การศึกษาพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง

Main Article Content

ภัทร์ หาสาสน์ศรี

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมของครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมของครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูป Krejcie and Mogan (1970,) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ของจำนวนประชากร 151 คน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงซึ่งเป็นแบบสอบถามชนิดให้เลือกตอบ 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ มีค่า IOC ระหว่าง 0.8 ถึง 1.0 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป คำนวณหาค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบหาค่าความแตกต่าง ใช้การทดสอบค่าที (t test) แบบ Independent และความแปรปรวนทางเดียว (one – way analysis of variance) ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม ของครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านจริยธรรมที่มีต่อศิษย์ ด้านคุณธรรมจริยธรรมที่มีต่อตนเอง ด้านจริยธรรม ที่มีต่ออาชีพ และด้านจริยธรรมที่มีต่อสังคมอยู่ในระดับมาก 2) พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีเพศต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านจริยธรรม ที่มีต่อศิษย์ ด้านคุณธรรมจริยธรรมที่มีต่อตนเอง ด้านจริยธรรมที่มีต่ออาชีพ และด้านจริยธรรมที่มีต่อสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านจริยธรรมที่มีต่อศิษย์ ด้านคุณธรรมจริยธรรมที่มีต่อตนเอง ด้านจริยธรรมที่มีต่ออาชีพ และด้านจริยธรรมที่มีต่อสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านจริยธรรมที่มีต่อศิษย์ ด้านคุณธรรมจริยธรรมที่มีต่อตนเอง ด้านจริยธรรมที่มีต่ออาชีพ และด้านจริยธรรมที่มีต่อสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
หาสาสน์ศรี ภ. . (2020). การศึกษาพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง . วารสารวิจัยรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23(2), 26–32. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rusoc/article/view/248886
บท
บทความวิจัย
Author Biography

ภัทร์ หาสาสน์ศรี, อาจารย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม)

 อาจารย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม)

References

จิระศักดิ์ สงวนชีพ. 2543. ศึกษาการปฏิบัติตนด้านคุณธรรม และจริยธรรม สำหรับครูอาจารย์โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครพนม.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บัญชา ธรรมไชย. 2541. “โรงเรียน ครอบครัว ชุมชน สถาบันหลักในการจัดการศึกษา”. วารสารข้าราชการครู. 18(5): 49-51; มิถุนายน-กรกฎาคม. 2541.
ประภาศรี สหอำไพ. 2540. พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมคิด โคยะทา. 2551. การปฏิบัติการด้านคุณธรรม จริยธรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สมบูรณ์ วรวงษ์. 2540. “จริยธรรมของความเป็นครู”. ประชากรศึกษา. 47(6): 3-4 กันยายน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2543.
ครูต้นแบบ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2548.
ครูต้นแบบ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาพ.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. 2556. หลักสูตรอบรมเชิง-ปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างศิลธรรม คุณธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: พี เอ ลิฟวิ่ง.
อนุกูล ถูระวรณ์. 2550. พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของครูผู้สอนในโรงเรียนที่เปิดสอนช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Krejcie, R. V., and Morgan, D.W. 1970. “Determining Sample Size for Research Activities”. Education and Psychological Measurement. 30: 607-610.