ประสิทธิภาพด้านพลังงานและความน่าสบายของการทำความเย็นวิธีกระจายลมแบบแทนที่โดยใช้เครื่องปรับอากาศแยกส่วนแบบไร้พัดลม

Main Article Content

สุพัตรา สุขเมือง
อรรจน์ เศรษฐบุตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยศึกษาประสิทธิภาพด้านพลังงานและความน่าสบายของการทำความเย็นวิธีกระจายลมแบบแทนที่โดยใช้เครื่องปรับอากาศแยกส่วนแบบไร้พัดลม มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพความน่าสบายและศึกษาประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานของเครื่องปรับอากาศต้นแบบ โดยงานวิจัยนี้ได้ทำการทดสอบเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนไร้พัดลมไปทำการทดลองในห้องจำลองเสมือนจริงที่ขนาด 1.60 x 2.70 x 2.60 ม. และมีการใช้หลอดไฟขนาด 5 วัตต์ 10 วัตต์ และ 15 วัตต์ ตามลำดับเพื่อเพิ่มตัวแปรในการทดลอง ซึ่งภายในห้องทดลองได้มีการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องวัดอุณหภูมิ 12 ชานแนล เครื่องตรวจวัดคุณภาพ อุณหภูมิกระเปาะเปียก-แห้ง เครื่องวัดกำลังไฟฟ้าและเครื่องรีดความชื้น โดยมีระยะเวลาในการทำวิจัยอยู่ในช่วงสั้น ๆ คือช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 (เริ่มต้นเข้าฤดูหนาว) โดยมีช่วงเวลาทดสอบตลอด 24 ชั่วโมง ของ 1 วัน ภายใต้อุณหภูมิอากาศของจังหวัดขอนแก่น จากการทดสอบพบว่าการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบปรับอากาศสามารถทำงานได้ต่อเนื่องโดยไม่เกิดการตัดระบบและสตาร์ทเครื่องใหม่เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ผลการทดสอบพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยลดลงทุก 2 ชม. 0.5 - 1 องศาเซลเซียสและมีการกระจายความเย็นอย่างสม่ำเสมอเมื่อเครื่องทำงานต่อเนื่อง 6 ชั่วโมง เป็นต้นไป แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าความชื้นสัมพัทธ์มีค่าไม่ต่างจากก่อนการทดลองมากนัก ซึ่งจากผลการประเมินประสิทธิภาพความน่าสบายพบว่า อุณหภูมิตลอดการทดลองอยู่ในเกณฑ์ตามมาตรฐานความสบายของคนไทย คืออุณหภูมิ 27.5 - 28.53 องศาเซลเซียสและความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกินร้อยละ 70 สรุปการประหยัดพลังงานของเครื่องปรับอากาศนี้มีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องปรับอากาศแบบทั่วไปมากถึง 26.5% มีความน่าสบายเพิ่มขึ้นคิดเป็น 8.164% คืออุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 26 องศาเซลเซียสและความชื้นสัมพัทธ์ 64.5% แต่ความชื้นที่เกิดขึ้นก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่น่าสังเกตว่า แนวทางการกำจัดความชื้นนั้นควรพัฒนาและแก้ไขให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีกว่าและสามารถใช้งานเครื่องปรับอากาศแยกส่วนไร้พัดลมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งเพื่อพัฒนาเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในบ้านพักอาศัยให้เกิดการประหยัดพลังงานมากขึ้นด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2547). ตําราฝึกอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน (ผชพ.) สามัญ. http://www2.dede.go.th/bhrd/old/file_handbook.html

กระทรวงพลังงาน. สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2564). รายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย. https://www.dede.go.th/download/stat63/12_SIT_Jan-Dec%2064_01.pdf

กลุ่มสถิติและข้อมูลพลังงาน. (2563). สถานการณ์พลังงานของประเทศไทย (มกราคม-ธันวาคม 2564). https://www.dede.go.th/ewt_news.php?nid=47349

คู่มือผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน. (2561). การอนุรักษ์พลังงานในระบบไฟฟ้าแสงสว่าง. https://image.makewebeasy.net/makeweb/0/mqk9PemK3/Document/Part_2_Chapter_3_%E0%B8%9B%E0%B8%B5_2561.pdf?v=202012190947

ดลสิทธิ์ แทนคำ, ชลสิทธิ์ เหล่าสนธิ์, และภุชงค์ จันทร์จิระ. (2564, กรกฎาคม-ธันวาคม). การประหยัดพลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศด้วยอุปกรณ์ระบายความร้อนจากน้ำทิ้งของพัดลมคอยล์เย็น. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ, 15(2), 10-23.

ดาวรุ่งรตา วงษ์ไกร. (2563, พฤษภาคม-สิงหาคม). ปัจจัยทางการจัดการการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศเพื่อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 82-93.

ทรงพล โพธิ์สุวัฒนากุล. (2552). ประสิทธิภาพการใช้พลังงานรวม (IEER) สำหรับเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนขนาดเล็ก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทรน ประเทศไทย. (2556). คู่มือการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ. http://www.tranethailand.com/data/product/ adfiopruv178.pdf

นพรัตน์ เกตุขาว และสิทธิพร ศรีเมือง. (2561). SEER คืออะไร. http://www.me.eng.up.ac.th/index.php/ 2017-11-22-08-53-08/19-seer

นิกร เนื่องอุตม์, ปิยากร จันทะนะ, สมนึก เครือสอน, และณรงค์ฤทธิ์ พิมพ์คำวงศ์. (2559). การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนโดยใช้ลมเย็นจากพัดลมระบายอากาศ. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 10(1), 15-23.

นิรันดร์ วัชโรดม. (2561). การเพิ่มสัมประสิทธิ์สมรรถนะของระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน โดยอาศัยพลังงานความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่. วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ, 6(2), 134-147.

นินนาท ราชดิษฐ์, จุฑาวัชร สุวรรณภพ, และ นฤพล สร้อยวัน. (2556). การศึกษาผลกระทบของรูปแบบการระบายอากาศที่มีต่อระดับความชื้นสัมพัทธ์ภายในสำนักงานที่ใช้เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, ฉบับพิเศษ, 17-23.

มานพ แจ่มกระจ่าง. (2549, มิถุนายน-ตุลาคม). ศึกษาทางเลือกการตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมเพื่อการประหยัดพลังงาน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 18(1), 77-78.

สกลทรรศน์ อินแก้ว, นพดล อำภา, และปฐวี ถือแก้ว. (2557). การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนด้วยชุดสายยางน้ำซึม [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย. (2556). มาตรฐานการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน. https://www.ashraethailand.org/download/ashraethailand_org/Standard_update%2028%20April%202015.pdf

Alamdari, F. D., Butler, J. G., Grigg, P. F., & Shaw, M. R. (1998). Chilled ceilings and displacement ventilation. Renewable Energy, 15(1–4), 300-305.

American Society of Heating, Refrigerating and Air Conditioning Engineers. (2009). ANSI/ASHRAE 138-2009: Method of testing for rating ceiling panels for sensible heating and cooling. ASHRAE. https://webstore.ansi.org/preview-pages/ASHRAE/preview_ANSI+ASHRAE+Standard+138-2009.pdf

American Society of Heating, Refrigerating, and Air Conditioning Engineers. (2016). ASHRAE handbook-HVAC systems and equipment. ASHRAE. http://arcohvac.ir/wpcontent/uploads/2016/11/ASHRAE-Handbook-2016-HVAC-Systems-and-EquipmentIP.pdf

Feng, Yang, Feng, Qian, & Stephen, S. Y. Lau. (2013). Urban form and density as indicators for summertime outdoor ventilation potential: A case study on high-rise housing in Shanghai. Building and Environment, 70, 122-137.

Guohui, Gan, & Riffat, Saffa B. (2004). CFD modelling of air flow and thermal performance of an atrium integrated with photovoltaics. Building and Environment, 39(7), 735-748.

Lee, Haw- Long, Chou, Huann- Ming, & Yang, Yu- Ching. (2004). The function estimation in predicting heat flux of pin fins with variable heat transfer coefficients. Energy Conversion and Management, 45(11-12), 1749-1758.

Skistad, H. (n.d.). Displacement ventilation research studies press, thermal environmental conditions for human occupancy. https://www.ashrae.org/File%20Library/Technical%20Resources/Standards%20and%20Guidelines/Standards%20Addenda/55_2010_i_k_l_m_n_r_Final_07092013.pdf

Halton. (n.d.). Displacement ventilation design guide. https://www.yumpu.com/en/document/read/31498004/displacement-ventilation-design-guide-halton

ISO 11855-2:2012(E). (n.d.). Building environment design-Design, dimensioning, instalation and control of embedded radiant heating and cooling systems. https://www.iso.org/standard/52408.html

The Japan Society of Refrigerating and Air Conditioning Engineers (JSRAE) of Japan. (n.d.). Report “risk assessment of mildly flammable refrigerants.” http://aradtahvieh.ir/wp-content/uploads/2016/05/ASHRAE-2012.pdf

Khedari, Joseph, Yamtraipat, Nuparb, Pratintong, Naris, & Hirunlabh, Jongjit. (2000). Thailand ventilation comfort chart. Energy and Buildings, 32, 3245-249.

Rhee, Kyu-Nam, Olesen, Bjarne W., & Kim, Kwang Woo. (2017). Ten questions about radiant heating and cooling systems. Building and Environment, 112, 367-381.

Liu, Sheng-Chun, Yi-Tai, & Wei, Lu. (2021). Analysis about EER and SEER of air conditioner. Journal of Tianjin University Science and Technology, 39, 1088-1092.

Djongyang, Noël, Tchindac, René, & Njomoa, Donatien. (2010). Thermal comfort: A review paper. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 14, 92626-2640.

Olgyay, V. (1963). Design with climate. Princeton University Press.

Persily, A. K. (1997). Evaluating building IAQ and ventilation with indoor carbon dioxide.0. ASHRAE Transactions, (103), 2193-2204.

Riffat, S. B., Zhao, X., & Doherty, P. S. (2004). Review of research into and application of chilled ceilings and displacement ventilation systems in Europe. International Journal of Energy Research, 28, 257–286.

Simmonds, P., Mehlornakulu, B., Chambers, I., & Simmomds, C. (2006, January). Applied performance of radiant ceiling panels for cooling. ASHRAE Transactions, (112), 368-376.

Yuan, Xiaoxiong, Che, Qingyan, & Glicksman, Leon R. (2010). A critical review of displacement ventilation. https://www.aivc.org/sites/default/files/airbase_11091.pdf