ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบเชิงพื้นที่และรูปแบบการใช้พื้นที่สาธารณะและกึ่งสาธารณะที่มีความเป็นอเนกประโยชน์ ในพื้นที่ย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง

Main Article Content

วัชรพล ฉิมเรือง
ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ

บทคัดย่อ

พื้นที่ย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมืองมักเป็นพื้นที่ที่มีความเข้มข้นของทั้งการสัญจรและการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มศักยภาพ การพัฒนาที่เข้มข้นนี้ส่งผลให้พื้นที่โล่งว่างภายในย่านถูกทดแทนด้วยอาคารและพื้นที่ใช้สอยเชิงพาณิชยกรรมเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งพื้นที่สาธารณะโดยเฉพาะบาทวิถีกลับถูกใช้เป็นพื้นที่จัดวางโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งที่พื้นที่ดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้เพื่อสัญจรผ่าน การพัฒนาที่เป็นเอกเทศของเจ้าของโครงการนำไปสู่ความพยายามในการผนวกพื้นที่ส่วนตัวเข้ากับพื้นที่สาธารณะอย่างทางเท้า เพื่อดึงดูดกลุ่มผู้ใช้งานที่สัญจรไปมาอย่างหนาแน่นให้เข้าสู่ตัวอาคาร ในนัยยะว่าพื้นที่เหล่านี้เสมือนเป็น “พื้นที่กึ่งสาธารณะ” ทั้งนี้ นิยามของการพัฒนาพื้นที่สาธารณะรวมทั้งกึ่งสาธารณะเหล่านี้ให้เป็นพื้นที่ที่ดีในเชิงพฤติกรรมนิยม ได้ให้ความสำคัญกับการเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นอเนกประโยชน์ที่สามารถพบเจอกลุ่มคนหลากหลายประเภท ทำกิจกรรมหลากหลายวัตถุประสงค์ และในหลายช่วงเวลา ซึ่งนิยามถึงกลุ่มคนเดินเท้าเป็นหลัก งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบเชิงพื้นที่และรูปแบบการใช้พื้นที่ในย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมืองที่นำไปสู่การใช้งานอย่างอเนกประโยชน์ ผ่านการศึกษาเปรียบเทียบทฤษฎีและงานวิจัยที่ผ่านมาทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกบนพื้นฐานแนวคิดทฤษฎีการออกแบบเมือง เพื่อนำเสนอเป็นกรอบแนวความคิดสำหรับการจัดทำข้อกำหนดและแรงจูงใจในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนารูปแบบพื้นที่สาธารณะและกึ่งสาธารณะที่มีคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบเชิงพื้นที่ของพื้นที่สาธารณะและกึ่งสาธารณะที่นำไปสู่ความเป็นอเนกประโยชน์ในพื้นที่พาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง ประกอบด้วย 1) โครงข่ายการสัญจรและพื้นที่สาธารณะที่สัมพันธ์กับพื้นที่อื่น ๆ ของเมือง 2) ศักยภาพในการมองเห็นและเข้าถึงระหว่างภายในและภายนอกอาคาร 3) การใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารที่หลากหลาย 4) การเปิดให้เข้าใช้พื้นที่ได้ตลอดเวลา 5) ความต่อเนื่องเชื่อมโยงของระดับพื้นและวัสดุ 6) อุปกรณ์ประกอบถนนที่เพียบพร้อม โดยจะส่งผลให้มีการใช้งานพื้นที่ที่หลากหลายกลุ่มผู้ใช้งาน หลากหลายกิจกรรม และหลากหลายช่วงเวลา หรือมีความเป็นอเนกประโยชน์นั่นเอง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กาญจน์ นทีวุฒิกุล. (2550). ตรรกะของการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะอย่างอเนกประโยชน์ในเมืองเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13824

กำแหง อติโพธิ. (2552). มิติการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะของเมือง กรณีศึกษาเมืองนครนายก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16510

ขนิษฐา ช่อกลาง. (2557). แนวทางการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44486

ขวัญสรวง อติโพธิ. (2548). ที่ว่างในสังคมไทย. บรรยายพิเศษคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ. (2551). ซอยลัดประหยัดพลังงาน : พื้นที่ว่างสาธารณะขนาดเล็ก-พื้นที่ทางสังคมของชุมชนไทย. ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ. (2562). พื้นที่เมืองและความเป็นสาธารณะ urban space and publicness. ลายเส้นพับบลิชชิ่ง.

ฉัตรชัย พงศ์ประยูร. (2527). ภูมิศาสตร์เมือง. ภาควิชาภูมิศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชริตา ชาตรีกุล. (2555). พื้นที่ว่างสาธารณะอเนกประโยชน์ในย่านกรุงรัตนโกสินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67187

นิรมล เสรีสกุล และอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้. (2566). WALKABLE CITY เมื่อกรุงเทพฯออกเดิน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ลายเส้นพับบลิชชิ่ง.

ปณัฐพรรณ ลัดดากลม. (2561). รูปแบบเชิงพื้นที่ของพื้นที่ซอยท่าน้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73392

ปราณระฟ้า พรหมประวัติ. (2551). สนามทัศน์และรูปแบบการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะของชุมชนในเมือง : กรณีศึกษา ชุมชนย่านเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15674

ปัญญา บุญประคม. (2555). ความมีชีวิตชีวาของเมืองกับการใช้พื้นที่สาธารณะย่านการค้าเมืองอุดรธานี. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 11(1), 76-95. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/45255/37459

พรรณฑิภา สายวัฒน์. (2552). การปรับปรุงพื้นที่ว่างสาธารณะในย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR.https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16061

พิรุณพงศ์ จุลลางกูร. (2558). แนวทางการพัฒนาพื้นที่โล่งรอบอาคารพาณิชยกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ : กรณีศึกษาพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR.https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51129

มัญชุตา กัญชนะ. (2554). รูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการเชิงนโยบายพื้นที่กึ่งสาธารณะของโครงการเอกชน : ย่านธุรกิจศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR.https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29322

สกาวเนตร สะใบ. (2552). แนวทางการออกแบบเพื่อการใช้ประโยชน์พื้นที่ว่างสาธารณะและกึ่งสาธารณะตามแนวถนน : กรณีศึกษาย่านอโศก-นานาถนนสุขุมวิท [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36925

สกุลชัย ตันติเศรณี. (2549). แนวทางพัฒนาด้านกายภาพของพื้นที่โล่งว่างเพื่อการพาณิชย์ ภายในย่านถนนข้าวสารกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13277

สุธาสินี สารประสิทธิ์. (2559). ลักษณะพื้นที่กึ่งสาธารณะและพื้นที่สาธารณะที่แสดงถึงอัตลักษณ์ชุมชนอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. SURE. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/14441

อภิรดี เกษมสุข, ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ, และรพิฑตย์ สุวรรณะชฏ. (2546). รายงานวิจัยเพื่อการฟื้นฟูและวางแนวคิดเพื่อการออกแบบทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุดรธานี. City+ Architecture Lab.

อริยา อรุณินท์. (2545). การจัดกิจกรรมสาธารณะบนถนนสาธารณะ บทวิพากษ์ถนนคนเดินและนโยบายการใช้พื้นที่ถนน กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. สาระศาสตร์, 6, 108-128. http://www.land.arch.chula.ac.th/sites/default/files/publicstreet.pdf

Alexander, C., Ishikawa, S., & Silverstein, M. (1977). A pattern language: Towns, buildings, construction. Oxford University Press.

Anurakpradorn, S. (2013, January). Privately owned public spaces: The international experience. Sustainable Urban Regeneration, 25,19-21.

Batty, M. (2001). Exploring isovist fields: Space and shape in architectural and urban morphology. Environment and Planning B:Planning and Design, 28(1), 123-150. https://doi.org/10.1068/b2725

Benedikt, M. L. (1979). To take hold of space: Isovists and isovists fields. Environment and Planning B, 6(1), 47-65.

Burden, A. (1977). Greenacre Park. Project for Public Spaces.

Burden, A. (2014, April 7). How public spaces make cities work. TED. https://www.ted.com/talks/amanda_burden_how_public_spaces_make_cities_work?subtitle=en

Gehl, J. (1987). Life between buildings: Using public space. Van Nostrand Reinhold.

Gehl, J., & Gemzøe, L. (1996). Public spaces, public life: Copenhagen 1996. Danish Architectural Press - the Royal Danish Academy of Fine Arts, School of Architecture.

Gibberd, F. (1967). Town design. The Architecture Press.

Hillier, B. (1989, Jan./Feb.–Mar./Apr.). The architecture of the urban object. Ekistics, 56(334-335), 5-21.

Hillier, B., & Hanson, J. (1984). The social logic of space. Cambridge University Press. https://doi.org/DOI: 10.1017/CBO9780511597237

Hillier, B., Hanson, J., Grajewski, T., & Xu, J. (1993). Natural movement: Or configuration and attraction in urban pedestrian movement. Environment and Planning B: Planning and Design, 20(1), 29-66. https://doi.org/10.1068/b200029

Jacobs, J. (1961). The death and life of Great American cities. Penguin Books.

Leclercq, E., Pojani, D., & van Bueren, E. (2020). Is public space privatization always bad for the public? Mixed evidence from the United Kingdom. Cities, 100, 102649. https://doi.org/10.1016/j.cities.2020.102649

Lennard, S., & Lennard, H. (1995). Livable cities observed. Gondolier Press.

Marcus, C. C., & Francis, C. (1990). People places: Design guidelines for urban open space. Van Nostrand Reinhold.

Miles, D. (1978). Plaza for people. Project for Public Spaces.

Pushkarev, B. S., Zupan, J. M., & Association, R. P. (1975). Urban space for pedestrians: A report of the regional Plan Association. MIT.

Salingaros, N. A. (1998). Theory of the urban web. Journal of Urban Design, 3(1), 53-71.

Schwanke, D. (2003). Mixed-use development handbook. ULI.

Turner, A., & Penn, A. (1999). Making isovists syntactic: Isovist integration analysis. https://www.researchgate.net/publication/242075155_Making_isovists_syntactic_isovist_integration_ analysis

van Nes, A., & Yamu, C. (2021). Introduction to space syntax in urban studies. Springer.

Whyte, W. H. (1980). The social life of small urban space. Conservation Foundation.