การพัฒนาชุดข้อมูลเทคโนโลยีคู่แฝดดิจิทัลเพื่อประเมินการใช้พื้นที่อาคาร : กรณีศึกษา อาคารกรมการกงสุลในต่างประเทศของกระทรวงการต่างประเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบริหารพื้นที่อาคารที่ดีจะช่วยให้พื้นที่ส่วนต่าง ๆ ภายในอาคารถูกใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและถูกใช้งานอย่างคุ้มค่า กระทรวงการต่างประเทศมีสำนักงานอยู่หลายแห่งทั่วโลก ทำให้มีทรัพยากรทางกายภาพที่ต้องการการดูแลเป็นจำนวนมาก โดยสำนักงานบริหารทรัพย์สินมีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินที่มีอยู่แบ่งได้เป็น อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องมีการดูแลอยู่เสมอ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือการศึกษาและพัฒนาชุดข้อมูลที่เทคโนโลยีคู่แฝดดิจิทัลต้องการในการบริหารจัดการพื้นที่ กรมการกงสุลของกระทรวงการต่างประเทศมีหน้าที่ดูแลคนไทยในประเทศนั้น ๆ ทำให้เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญมาก ส่วนกรมการกงสุลมีพื้นที่การใช้งานที่หลากหลายและแตกต่างกัน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยพื้นที่ส่วนการกงสุลสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ พื้นที่สาธารณะ พื้นที่กึ่งสาธารณะ และพื้นที่ส่วนบุคคล ซึ่งทั้ง 3 พื้นที่มีปัญหาที่เกิดขึ้น 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นด้านกายภาพ และประเด็นด้านการบริหารจัดการ ในงานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาแนวทางในการหาชุดข้อมูลที่จำเป็นสำหรับเทคโนโลยีคู่แฝดดิจิทัล ในการประเมินการใช้พื้นที่อาคารเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพในส่วนการบริหารพื้นที่ทางไกล เพื่อให้สามารถทำงานได้รวดเร็ว แม่นยำ และช่วยลดงบประมาณในส่วนที่ไม่จำเป็น เนื่องจากเทคโนโลยีคู่แฝดดิจิทัลมีความโดดเด่นด้านการอัปเดตข้อมูลแบบเป็นปัจจุบัน และสามารถอัปเดตข้อมูลทางไกลได้ ทำให้มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการดูแลการบริหารจัดการพื้นที่ จากการศึกษาข้อมูลแบบก่อสร้างจริงและจากการสัมภาษณ์ทำให้สามารถสรุปได้ว่า การศึกษาการทำงานของเทคโนโลยีคู่แฝดดิจิทัลในระดับ Descriptive เป็นระดับที่มีความเหมาะสมในการศึกษาเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการใช้พื้นที่อาคาร โดยข้อมูลที่ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ข้อมูล Static และข้อมูล Dynamic โดยข้อมูล Static ที่จำเป็นได้แก่ พื้นที่ห้อง ความจุห้อง พื้นที่ต่อ 1 คนตามมาตรฐาน และจำนวนชั่วโมงที่ควรใช้ห้องใน 1 สัปดาห์ ข้อมูล Dynamic ที่จำเป็น ได้แก่ จำนวนชั่วโมงที่ใช้จริงใน 1 สัปดาห์ จำนวนพนักงานที่ใช้ห้องจริงใน 1 สัปดาห์ และประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์พื้นที่อาคารซึ่งเป็นข้อมูลที่จะถูกรวบรวมจากพื้นที่จริงโดยเครื่องมือเซนเซอร์ โดยผลของการวิจัยในครั้งนี้สามารถที่จะนำไปต่อยอดเพื่อการประเมินประสิทธิภาพการใช้พื้นที่อาคารในส่วนการกงสุลต่อไป
Article Details
References
กระทรวงการต่างประเทศ. ที่ตั้งแผนที่. http://www.thaiembassy.org/penang/th/organize
ไกร มหาสันทนะ. (2557). การบริหารจัดการทรัพย์สินในต่างประเทศ ในช่วงปี พ.ศ. 2556 – 2558. สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.
จิตราวดี รุ่งอินทร์ กันกา. (2561). การบริหารพื้นที่อาคารในธุรกิจสำนักงานยุคใหม่. https://elfit.ssru.ac.th/jitravadee_ro/pluginfile.php/29/block_html/content/
ชลันธร ชูตินันท์. (2561). สภาพทางกายภาพที่สัมพันธ์กับการใช้งานห้องอเนกประสงค์ภายในอาคารสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. .
Techsauce Team. (2021). Digital Twin แบบจำลองเสมือนในโลกดิจิทัล ทำงานอย่างไร และสำคัญกับอุตสาหกรรมขนาดไหน. https://techsauce.co/metaverse/get-to-know-digital-twin
เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร. (2564). โครงการเทคโนโลยีคู่แฝดดิจิทัลเพื่อการบริหารจัดการอาคารอัจฉริยะ : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.
ธนสินี สุทธิ. (2566). โอกาสและข้อจำกัดในการนำเทคโนโลยีคู่แฝดดิจิทัลมาใช้ในอสังหาริมทรัพย์ ประเภทอาคารสำนักงานในประเทศไทยจากทัศนะของผู้เชี่ยวชาญ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ปวริศร์ คำมุลตรี. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อช่วยในการประเมินประสิทธิภาพการใช้พื้นที่อาคารเรียนในมหาวิทยาลัย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มยุรฉัตร ฉัตรสุวรรณ. (2562). การใช้และการจัดการข้อมูลในแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรอาคารชุด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุดารัตน์ ทิพย์ทวีชัย. (2562). การสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคารสำหรับการบริหารจัดการกายภาพของอาคารที่ทำการสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุงไทยในต่างประเทศ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสริชย์ โชติพานิช. (2553). การบริหารทรัพยากรกายภาพ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสริชย์ โชติพานิช. (2563). การบริหารทรัพยากรกายภาพเชิงกลยุทธ์. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
MFA Thailand Channel. (2022, September 10). งานกงสุลกับการดูแลและให้บริการคนไทยในต่างแดน [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=gAKIP_h2QeE
Deer, M. (2023). 7 key space utilization metrics you should consider in 2023.https://poc-system.com/a/blog/key-space-utilization-metrics-you-should-consider
Delzendeh, E., Wu, S., & Alaaeddine, R. (2018, September 26-28). The role of space design in prediction of occupancy in multi-functional spaces of public buildings [Paper presentation]. 2018 Building Performance Analysis Conference and SimBuild co-organized by ASHRAE and IBPSA-USA. Chicago, IL.
https://www.researchgate.net/publication/328281989_The_Role_of_Space_Design_in_Prediction_
of_Occupancy_in_Multi-Functional_Spaces_of_Public_Buildings