ความชื้นในห้องพักที่มีห้องน้ำในตัวส่งผลต่อค่าไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน แสดงสถิติการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องจากสภาพอากาศในประเทศไทย และการขยายตัวชุมชนเมืองที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าในเครื่องปรับอากาศเพื่อทำความเย็นเพิ่มสูงขึ้นทุกปีอย่างเห็นได้ชัด การสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี พ.ศ.2550 - 2558 พบว่า อะพาร์ตเมนต์และหอพักเป็นธุรกิจที่พักอาศัยที่มีจำนวนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเป็นจำนวนมาก ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของที่พักอาศัยที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศสูงกว่าที่พักอาศัยที่ไม่มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศถึง 3.5 เท่า จากข้อมูลการจดทะเบียนกิจการหอพักของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จากข้อมูล ณ ปี พ.ศ. 2561 พบว่ามีจำนวนห้องพักที่ติดเครื่องปรับอากาศสูงถึง 24,754 ห้อง
เครื่องปรับอากาศถูกออกแบบโดยอาศัยพื้นฐานของการปรับอากาศเพื่อความสบาย (comfort air conditioning) ด้วยต้นทุนพลังงานที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ได้อุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม อัตราการใช้พลังงานที่เหมาะสม โดยงานวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นการศึกษา เพื่อหาภาระในการทำความเย็น (cooling load) ของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งประกอบด้วย ความร้อนแฝง (latent heat) และความร้อนสัมผัส (sensible heat) อะพาร์ตเมนต์และหอพักเป็นที่พักอาศัยที่มีแหล่งที่มาของความชื้นหลักเกิดจากห้องน้ำ เนื่องจากแบ่งพื้นที่ห้องพักให้มีห้องน้ำในตัวเป็นฟังก์ชั่นหลักที่สำคัญ คิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 15 - 30 ของพื้นที่ห้องทั้งหมด ดังนั้น เมื่อห้องน้ำถูกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการล้างมือ การอาบน้ำ การทำความสะอาด ความชื้นที่เกิดขึ้นจึงถูกถ่ายโอนมายังบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นห้องปรับอากาศ งานวิจัยนี้ได้ทำการเก็บค่าอุณหภูมิและความชื้น เพื่อนำมาหาค่าไฟฟ้าโดยใช้กระบวนการทางแผนภูมิไซโครเมทริก (Psychometric chart) เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าพลังรวมที่เปลี่ยนแปลงเป็นค่าความร้อนสัมผัส และความร้อนแฝง เพื่อหาการใช้ไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายทางด้านไฟฟ้าในการใช้งานเครื่องปรับอากาศ เป็นแนวทางในการลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้อยู่อาศัย และลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในประเทศ ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าการป้องกันไม่ให้ความชื้นจากห้องน้ำไหลเข้ามาได้ จะทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึง 12%
Article Details
References
กระทรวงพลังงาน (พพ). กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษณ์พลังงาน. (2060). คู่มือฝึกอบรมการประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564, จาก http://energyauditorthai.com/wp-content/ uploads/2017/01/06-บทที่-5.-เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน.pdf
ชาตรี เกียรติจรูญศิริ. (2553). การลดภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศโดยใช้สารดูดความชื้นเพื่อการประหยัดพลังงาน, วารสารวิจัยพลังงาน, 7(1), 26.
ธนพล คำล้ำเลิศ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าห้องพักที่ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม).
พัลลภ กฤตยานวัช และ เริงจัย คลายบสูตร. (2555). แนวทางการลงทุนและบริหารกิจการอพาร์ทเม้นท์สำหรับผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง. ใน กลยุทธ์การตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยปี 2555. (น.26-32). กรุงเทพฯ: ธนาคารอาคารสงเคราะห์.
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานคร. กองนโยบายและแผนงาน. (2561). หอพักในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2564, จาก http://www.bangkok.go.th/upload/user/00000354/plan/report/02.pdf
สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร. กองนโยบายและแผน. กลุ่มงานวิจัยผังเมือง 2. (2562). หอพักในเขตกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กองนโยบายและแผน สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2564). รายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2564, จาก https://online.anyflip.com/qivjx/rqoo/mobile/index.html
สุนทร บุญญาธิการ. (2542). เทคนิคการออกแบบบานประหยัดพลังงานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพล พฤกษพานิช. (2529). การปรับอากาศ: หลักการและระบบ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Akintunde, Aremu. (2015). Effects of temperature and humidity on coefficient of performance of air-conditioning system. Akure: Department of Mechanical Engineering, Federal University of Technology, Ondo State, Nigeria. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/327228073_Effects_ of_Temperature_and_Humidity_on_Coefficient_of_Performance_of_Air-conditioning_System
ASHRAE. (2020). ASHRAE STANDARD 55 – THERMAL ENVIRONMENTAL CONDITIONS FOR HUMAN OCCUPANCY (The 2020 edition of ANSI/ASHRAE Standard 55). Retrieved from www.ashrae.org
Moore, Fuller. (1993). Environmental control systems: Heating, cooling, lighting.Retrieved from https://www.buildingenclosureonline.com/blogs/14-the-be-blog/post/87659-the-psychrometric-chart-explained