การศึกษาความเหมาะสมของห้องพักหลังออกกำลังกายของผู้สูงอายุ

Main Article Content

พงศกร เจริญพงพันธุ์
วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์

บทคัดย่อ

การเคลื่อนไหวเบา ๆ หรือการทำให้ร่างกายค่อยๆ เย็นลงหลังออกกำลังกายมีความสำคัญต่อการเต้นของหัวใจและความปลอดภัยในชีวิตของผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อร่างกายและความรู้สึกร้อนหนาวของผู้สูงอายุภายหลังการออกกำลังกาย 2) เพื่อออกแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำห้องพักหลังออกกำลังกาย (cool down space) สำหรับผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงห้องพักหลังออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย แบบแผนการวิจัยเป็นวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน - หลัง (one group pretest posttest design)  ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือผู้สูงอายุที่มีสุขภาพปกติ ผู้วิจัยเลือกตัวอย่าง จากบ้านพักคนชรา A ในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) เครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ และ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาวะน่าสบายของผู้สูงอายุ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา รูปภาพ แผนภูมิแท่ง และสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที่แบบไม่เป็นอิสระ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทิศทางเดียว  ผลการวิจัยพบว่า ค่าของตัวแปรทั้งก่อนและหลังการออกแบบฯ มีดังนี้ อุณหภูมิของอากาศมีค่าเท่ากับ 24.580 และ 26.066 องศาเซสเซียล ความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 51.879% และ 51.665% ความเร็วลมเท่ากับ 0.131 และ 0.132 knot อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวรอบร่างกาย เท่ากับ 26.872 และ 28.066 องศาเซลเซียส และผลการประเมินสภาวะน่าสบายตามการรับรู้ประสาทสัมผัสของผู้สูงอายุ เท่ากับ -0.833 และ -0.628  การออกแบบและแนวทางการปรับปรุงห้องพักหลังออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ พบว่า สภาพแวดล้อมควรมีหน้าต่างเพื่อให้เห็นธรรมชาติด้านนอกและรับแสงจากธรรมชาติ อุณหภูมิตั้งไว้ที่ 26 องศาเซลเซียส เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุเจอกับอากาศที่เย็นเกินไปจากภายหลังที่เพิ่งออกกำลังกาย ในห้องพักหลังออกกำลังกายของผู้สูงอายุไม่ควรมีพื้นต่างระดับหรือทางลาดแต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ตามมาตรฐานข้อกำหนดทางลาดควรมีความชัน 1:12 อุปกรณ์เสริมเป็นเก้าอี้นั่งที่ผู้สูงอายุสามารถขยับและเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก และควรติดตั้งราวจับช่วยพยุง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมอนามัย. สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม. (2558). การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ฐิติพร ภักดีพิบูลย์. (2562). การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/women/beauty/health/1528755

บรรลุ ศิริพานิช. (2550). การออกกำลังกายที่ถูกต้อง. หมอชาวบ้าน. สืบค้นจาก https://www.doctor.or.th/article/detail/1112

ปิยะพันธ์ นันตา. (2541). การรับรู้ด้านสุขภาพ ความสามารถของตนเองกับการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

พงษ์มณฑา เกษรไพบูลย์. (2560). พื้นที่ของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

พิทยงค์ รุ่งสมบูรณ์. (2560). การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสนับสนุนการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง).

โรงพยาบาลปิยะเวช. (2558). ข้อควรระวังในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จาก http://www.plyfah.com/Article/Detail/118649

วรางคณา ผลประเสริฐ. (2551). ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2561, จาก https://www.stou.ac.th/stoukc/elder/main4_9.html

วารี สายันหะ. (2546). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

วุฒินันท์ ปุยะวัฒนา. (2556). แนวทางการออกแบบพื้นที่ให้บริการสำหรับผู้สูงอายุภายในศูนย์การค้า. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ [สสส.]. [ม.ป.ป.]. คู่มือสุขสมวัย: สำหรับการดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี. กรุงเทพฯ: SOOK.

SCG Brand. (2559). ทางลาดแบบไหน ที่เหมาะกับผู้สูงอายุมากที่สุด. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/SCGBrand/posts/744176349047032/

ASHRAE Standards Committee. (1992). Thermal environmental conditions for human occupancy. Atlanta, GA: American Society of Heating.

Auliciems, A., & Szokolay, S. V. (1997). Thermal comfort. (n.p.).: PLEA.

Fanger, P. O. (1970). Thermal comfort: Analysis and applications in environmental engineering. New York: McGraw-Hill.

Population Reference Bureau. (2012). Population reference bureau releases 2012 world data sheet. Retrieved from https://www.populationmedia.org/2012/07/25/population-reference-bureau-releases-2012-world-data sheet/

Tsuji, I., Tamagawa, A., Nagatomi, R., Irie, N., Ohkubo, T., Saito, M., ... Hozawa, A. (2000). Randomized controlled trial of exercise training for older people (Sendai Silver Center Trial; SSCT): Study design and primary outcome. Journal of epidemiology, 10(1), 55-64.

Valenzuela, T. (2012). Efficacy of progressive resistance training interventions in older adults in nursing homes: A systematic review. Journal of the American Medical Directors Association, 13(5), 418-428.