การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) ในการตรวจสอบการใช้งานประตูภายในอาคาร กรณีศึกษาประตูในโรงพยาบาล อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Main Article Content

ยศพร ปรีสง่า

บทคัดย่อ

ประตูในโรงพยาบาลมีความหลากหลายและซับซ้อนไปตามพื้นที่การใช้งาน สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยรถเข็นหรือเปลนอนได้อย่างคล่องตัว การเข้าถึงพื้นที่ได้อย่างสะดวกรวดเร็วมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น การออกแบบประตูจึงจำเป็นต้องตรวจสอบประสิทธิภาพและความเหมาะสมการใช้งาน


ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) ในการออกแบบและก่อสร้างอาคาร ซึ่งประโยชน์ของการใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) ส่วนของข้อมูลที่เป็นกราฟิกสามารถนำมาตรวจสอบการชนกันของวัตถุจำลอง (clash detection) เพื่อลดปัญหาขัดแย้งของแบบได้ แต่ในส่วนของข้อมูลที่ไม่ใช่กราฟิกควรคำนึงถึงการตรวจสอบข้อขัดแย้งด้วยเช่นกัน จึงทำการศึกษาลักษณะและข้อกำหนดงานประตูที่เหมาะสมกับการใช้งานใน 5 แผนก คือ 1.แผนกฉุกเฉิน (ER)


2.แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) 3.แผนกผู้ป่วยใน (IPD) 4.แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU) และ 5.แผนกศัลยกรรมผ่าตัด (SUG) โดยใช้โปรแกรม Autodesk Revit และ ArchiCAD ในการทดลองเพื่อเปรียบเทียบความสามารถและข้อจำกัดในการตรวจสอบ


จากการศึกษาและการทดลองนำพื้นที่โดยรอบประตูที่เป็นข้อกำหนดลักษณะของประตูที่เหมาะสมกับการใช้งานในโรงพยาบาล 4 บริเวณ คือ 1.พื้นที่ด้านในประตู 2.พื้นที่ด้านนอกประตู 3.พื้นที่ด้านข้างประตู 4.พื้นที่ด้านบนประตู เมื่อตรวจสอบด้วยทั้งสองโปรแกรมพบว่า Autodesk Revit สามารถใช้ในการตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้งานประตูได้ครอบคลุมทุกข้อกำหนดทั้ง 4 บริเวณ แต่มีความซับซ้อนและยุ่งยากในการสร้างพื้นที่ส่วนประกอบเข้าไปในองค์ประกอบของโมเดลประตู และโปรแกรม ArchiCAD ตรวจสอบโดยการใส่ค่าพื้นที่จากในคำสั่งของโปรแกรม แต่ด้วยข้อจำกัดของโปรแกรมจึงไม่สามารถตรวจสอบพื้นที่บริเวณด้านบนประตูได้


ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงแนวทางการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารในการตรวจสอบการใช้งานประตูภายในโรงพยาบาลที่เหมาะสม นำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในการออกแบบประตูในโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงสาธารณสุข. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กองแบบแผน. (2555). คู่มือการประเมินอาคารและสภาพแวดล้อมภายหลังการออกแบบและใช้งาน. นนทบุรี: กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กองแบบแผน. (2558). คู่มือการออกแบบอาคารสถานบริการสุขภาพและสภาพแวดล้อม. นนทบุรี: กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

บริษัท แอพพลิแคด จำกัด. (2562). คู่มือการใช้งานโปรแกรม ArchiCAD. กรุงเทพฯ: บริษัท แอพพลิแคด จำกัด.

บัณฑิต จุลาสัย และ สุริยน ศิริธรรมปิติ. (2547). วัสดุและการก่อสร้าง ประตูและหน้าต่าง. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิวัฒน์ อุดมปิติทรัพย์. (2564). Reference for Autodesk Revit (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรุงเทพ จำกัด.

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). แนวทางการทำงานแบบจำลองสารสนเทศอาคาร ฉบับที่ 1. กรุงเทพมหานคร: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). ข้อแนะนำการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พลัสเพรส.

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. (2558). แนวทางการใช้งานแบบจำลองสารสนเทศอาคารสำหรับประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พลัสเพรส.