รูปแบบโครงสร้างไม้อาคารพักอาศัยในชุมชนตลาดเก่าศรีประจันต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง การวิเคราะห์การแอ่นตัวของคานไม้บ้านพักอาศัย กรณีศึกษา : ชุมชนตลาดเก่าศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยเป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างไม้อาคารพักอาศัย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างคานไม้อาคารพักอาศัย รูปแบบโครงสร้างไม้อาคารพักอาศัย และเปรียบเทียบรูปแบบโครงสร้างไม้อาคารพักอาศัย เพื่อสรุปผลของรูปแบบโครงสร้างไม้อาคารพักอาศัยในชุมชนตลาดเก่าศรีประจันต์
ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา เปรียบเทียบรูปแบบโครงสร้างไม้อาคารพักอาศัย จากการลงสำรวจภาคสนาม โดยมีการเก็บข้อมูลอาคารพักอาศัยทั้งภาพถ่าย ผังพื้น รูปด้าน รูปตัด และโครงสร้างอาคาร แล้วทำการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาจำแนกเป็นข้อมูลพื้นฐานของอาคาร จากนั้นจึงวิเคราะห์เปรียบเทียบกรณีศึกษาทั้ง 18 หลัง เพื่อสรุปออกมาเป็นรูปแบบโครงสร้างไม้อาคารพักอาศัย
จากการศึกษาพบว่า อาคารพักอาศัยที่ใช้โครงสร้างพื้นไม้วางบนตงและคานไม้ โครงสร้างเสาเหลี่ยม คานเดี่ยวและคู่ โครงสร้างผนังโครงเคร่าไม้ตีซ้อนเกล็ดแนวนอน และโครงสร้างหลังคาโครงสร้างไม้ทรงเพิงหมาแหงนนั้น เป็นรูปแบบของโครงสร้างไม้ที่พบมากที่สุด รูปแบบของอาคารพักอาศัยส่วนมากในพื้นที่เป็นเรือนไม้สองชั้น แต่มีบางส่วนของโครงสร้างไม้ที่แตกต่างกันเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ในส่วนของพื้นที่ตั้ง พื้นที่ใช้สอย ขนาดของอาคาร รวมถึงการต่อเติมภายหลัง
Article Details
References
จังหวัดสุพรรณบุรี. สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี. (2560). ข้อมูลพื้นฐาน : อำเภอศรีประจันต์ประจันต์. https://ww1.suphanburi.go.th/amphur_content/cate/8
ณัฐพงษ์ รอดเจียม. (2563). การต่อเติมอาคารพักอาศัยเพื่อใช้เป็นร้านค้า : กรณีศึกษา ชุมชนเกาะเกร็ด ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง]. WebOPAC KMITL Central Library. https://opac.lib.kmitl.ac.th/catalog /BibItem. aspx?BibID=b00276635
นรินทร์ เต๊ะบำรุง. (2562). รูปแบบองค์ประกอบอาคารพักอาศัยริมน้ำ กรณีศึกษา : ชุมชนเกาะเกร็ด ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี [วิทยานพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง]. WebOPAC KMITL Central Library.https://opac.lib.kmitl.ac.th/catalog/BibItem .aspx?BibID=b00273315
เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี และรัฐวุฒิ จันทร์ศรีตระกูล. (2561). การเขียนแบบ 3 มิติ โครงสร้างไม้ (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รังษี นันทสาร. (2531). การออกแบบโครงสร้างไม้ (พิมพ์ครั้งที่ 7). หน่วยสารบรรณ งานบริหารธุรการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รัฐวิชญ์ ศุภจัตุรัส. (2556). ตลาดสดพื้นถิ่น จังหวัดสุพรรณบุรี : รูปแบบ พัฒนาการ และการใช้งานปัจจุบัน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Silpakorn University Repository (SURE). http://www.sure.su.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/11236/fulltext.pdf? sequence=2&isAllowed=y
วินิต ช่อวิเชียร. (2557). การออกแบบโครงสร้างไม้ (พิมพ์ครั้งที่ 4). นิวไทยมิตรการพิมพ์ (1996).
สมุทร พรหมเกษตรินทร์. (2538). การออกแบบโครงสร้างไม้และเหล็ก. พัฒนาวิชาการ (2535).
หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี. (2564). ชุมชนตลาดศรีประจันต์. กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม. https://culturalenvi.onep.go.th/site/detail/4095
Abdy, K. (1999). Structural timber design. Blackwell Science.
Andrew, W. (2005). Structure as architecture. Architectural Press.
Francis, D. K. (1995). A visual dictionary of architecture. John Wiley & Sons.
Godonou, P. (2022). Design of timber structures. Swedish Wood.