การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนบ้านโคกพนมดี จังหวัดปราจีนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนบ้านโคกพนมดี จังหวัดปราจีนบุรี โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) ร่วมกับการวิจัยและพัฒนา มีกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาสีขาว จำนวน 7 คน โดยการจัดสนทนากลุ่ม (Fucus Group) เพื่อพัฒนารูปแบบ และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) 168 คน ได้แก่ ครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ตัวแทนชุมชน และภาคีเครือข่าย เพื่อประเมินผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนบ้านโคกพนมดี จังหวัดปราจีนบุรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบของรูปแบบฯ ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ (1) ปัจจัยนำเข้า (Input) การดำเนินการตามนโยบายสถานศึกษาสีขาว 5 มาตรการ 16 ตัวบ่งชี้ โดยกำหนดโครงการ/กิจกรรมที่ใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายสถานศึกษาสีขาวที่ได้จากการระดมสมองของครูโรงเรียนบ้านโคกพนมดี จังหวัดปราจีนบุรี (2) ปัจจัยกระบวนการ (Process) โดยทำการวิเคราะห์กระบวนการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ร่วมกับ KPDEE Model และหลักการ 5 ร. ซึ่งเป็นหลักการมีส่วนร่วม พัฒนาเป็นกระบวนการบริหารจัดการและการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของ KPDEE Model ปลอดภัยห่างไกลยาเสพติดด้วยหลัก 5 ร. ได้แก่ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ร่วมรับผิดชอบ และร่วมภาคภูมิใจ (3) ปัจจัยผลผลิต (Output) ผลการดำเนินงานตามนโยบายสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ได้แก่ 1) KPDEE Model ปลอดภัยห่างไกลยาเสพติดด้วยหลัก 5 ร. 2) คู่มือการบริหารสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขโรงเรียนบ้านโคกพนมดี 3) ผลประเมินการบริหารสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขโรงเรียนบ้านโคกพนมดี และ 4) ผลประเมินความเหมาะสมและรับรองรูปแบบบริหารสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขโรงเรียนบ้านโคกพนมดี (4) ปัจจัยผลสะท้อนกลับ (Feedback) ได้แก่ แนวทางการปรับปรุงการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข และ (5) ปัจจัยผลลัพธ์ (Outcome) เป้าหมายของโรงเรียนบ้านโคกพนมดี คือ 1) การรักษามาตรฐานสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ระดับเพชร 2) ต้นแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข สำหรับโรงเรียนเครือข่าย และผลประเมินการบริหารสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขโรงเรียนบ้านโคกพนมดี อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข พ.ศ. 2559 สำนักส่งเสริมกิจการการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.
กองส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการศึกษาในภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2564). คู่มือดำเนินการโครงการสถานศึกษสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2564. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการศึกษาในภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
กัญญารัตน์ นามวิเศษ. (2562). รูปแบบบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 6(1), 17-28.
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2563). แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2564. สืบค้นจาก https://www.nccd.go.th/index.php/
จิตรลดา มานะศิริ. (2560). การบริหารจัดการการศึกษาด้วยกระบวนการ PDCA และ KPDEE Model เพื่อป้องกันยาเสพติดในโรงเรียน. วารสารวิจัยการศึกษาผู้บริหาร, 29(1), 112-126.
ทิพวรรณ เสนจันทร์ฒิชัย. (2553). การบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เทคนิคจำปา 5 กลีบ. วารสารวิชาการ, 13(3), 36.
ธีรพงษ์ ชูพันธ์. (2562). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวรีิยาสาส์น.
บุญเลิศ แสงชู. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญหลั่น นานรัมย์. (2563). รูปแบบบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขแบบมีส่วนร่วมศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านกรวด. สืบค้นจาก https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=173575
ประสาร พรหมณา. (2553). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. สืบค้นจาก http://trang.nfe.go.th/alltis16/UserFiles/Pdf/wijaiman.pdf
พงษ์พิทักษ์ คำนวณ. (2562). แนวทางการป้องกันปัญหายาเสพติดในโรงเรียน: การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ครูและชุมชน. วารสารวิจัยการศึกษามหาวิทยาลัย, 14(3), 67-80.
พรนภา ประยศ. (2565). การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนแม่หลวงอุปถัมภ์ไทยคีรี อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(6), 401-417.
ไพโรจน์ พิริยะชุมพล. (2561). การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการโรงเรียนโดยใช้กระบวนการ PDCA: กรณีศึกษาของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ. วารสารการบริหารการศึกษา, 32(1), 45-58.
โรงเรียนบ้านโคกพนมดี. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self–Assessment Report: SAR) ปีการศึกษา 2565. ปราจีนจุรี: โรงเรียนบ้านโคกพนมดี.
โรงเรียนบ้านโคกพนมดี. (2566). สรุปผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขประเภทรักษามาตรฐานระดับเพชร ปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566. ปราจีนบุรี: โรงเรียนบ้านโคกพนมดี.
สมพร สังข์พันธ์. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีความยั่งยืนในยุคดิจิทัล. วารสารการศึกษาและพัฒนา, 15(2), 99-112.
สมศักดิ์ เกษมสุข. (2559). การสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนในการป้องกันปัญหายาเสพติด. วารสารการศึกษาชุมชน, 18(2), 23-34.
อภิรมย์ สินชุม. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเป็นสถานศึกษาปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนพิมายดำรงวิทยาคม. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 4(4), 1-14.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.