การจัดการศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาและการตัดสินใจศึกษาต่อสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช (2) เปรียบเทียบลักษณะประชากรกับการตัดสินใจศึกษาต่อสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช และ (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนที่กำลังศึกษาในประเภทวิชาคหกรรมของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2566 จำนวน 80 คน โดยใช้การคำนวนด้วยโปรแกรม G*power ได้มาด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการศึกษาในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการประกอบอาชีพ ด้านภาพลักษณ์ของวิทยาลัย และด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และอยู่ในระดับมาก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อม และด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่สนับสนุนการสอน และการตัดสินใจศึกษาต่อสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ อยู่ในระดับมาก (2) ลักษณะประชากร ได้แก่ เพศ อายุ เกรดเฉลี่ยสะสม และสาขาวิชาต่างกัน มีการตัดสินใจศึกษาต่อสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราชไม่แตกต่างกัน และ (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 3 ปัจจัย ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านผู้สอน และด้านสภาพแวดล้อม
Article Details
References
จันทร์เพ็ญ ขันธะกุล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาอาชีวศึกษาของนักเรียน. วารสารการศึกษาการพัฒนาวิชาชีพ, 10(1), 102-118.
จันทร์เพ็ญ ขันธะกุล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาอาชีวศึกษาของนักเรียน. วารสารการศึกษากับการพัฒนาอาชีวะ, 8(2), 42-58.
ทิพย์ภรณ์ ยงธนา. (2565). ภาพลักษณ์ของวิทยาลัยและผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาอาชีวะ. วารสารการศึกษาและการพัฒนาการอาชีวะ, 7(3), 112-125.
ธนภรณ์ แก้วคำ. (2561). การออกแบบหลักสูตรการศึกษาระดับอาชีวศึกษาที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดงาน. วารสารวิจัยและพัฒนาอาชีวศึกษา, 12(3), 99-112.
ธนวรรณ สอ้าง. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกเรียนประเภทวิชาคหกรรมในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของผู้เรียน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี. หลักสูตร คหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ธนากร คำแสง. (2561). การศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ. วารสารเศรษฐศาสตร์การศึกษา, 12(4), 100-115.
ธัญญารัตน์ พูลผล. (2564). คุณภาพของผู้สอนและผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาอาชีวศึกษา. วารสารพัฒนาการศึกษาวิชาชีพ, 9(1), 35-49.
นงลักษณ์ สืบเสนาะ. (2564). ผลกระทบของค่าใช้จ่ายในการเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาอาชีวศึกษา. วารสารอาชีวศึกษาพัฒนา, 15(4), 99-112.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวรีิยาสาส์น.
พรรณทิพย์ พันธ์กุล. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาอาชีวศึกษาของนักเรียนอาชีวศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนาอาชีวศึกษา, 11(3), 88-102.
พัทธนันท์ มณีโคตร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษา. วารสารการศึกษาและการพัฒนา, 10(2), 45-60.
ภัทราวดี ชูทับ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาอาชีวศึกษาของนักเรียน. วารสารการศึกษาและการพัฒนา, 13(2), 45-59.
ภัทราวดี ชูทับ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาอาชีวศึกษาของนักเรียน. วารสารการศึกษากับการพัฒนาอาชีวะ, 8(2), 42-58.
วราภรณ์ ยอดจันทร์. (2563). การพัฒนาผู้เรียนในวิทยาลัยอาชีวศึกษา: กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะวิชาชีพและทักษะชีวิต. วารสารพัฒนาการศึกษา, 8(1), 22-35.
วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช. (2566). สถิตินักเรียนนักศึกษา. นครศรีธรรมราช: วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช.
วิลาวัลย์ นิลพรหม. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในสาขาวิชาอาชีวศึกษาของนักเรียน. วารสารการศึกษาชั้นสูง, 10(1), 23-35.
วิลาวัลย์ นิลพรหม. (2565). ภาพลักษณ์ของวิทยาลัยและผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาอาชีวะ.วารสารการศึกษาและการพัฒนาการอาชีวะ, 7(3), 112-125.
สมชาย สวัสดิ์. (2560). การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งประเทศไทย.
สมชาย สวัสดิ์. (2562). บทบาทของการศึกษาต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ. วารสารการศึกษาไทย, 18(3), 45-59.
สมชาย สวัสดิ์. (2563). การศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้นจาก https://www.education4sustainabledevelopment.org
สุพรรณี บุญสวัสดิ์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อของนักเรียนอาชีวศึกษาระดับปวช. สาขาวิชาการโรงแรม. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษา, 12(3), 45-60.
อภิชาติ ชัยสวัสดิ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาในการศึกษาอาชีวศึกษา. วารสารการศึกษาและการเรียนรู้, 8(2), 123-137.
อัญชลี โสภณ. (2564). ภาพลักษณ์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาและการดึงดูดนักเรียน. วารสารอาชีวศึกษา, 15(4), 99-112.
Chinnapan, A. (2018). Challenges in promoting home economics education. Journal of Educational Studies, 40(1), 55-70.
Fullan, M. (2015). The new meaning of educational change (5th ed.). Teachers College Press.
Sangkapo, T. (2020). Perceptions of home economics education: Issues and opportunities. Thai Journal of Education, 22(3), 102-117.
Seduca, M. (2020). The quality of teaching: A multi-dimensional approach. Journal of Educational Research, 45(2), 123-139.