สภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ หลังจากการย้ายที่อยู่อาศัยแบบแฟลตสู่อาคารสูง กรณีศึกษา อาคารพักอาศัยแปลงG โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศศิธร บัวประดิษฐ์
ไตรรัตน์ จารุทัศน์

บทคัดย่อ

การศึกษาสภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุหลังจากการย้ายที่อยู่อาศัยจากแฟลตดินแดงเดิม ซึ่งมีรูปแบบอาคารเป็นอาคารประเภทแฟลต ความสูง 5 ชั้น สู่อาคารพักอาศัยแปลง G โครงการฟื้นฟูเมืองดินแดง ซึ่งมีรูปแบบอาคารเป็นประเภทอาคารสูง 28 ชั้น ที่พัฒนาโดยการเคหะแห่งชาติ รวมถึงการศึกษาพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุในอาคารสูง ตลอดจนวิเคราะห์สภาพการอยู่อาศัย พฤติกรรม ปัญหา และข้อจำกัดของผู้สูงอายุหลังจากการย้ายที่อยู่อาศัยสู่อาคารสูงแปลง G เพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในอาคารสูง โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 86 ชุด การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 31 คน การสัมภาษณ์เชิงลึกและสำรวจห้องพักอาศัยของผู้สูงอายุจำนวน 9 ห้อง พบว่า ด้านข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุในโครงการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุในช่วง 60-69 ปี สถานภาพสมรส ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง มีจำนวนสมาชิกอยู่อาศัยในห้องพักส่วนใหญ่จำนวน 2 คน ในด้านสภาพการอยู่อาศัยพบว่า ปัญหาด้านการอยู่อาศัยหลักของผู้สูงอายุคือสัดส่วนของเฟอร์นิเจอร์ไม่เหมาะสมต่อสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ และจากเดิมที่ทางโครงการได้ออกแบบพื้นห้องพักเรียบเสมอกัน ไม่มีระดับธรณีประตู แต่ผู้วิจัยได้สำรวจพบว่าส่วนใหญ่มีการต่อเติมธรณีประตูเพิ่มเองในระดับความสูง 2-5 ซม.ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ อาจทำให้เดินสะดุดหกล้มได้ รวมทั้งผู้สูงอายุมักไม่ใช้พื้นที่สวนส่วนกลางชั้น 7 ภายในอาคาร เนื่องจากช่วงกลางวันมีอากาศร้อน ไม่มีหลังคาบังแดด อีกทั้งไม่มีผู้ดูแลในพื้นที่นี้กลัวว่าหากเกิดอุบัติเหตุลำพังจะไม่มีผู้ช่วยเหลือ และไม่มีคนลงไปใช้พื้นที่ ทำให้บรรยากาศเงียบเหงา ดังนั้น จึงควรเสนอแนะแนวทางการออกแบบสภาพการอยู่อาศัยที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุในอาคารสูง ได้แก่ การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ในห้องพักของผู้สูงอายุควรมีการออกแบบเฉพาะบุคคล เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน พื้นห้องไม่ควรมีระดับธรณีประตู ควรแก้ไขโดยวิธีติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นแมลงสำเร็จรูปด้านใต้ประตู รวมถึงควรจัดเตรียมพื้นที่ให้ร่มเงาในสวนชั้น 7 เช่น ศาลานั่งเล่น เพื่อดึงดูดให้ผู้สูงอายุได้ออกมาใช้ในพื้นที่สวนมากขึ้น เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมกิจการเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ (UNDESA). “World Population Prospects, 2017.” สืบค้น 25 มกราคม 2562. https//population.un.org/wpp/.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564). ฉบับปรับปรุง ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ, 2552.

การเคหะแห่งชาติ. แผนแม่บทโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง 2559-2567. กรุงเทพฯ: การเคหะแห่งชาติ, 2559.

จิระภา ศรีคำ. “สภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุในที่อยู่อาศัยแบบแฟลตเคหะชุมชนดินแดง1และ2 กรุงเทพมหานคร.”
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.

จารุวรรณ จินดานิล. “สภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุในอาคารสูง กรณีศึกษาอาคารสวางคนิเวศ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.

จูลี่ โรจน์นครินทร์. “การอยู่อาศัยหลังจากการย้ายชุมชนผู้มีรายได้น้อย จากแนวราบสู่แนวสูง กรณีศึกษา ชุมชนอาคารทรัพย์สิน 26-7 เขตคลองเตย กทม.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.

ชุมเขต แสวงเจริญและภวินท์ สิริสาลี. โครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. ปทุมธานี: หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558.

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2550.

มูฮำมัดรอโซ มาหิเละ. “การใช้พื้นที่หน่วยพักอาศัย ในเคหะชุมชนดินแดง กรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

สำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครอง. “ระบบสถิติทางทะเบียน.” สืบค้น 6 กุมภาพันธ์ 2562. https://stat.dopa.go.th.
ความภาคภูมิใจโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง. กรุงเทพฯ: การเคหะแห่งชาติ, 2561.

สุจิตรา จิระวาณิชย์กุล. “พฤติกรรมและสภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุในอาคารชุดที่ออกแบบเพื่อผู้สูงอายุ กรณีศึกษา โครงการสวางคนิเวศ จ.สมุทรปราการ.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.

WHO. World Report on Ageing and Health. Geneva: WHO, 2015.

“AEC Healthy Center and Nursing Home.” Accessed December 11, 2018.
www.aecnursinghomethailand.com/contact-us.