ตรรกะการพึ่งพาเชิงพื้นที่ของกลุ่มชุมชน ไทย-มอญ สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
เนื้อหาในบทความนี้เป็นการศึกษาพื้นที่กลุ่มชุมชนไทย-มอญ สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่ 3 ชาติพันธุ์ ได้แก่ ชุมชนไทย มอญ และกะเหรี่ยง กลุ่มชุมชนมีพื้นที่ซึ่งถูกแบ่งออกด้วยลักษณะภูมิประเทศออกเป็น 2 ส่วนคือชุมชนไทยและชุมชนมอญแต่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยการสัญจรเพื่อเข้าถึงพื้นที่กิจกรรมบริเวณศูนย์กลางของชุมชนไทย เกิดเป็นปรากฏการณ์การพึ่งพาเชิงพื้นที่เพื่อการดำรงอยู่ จึงเป็นที่มาในการศึกษาระบบโครงสร้างของกลุ่มชุมชนจากการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบเชิงพื้นที่ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ข้างต้น งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการอธิบายลักษณะและรูปแบบของปรากฏการณ์การพึ่งพาเชิงพื้นที่ของกลุ่มชุมชน โดยมีวิธีวิจัยประกอบด้วย การวิเคราะห์ผ่านแผนที่ภาพและพื้น (figure and ground map) การวิเคราะห์ผ่านการซ้อนทับของชั้นข้อมูลแผนที่ (overlay mapping) การวิเคราะห์คุณสมบัติการเข้าถึงของโครงข่ายการสัญจรผ่านสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่ (spatial model) ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ชุนชนไทย มอญ และกะเหรี่ยงที่อยู่ภายใต้สภาวะการพึ่งพาเชิงพื้นที่นั้นสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ผ่านการพึ่งพาเส้นทางการสัญจรที่เชื่อมไปยังพื้นที่ศูนย์กลางที่อยู่ในอาณาเขตของชุมชนไทยซึ่งมีลักษณะเป็นย่านการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารที่หลากหลาย มีปริมาณความหนาแน่นในการสัญจรสูง มีระบบโครงข่ายการสัญจรที่กระชับ มีเส้นทางการสัญจรที่สามารถเชื่อมต่อและเข้าถึงพื้นที่กิจกรรมภายในย่านได้อย่างทั่วถึง ซึ่งสอดคล้องกับนิยามศูนย์กลางที่มีชีวิตของ Hillier (1999) ทว่าพื้นที่ศูนย์กลางในระดับย่านไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่ศูนย์กลางเดียวกันในระดับกลุ่มชุมชนและเมื่อเวลาผ่านไปศูนย์กลางของกลุ่มชุมชนสามารถมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่แต่จะตกอยู่ภายในอาณาเขตของชุมชนใดชุมชนหนึ่งเพื่อให้สภาวะการพึ่งพาเชิงพื้นที่สามารถดำรงอยู่ต่อไป ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำกระบวนการ นโยบาย มาตรการเพื่อการพัฒนาและอนุรักษ์พื้นที่กลุ่มชุมชนอย่างเหมาะสม และเป็นข้อมูลเชิงวิชาการในศาสตร์ด้านการวางผังและออกแบบชุมชนเมืองสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้จัดทำแผนที่และแผนผังเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ระดับเมืองและระดับท้องถิ่นทั้งในปัจจุบันและอนาคต
Article Details
References
ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ. (2547). วาทกรรมของเมืองผ่านโครงสร้างเชิงสัณฐาน. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, 2, 63-76.
ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ. (2554). เอกสารคำสอนรายวิชา 2503690 Urban Morphology. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐพงค์ แย้มเจริญ. (2557). จากสะพานอุตตามนุสรณ์ถึงสะพานไม้ไผ่ลูกบวบ : ภาพสะท้อนวิถีชีวิตชุมชนไทย-มอญสองฝั่งแม่นํ้าซองกาเลียที่เปลี่ยนแปลง. วารสารเกษมบัณฑิต, 15, 10-13.
ที่ว่าการอำเภอสังขละบุรี. (2561). Bird Eye View บรรยากาศอำเภอสังขละบุรี [Video]. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/watch/?v=2132537746979047
สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อรวรรณ ทับสกุล. (2546). หลวงพ่ออุตตมะ : ผู้นำทางวัฒนธรรมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของหมู่บ้านมอญพลัดถิ่นสังขละบุรี. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
อภิรดี เกษมศุข. (2561). สเปซซินแท็กซ์ หนึ่งการศึกษาสัญฐานวิทยา. กรุงเทพฯ: เมจิค พับบลิเคชั่น.
Hillier, B. (1996). Space is the machine: A configurational theory of architecture. London: Space Syntax.
Hillier, B. (1999). Centrality as a process: Accounting for attraction inequalities in deformed grids. Urban Design International, 4(3-4), 107-127.
Hillier, B., & Hanson, J. (1984). The social logic of space. Cambridge: Cambridge University Press.
Hillier, B., Penn, A., Hanson, J., & Grajewski, T. (1993). Natural movement: Or, configuration and attraction in urban pedestrian movement. Environment and Planning B: Planning and Design, 20(1), 29-66.