ระยะทางระหว่างอาคารชุดพักอาศัยกับทำเลที่ตั้งของสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5 เขต ตามแนวรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีสยามถึง สถานีแบริ่ง

Main Article Content

พิโรดม พิริยพฤทธิ์
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
บุญยิ่ง คงอาชาภัทร

บทคัดย่อ

การพัฒนาอาคารชุดในกรุงเทพมหานครในอดีตมีทำเลที่ตั้งหลากหลาย หลังจากเปิดให้บริการสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส การพัฒนาอาคารชุดจึงมีทำเลที่ตั้งเกาะกลุ่มไปตามเส้นทางรถไฟฟ้า โดยในปี พ.ศ.2558 เส้นทางรถไฟฟ้าสถานีสยามไปจนถึงสถานีแบริ่งมีปริมาณอาคารชุดเปิดขายสูงที่สุด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพปัจจุบันของที่ตั้งอาคารชุดและที่ตั้งของสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นปัจจัยและวัดค่าระยะทางระหว่างกันเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบสัดส่วนโครงการอาคารชุดที่อยู่ในมาตรฐานของที่อยู่อาศัยในพื้นที่ศึกษา 5 เขตกรุงเทพมหานครตามเส้นทางรถไฟฟ้าสถานีสยามถึงสถานีแบริ่ง  ผลการศึกษาในภาพรวมพบว่าสถานศึกษาอยู่ในระยะการเข้าถึงของอาคารชุดมากที่สุด รองลงมาคือศูนย์การค้า โรงพยาบาล และสถานนันทนาการ ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามแต่ละเขต พบว่า เขตปทุมวัน คลองเตย วัฒนา และพระโขนง มีสถานศึกษาที่อยู่ในระยะเข้าถึงตามมาตรฐานครบทุกโครงการ เขตคลองเตยและพระโขนง มีศูนย์การค้าอยู่ในระยะเดินตามมาตรฐานครบทุกโครงการ เขตพระโขนงขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกประเภทโรงพยาบาลและสถานนันทนาการ จึงทำให้ไม่มีอาคารชุดใดที่อยู่ในระยะการเข้าถึง ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งประเภทสิ่งอำนวยความสะดวกสอดคล้องกับแนวคิดชุมชนละแวกบ้านเพียงบางเขตซึ่งขึ้นกับบริบทของที่ตั้งอาคารชุดและจำนวนสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่ตามแต่ละเขต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

“กฎกระทรวงกำหนดลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล พ.ศ. 2558.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 26 ก.

กองสำรวจและแผนที่. ฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์(ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์). กรุงเทพฯ: กองสำรวจและแผนที่สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร, 2548.

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. ฝ่ายวิชาการและศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัย. “รายงานพิเศษ.” วารสารธนาคารอาคารสงเคราะห์ 36 (2547).

เน็กซัส เรียลเอสเตท แอ็ดไวเซอรี่. รายงานการสำรวจและศึกษาข้อมูลตลาดอาคารชุดพักอาศัยเขตกรุงเทพฯในช่วงครึ่งปีแรกปี 2558. กรุงเทพฯ: บริษัท เน็กซัส เรียลเอสเตท แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด, 2558.

“พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก.

มานพ พงศทัต. รวมเรื่องอาคารชุดของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527.

สำนักสิ่งแวดล้อม. สำนักงานสวนสาธารณะ. สัดส่วนพื้นที่สวนสาธารณะต่อประชากรในแต่ละเขตกรุงเทพมหานคร ปี 2544. กรุงเทพมหานคร: (ม.ป.พ.), 2544.

หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาเมือง. ฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์(ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์). กรุงเทพฯ: หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.

Chiara,Joseph de, Panero, Julius and Zelnik, Martin. Time-Saver Standards for Housing and Residential Development. New York: Van Nostrand Reinhold, 1995.

Chiara, Joseph de and Koppelman, Lee. Urban Planning and Design Criteria. New York: Van Nostrand Reinhold, 1975.

Lambert, J. Asia-Pacific Shopping Centre Classification. New York: ICSC, (n.d.).