and Row.