อิทธิพลของสีในสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อความความเครียดของผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของสีในสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย (ห้องนอน) ที่ส่งผลต่อความความเครียดของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะโทนสีและสัดส่วนความสดของสี โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้านพักคนชราและอาศัยที่บ้านพักส่วนบุคคลจำนวน 120 คน โดยงานวิจัยนี้เลือกใช้วิธีการประเมินความเครียด 2 แบบ ได้แก่ การประเมินความเครียดทางอ้อมด้วยวิธี The Affect Grid Scale ของ Russell, Weiss & Mendelsohn (1989) และ ทางตรงด้วยวิธี Semantic Differential Scale จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า สีผนังห้องนอนโทนเย็นจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกเครียดน้อยกว่าสีโทนร้อน สัดส่วนความสดของสีอ่อนต่อสีเข้มที่เพิ่มขึ้นจะแปรผันตามความรู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังพบว่าความรู้สึกเครียดของผู้สูงอายุแปรผันdy[ความพึงพอใจต่อสี โดยผู้สูงอายุพึงพอใจสีผนังห้องนอนโทนเย็นมากกว่าโทนร้อน งานวิจัยนี้สรุปได้ว่าโทนสีและสัดส่วนความสดของสีผนังห้องนอนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความรู้สึกเครียดของผู้สุงอายุ ผู้ออกแบบจึงควรเลือกใช้สีที่เหมาะสม เพื่อให้ส่งเสริมต่อการใช้งานพื้นที่และความรู้สึกเชิงบวกของผู้สูงอายุ
Article Details
References
ชนันต์ แสงสีดา. (2552). สภาพการอยู่อาศัยในที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม: กรณีศึกษา สมาชิกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมแห่งประเทศไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
รัตนา ปานเรียนแสน. (2559). ธุรกิจที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ...กับโอกาสของผู้ประกอบการไทย. วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
วรรันตน์ สุขคุ้ม และ จิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2551). การจัดการกับพฤติกรรมเดินหลงในผู้สูงอายุโรคสมองเสื่อม. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2(2), 30-44.
Center EIC : Economic Intelligence. [Online]. 2015. ธุรกิจบริการผู้สูงอายุ…กับโอกาสของผู้ประกอบการไทย. Available from : https://www.scbeic.com/th/detail/product/556 [2017, November 14]
Cernin, P. A., Keller, B. K., & Stoner, J. A. (2003). Color vision in Alzheimer’s patients: Can we improve object recognition with color cues?, Aging, Neuropsychology and Cognition, 10(4), 255-267.
Daneault, V., Vandewalle, G., Najjar, R. P., Mongrain, V., Dumont, M., Hébert, M., & Carrier, J. (2013). Age-related changes in circadian rhythms during adulthood. The Encyclopedia of Sleep.
Dijkstra, K., Pieterse, M. E., & Pruyn, A. T. H. (2008). Individual differences in reactions towards color in simulated healthcare environments: The role of stimulus screening ability. Journal of Environmental Psychology, 28(3), 268-277.
Dittmar, M. (2001). Changing colour preferences with ageing: A comparative study on younger and older native Germans aged 19–90 years. Gerontology, 47(4), 219-226.
Goodman, C., & Watson, L. (2010). Design guidance for people with dementia and for people with sight loss. Research Findings (35).
Habell, M. (2013). Specialised design for dementia. Perspectives in public health, 133(3), 151-157.
Kelly, F., Innes, A., & Dincarslan, O. (2011). Improving care home design for people with dementia. Journal of Care Services Management, 5(3), 147-155.
Küller, R., Ballal, S., Laike, T., Mikellides, B., & Tonello, G. (2006). The impact of light and colour on psychological mood: a cross-cultural study of indoor work environments. Ergonomics, 49(14), 1496-1507.
Marquardt, G. (2011). Wayfinding for people with dementia: a review of the role of architectural design. HERD:Health Environments Research & Design Journal, 4(2), 75-90.
Russell, J. A., Weiss, A., & Mendelsohn, G. A. (1989). Affect grid: a single-item scale of pleasure and arousal. Journal of personality and social psychology, 57(3), 493.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York, Harper and Row.