ปรากฏการณ์การเปิดออกของชุมชนจัดสรรล้อมรั้ว กรณีศึกษาพื้นที่ย่านลาดพร้าว
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปรากฏการณ์การเปิดออกของชุมชนจัดสรรล้อมรั้วเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการพัฒนาพื้นที่รูปแบบชุมชนจัดสรรล้อมรั้ว โดยการศึกษานี้เป็นการศึกษาปราฏการณ์ในพื้นที่เขตลาดพร้าวและมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปรากฏการณ์การ เปิดออกของชุมชนจัดสรรล้อมรั้วว่ามีลักษณะอย่างไร 2) นำเสนอผลกระทบที่เกิดจากปรากฏการณ์การเปิดออกของชุมชนจัดสรรล้อมรั้วผ่านการศึกษาสัณฐานเมือง และ 3) นําเสนอข้อเสนอแนะสำหรับการออกแบบพัฒนาชุมชนจัดสรรล้อมรั้วเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นการเปรียบเทียบข้อมูล เพื่อหาผลกระทบจากปรากฏการณ์ดังกล่าว
ผลการศึกษา พบว่า ปรากฏการณ์การเปิดออกของชุมชนจัดสรรล้อมรั้วส่งผลกระทบต่อชุมชนละแวกบ้าน โดยสามารถจำแนกผลกระทบได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผลกระทบเชิงบวก และผลกระทบเชิงลบ โดยผลกระทบเชิงบวก พบว่า เกิดการเชื่อมต่อโครงข่ายการสัญจร ที่ส่งผลให้ศักยภาพในการเข้าถึงพื้นที่เพิ่มขึ้นและเป็นการร่นระยะทางในการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับผู้ที่อาศัยอยู่ภายในชุมชนจัดสรรล้อมรั้ว ชุมชนข้างเคียงและผู้สัญจรผ่าน นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับทั้งผู้ที่อาศัยอยู่ภายในชุมชนจัดสรรล้อมรั้วที่เกิดปราฏการณ์และชุมชนข้างเคียง รวมถึงสร้างความปลอดภัย (สายตาสอดส่อง) ให้กับผู้ที่อาศัยอยู่ภายในชุมชนจัดสรรล้อมรั้ว ส่วนผลกระทบเชิงลบ พบว่าความ เป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยในชุมชนจัดสรรล้อมรั้วลดลง รวมถึงปัญหาจากการจราจร ได้แก่ การจราจรติดขัด มลภาวะ และความไม่ปลอดภัยจากยานพาหนะที่สัญจรผ่าน
ซึ่งข้อเสนอแนะสำหรับการออกแบบพัฒนาชุมชนจัดสรรล้อมรั้ว มีดังนี้ ชุมชนจัดสรรล้อมรั้วควรสร้างความแทรกซึมและส่งเสริมความหลากหลาย และลดผลกระทบเชิงลบจากปรากฏการณ์โดยการใช้การออกแบบสภาพแวดล้อมและการกำหนดกฏเกณฑ์มาตรการการควบคุมปรากฏการณ์
Article Details
References
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและพาณิชยกรรมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2550. (2550, 23 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนพิเศษ 21 ง. หน้า 47-63.
ข่าวสดออนไลน์. (2565, 21 มกราคม). ข่าวในหน้า. ข่าวสด. https://www.khaosod.co.th/newspaper/newspaper-inside-pages/news_6846157
ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ. (2548). วาทกรรมของเมืองผ่านโครงสร้างเชิงสัณฐาน. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉบับภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง, 1-14. http://readgur.com/doc/2205627/วาทกรรมของเมือง-ผ่านโครงสร้างเชิงสัณฐาน
ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ. (2552). กำแพงในซอยและรั้วในใจ การปรับแนวคิดในการฟื้นฟูเมือง. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2, 93-100. https://www.arch.chula.ac.th/journal/files/article /4vNNvNnyBsSun105353.pdf
พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543. (2543, 4 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 117 ตอนที่ 45 ก. หน้า 1-21.
ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์ และอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้. (2563, 1 กันยายน). มหานครซอยตัน. The Urbanis by UDDC. https://theurbanis.com/insight/01/09/2020/2651
สรวิศ รุ่งโรจนารักษ์. (2562). สัณฐานเมืองเพื่อการพัฒนาย่านสร้างสรรค์บางรัก กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Silpakorn University Repository: SURE. http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/904/discover
Bentley, I., Alcock, A., Murrain, P., McGlynn, S., & Smith, G. (1985). Responsive environments: A manual for designers. Routledge. https://nexosarquisucr.files.wordpress.com/2016/05/responsive_environments_by_ ian_bentley_et-_al.pdf
Blandy, S., Lister, D., Atkinson, R. & Flint, J. (2003). Gated communities: A systematic review of the research evidence. CNR paper, 12, 1-65. https://www.academia.edu/316535/Gated_Communities_A_ Systematic_Review_of_the_Research_Evidence
Dogan, O., Han, J., & Lee, S. (2021). Opening gated communities and neighborhood accessibility benefits: The case of Seoul, Korea. International Journal of Environmental Research and Public Health,18(8), 4255. https://doi.org/10.3390/ijerph18084255
Gaille, L. (2020). 18 advantages and disadvantages of a gated community. Vittana.https://vittana.org/18advantages-and-disadvantages-of-a-gated-community
Grant, J., & Mittelsteadt, L. (2004). Types of gated communities. Environment and Planning B: Planning and Design, 31(6), 913-930. https://doi.org/10.1068/b3165
Hillier, B., Penn, A., Hanson, J., Grajewski, T., & Xu, J. (1993). Natural movement: Or configuration and attraction in urban pedestrian movement. Environment and Planning B: Planning and Design, 20, 129-66.
Yamu, C., Van Nes, A., & Garau, C. (2021). Bill Hillier’s legacy: Space syntax—A synopsis of basic concepts,measures, and empirical application. Sustainability, 13(6), 3394. https://doi.org/10.3390/su13063394
Yang, S., Tan, W., & Yan, L. (2021). Evaluating accessibility benefits of opening gated communities for pedestrians and cyclists in China: A case study of Shanghai. Sustainability, 13(2), 598. https://doi.org/10.3390/su13020598