ความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน ตำบลบ้านใหม่ จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษา ความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพกับความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนตำบลบ้านใหม่ที่มาร่วมกิจกรรมบริการวิชาการ จำนวน 100 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ด้วยการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 20 ข้อ และแบบประเมินความต้องการด้านสุขภาพ จำนวน 20 ข้อ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหามีค่าเท่ากับ .76 และ .88 ตามลำดับ และตรวจสอบความเชื่อมั่นมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ .78 และ .75 ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 45 มีพฤติกรรมสุขภาพ อยู่ในระดับมาก (Mean = 3.36, S.D. = .49) 2. ความต้องการด้านสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 70 (Mean = 4.63, S.D. = .43) 3. พฤติกรรมสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0 .05 (r = -.502) ดังนั้นบุคลากรด้านสุขภาพต้องมีการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นระบบและให้ความสำคัญกับความต้องการด้านสุขภาพ เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
Article Details
ใส่ข้อความกอปปี้ไรท์
References
จิณณ์ณิชา พงษ์ดี และ ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. 2558. ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านเหมืองแบ่ง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 3 (4), 561 -571.
นิพนธ์ พวงวรินทร์. (บรรณาธิการ). 2554. โรคหลอดเลือดสมอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. 2550. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:ยู - แอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด.
รุจา ภู่ไพบูลย์. 2541. การพยาบาลครอบครัว: แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: หจก.วี - เจ พริ้นติ้ง.สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.2561.http://www.thailandometers.mahidol.ac.th/ เข้าถึงวันที่ 1มิถุนายน 2561.
เสกสันติ์ จันทนะ. 2551. การจัดการสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2559. ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวมปี 2558. สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม, 13(1). อิสรากานต์ พรมลา. 2558. ความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องตามการรับรู้ของผู้ดูแล. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 8(1), 45 -54.
Orem, D.E. 1980. Nursing: Concepts of practice. 2nd ed. New York: Mc Graw-Hill Book Co._________. 1991. Nursing: Concepts of Practice. 5th ed. St. Louis: Mosby._________. 2001. Nursing: Concepts of Practice. 6th ed. St. Louis: Mosby.Maslow, A. H. 1970. Motivation and personality. (2nd ed.). New York: Harpor and Row.Petro - Yura, H., and Walsh, M. B. 1983. The nursing process: Assessing, planning, implementation,evaluation (4th ed.). Norwalk: Prentice-Hall. 1988. The nursing process: Assessing, planning, implementation,evaluation (6th ed.). Norwalk, Conn: Appleton & Lange.