การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่และโครงสร้างเชิงสัณฐานของ ย่านนิมมานเหมินท์ เมืองเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ และวิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างเชิงสัณฐานของโครงข่ายสัญจรและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในย่านนิมมานเหมินท์ วิธีการวิจัยใช้การวิเคราะห์เอกสาร สำรวจพื้นที่ ร่วมกับระบบ
ภูมิสารสนเทศและแบบจำลองสเปซซินเท็กซ์ ผลวิจัยพบว่า ย่านนิมมานเหมินท์มีการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่สำคัญ 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงเวลาพัฒนาย่านของเมือง ระหว่างปี พ.ศ. 2507 – 2540 ช่วงเวลาย่านอัตลักษณ์เมือง ระหว่างปี พ.ศ. 2541 – 2551 และช่วงเวลาการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ระหว่างปี พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน มีปัจจัยสำคัญเกี่ยวข้อง ได้แก่ การพัฒนาโครงข่ายสัญจร แผนพัฒนาเมือง การผังเมือง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สื่อสังคมออนไลน์ การท่องเที่ยว และยุทธศาสตร์เมือง
อัจริยะ ลักษณะโครงสร้างเชิงสัณฐานของย่านมีแนวถนนนิมมานเหมินท์เป็นถนนสายหลักรูปแบบเส้น ถนนสายรองเป็นถนนซอยรูปแบบก้างปลา และถนนภายในชุมชนเดิมรูปแบบอิสระ ศักยภาพการเข้าถึงพื้นที่ของโครงข่ายสัญจรย่านนิมมานเหมินท์ในระดับรวมมีค่าเฉลี่ย 1.027880 ค่าต่ำสุด 0.540112 และค่าสูงสุด 2.030422 ตามลำดับ ระดับย่านมีค่าเฉลี่ย 1.430300 ค่าต่ำสุด 0.333333 และค่าสูงสุด 3.125447 ตามลำดับ และในระดับตัวเอง มีค่าเฉลี่ย 2.682350 ค่าต่ำสุด 1.000000 ค่าสูงสุด 16.000000 ตามลำดับ ค่าศักยภาพการเข้าถึงพื้นที่ของย่านมีความสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์อาคาร อัตราการสัญจรของพื้นที่ย่านในวันระหว่างสัปดาห์และวันหยุดสุดสัปดาห์ และสอดคล้องกับรูปแบบกิจกรรมของพื้นที่ ส่งผลต่อการเข้าร่วมของผู้คนในพื้นที่ความมีชีวิตชีวาอย่างหลากหลายกิจกรรมและช่วงเวลา อย่างไรก็ดีข้อพิจารณาเพื่อปรับปรุงพื้นที่ของโครงข่ายสัญจรจำเป็นต้องคำนึงถึงบาทวิถี ภูมิทัศน์ และสิ่งอำนวยความสะดวกประกอบบริเวณ ที่ส่งเสริมต่อการใช้สอยพื้นที่และการเดินเท้าได้อย่างเหมาะสมกับย่านสมาร์ทนิมมานเหมินท์ของเมืองเชียงใหม่ต่อไป
Article Details
References
กรมโยธาธิการและผังเมือง. “กฎกระทรวงผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่.” สืบค้น 3 มีนาคม 2563. http://www.dpt.go.th/wan/lawdpt/data/01/2553_4/129_36a_250455_3.pdf.
กฤตชณน จงบริรักษ์. “วิวัฒนาการเชิงอัตลักษณ์ในย่านนิมมานเหมินท์.” Veridian E-Journal, Silpakorn University 10, 3(2560): 2750-2762.
จังหวัดเชียงใหม่. “แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Chiangmai Smart City Strategy Plan.” สืบค้น 25 พฤษภาคม 2563. https://www.chiangmai.go.th/managing/public/D2/2D11Sep2019090618.pdf.
รวี หาญเผชิญ. “ผลกระทบของอาคารสูงต่อสภาพแวดล้อมเมืองเชียงใหม่.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4.” สืบค้น 15 มีนาคม 2563. https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?filename=develop _issue&nid=3779.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติ. “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5.” สืบค้น 15 มีนาคม 2563. https://www.nesdc.go.th/ ewt_w3c/ewt_dl_link.php?filename=develop_issue&nid=3780.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติ. “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6. สืบค้น 15 มีนาคม 2563. https://www.nesdc.go.th/ ewt_w3c/ewt_dl_link.php?filename=develop_issue&nid=3781.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติ. “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7. สืบค้น 15 มีนาคม 2563. https://www.nesdc.go.th/ ewt_w3c/ewt_dl_link.php?filename=develop_issue&nid=3782.
อภิรดี เกษมศุข. สเปซซินแท็กซ์ หนึ่งการศึกษาสัณฐานวิทยา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เมจิก พับบลิเคชั่น จำกัด, 2561.
Al-Sayed, Kinda. Space Syntax Methodology. London: UCL Press, 2018.
Gehl, Jan. Life Between Building Using Public Space. Washington: Island Press, 2011.
Hillier, Bill. “City as Movement Economies.” Urban Design International 1(1996) :49-60.
Hillier, Bill and Hanson, J. The Social Logic of Space. New York: Cambridge University Press, 1984.
Jacobs, Jane. The Death and Life of Great American Cities. New York: Random House, 1961.