การศึกษาคุณสมบัติในการกันเสียงของแผ่นเหล็กมุงหลังคาด้วย วัสดุพอลิเมอร์ชนิดอิลาสโทเมอริกโฟม
Main Article Content
บทคัดย่อ
แผ่นเหล็กมุงหลังคา (Metal Sheet) เป็นวัสดุที่นำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแรง ไม่แตกหัก มีน้ำหนักเบา มีอายุการใช้งานที่ยาวนานเนื่องด้วยมีการเคลือบโลหะผสมระหว่างอลูมิเนียมและสังกะสีทำให้กันสนิมได้ อีกทั้งยังสามารถวางพาดช่วงได้กว้างกว่าวัสดุมุงหลังคาชนิดอื่น แต่เนื่องจากแผ่นเหล็กมุงหลังคาเป็นวัสดุที่ทำจากโลหะจึงทำให้เกิดมลภาวะทางเสียงในขณะที่ฝนตก บทความนี้เสนอการศึกษาวัสดุพอลิเมอร์ชนิดอิลาสโทเมอริกโฟม หรือฉนวนยางดำ เพื่อใช้งานเป็นฉนวนกันเสียงสำหรับแผ่นเหล็กมุงหลังคา
วิธีการศึกษาด้วยการเปรียบเทียบคุณสมบัติในการกันเสียงของฉนวนยางดำหนา 25 มิลลิเมตร กับฉนวนพอลิยูรี-
เทนโฟม (PU foam) หนา 25 มิลลิเมตรและฉนวนพอลิเอททิลีน (PE) หนา 5 มิลลิเมตร โดยมีรูปแบบการติดตั้งที่เหมือนกันคือวางพาดยาวบนกล่องทดสอบขนาด กว้าง 0.70 เมตร ยาว 0.84 เมตร สูง 0.55 เมตร ภายในกล่องบุด้วยฉนวนใยแก้วหนา 6 นิ้วเพื่อลดเสียงสะท้อนภายในกล่อง และดำเนินการทดสอบคุณสมบัติทางเสียงด้วยเครื่องมือ Tapping Machine เคาะบนหลังคา ตามมาตรฐาน ASTM E1007-14
ผลการศึกษาพบว่า ฉนวน PE มีค่าเฉลี่ยความดันเสียง (dBA) 89.7 dB และมีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนกันเสียงที่ดี ในช่วงคลื่นความถี่ของเสียงที่ต่ำ คือ 31.5-80 Hz ฉนวนยางดำ (EM) มีค่าเฉลี่ยความดันเสียง (dBA) 84.35 dB และมีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนกันเสียงที่ดี ในช่วงคลื่นความถี่ของเสียงที่สูง คือ 800-16000 Hz และฉนวนโฟม PU มีค่าเฉลี่ยความดันเสียง (dBA) 97.9 dB และมีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนกันเสียงได้ดีแต่ยังน้อยกว่าการติดตั้งฉนวน PE และฉนวนยางดำ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ฉนวนยางดำมีคุณสมบัติที่ดีในการลดเสียงเมื่อเปรียบเทียบกับฉนวนโฟม PU และฉนวน PE โดยเฉพาะเสียงในย่านความถี่สูงที่เสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน
Article Details
References
pdf?CFID=1851148&CFTOKEN=33512493.
กุลยา โอกาตะ, ทะยานรุ่ง เหลือสินทรัพย์และพิทยา สีสด. เคมีเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2559.
กวี หวังนิเวศน์กุล. วัสดุวิศวกรรมก่อสร้าง. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ซี เอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2552..
บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน). Thermal Insulation for Roof. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), 2559.
บริษัท พี.ยู.โฟม อินซูเลชั่น แอนด์ เทรดดิ้ง จำกัด. “PU Foam ฉนวนป้องกันความร้อน.” สืบค้น 15 มกราคม 2561.
https://www.pufoaminsulation.com/โปรชัวร์งานพ่นพียูโฟม.pdf.
บริษัท เอ.เอ็น.อินซูเลชั่น จำกัด. “ฉนวนยางดำ Aeroflex.” สืบค้น 15 มกราคม 2561. https://www.an-insulation.com/product/ฉนวนยางดำ-aeroflex.
พงศ์พัน วรสุนทโรสถ. วัสดุก่อสร้าง. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2532.
พงษ์ธร แซ่อุย. “ชนิดของยางและการใช้งาน”. สืบค้น 15 มกราคม 2561.https://www.rubbercenter.org/files/technologys.pdf.
วีทิต วรรณเลิศลักษณ์. “ฟิสิกส์รอบตัว ตอน ฉนวนกันเสียง. “ สืบค้น 14 ธันวาคม 2560.https://www.scimath.org/lesson-physics/item/7309-2017-06-14-15-27-55.
สายัณห์ สุยพงษ์พันธ์และวิรัตน์ ปฐมชัยอัมพร. “ฉนวนกันความร้อนประเภทโฟมกับการประหยัดพลังงาน.” สืบค้น 15 มกราคม 2561. https://www.dss.go.th/images/st-article/pep_8_2549_energy-saving-foam.pdf.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. แผ่นเหล็กมุงหลังคา. กรุงเทพฯ: มอก., 2535.
สุภาวดี รัตนมาศ. หลังคาในงานสถาปัตยกรรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ นุยบุ๊คส์, 2543.
อานนท์ คชประเสริฐ. “การศึกษาภาวะประสาทหูเสื่อมการได้ยินในเจ้าหน้าที่บริการภาคพื้นสนามบินกองบิน 46 กองทัพอากาศ.” สืบค้น 19 มิถุนายน 2561. https://www.rcot.org/download/resident_10_21.pdf.
American Society for Testing and Materials (ASTM). Standard Test Method for Field Measurement of
Tapping Machine Impact Sound Transmission through Floor-Ceiling Assemblies and Associated Support Structures: E1007-14. West Conshohocken, PA.: ASTM Internatinal, 2014.
Bronzaft, A, L, and Hangler, L. “Noise: The Invisible Pollutant that Cannot be Ignored.” Emerging Environmental Technologies 2 (2010): 75-96.
Bluyssen, P. M. “Towards New Methods and Ways to Create Healthy and Comfortable Buildings.” Building and Environment 45 (2010): 808–818.
El-Nagar, K.E. and Mahmoud, A.A. “Characterization of the Acoustic Behaviours of Laminated Polyester Fabric Using Different Adhesion Systems.” Australian Journal of Basic and Applied Sciences 5 (2011): 96-101.
Everest, F.A. and Pohlmann, K.C . Master Handbook of Acoustics. New York: McGraw- Hill, 1988.
Farina, A. and Torelli, A. “Measurement of the Sound Absorption Coefficient of Materials with a New Sound Intensity Technique.” Accessed January 15, 2018. https://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/ download;jsessionid=1C3AE51DD85EEABDF5F58CAA55CCC022?doi=10.1.1.621.4587&rep=rep1&type=pdf.
Goelzer, B., Hansen, C.H. and Sehrndt, G.A., editors. Occupational Exposure to Noise: Evaluation, Prevention and Control. Dortmund: WHO, 2001.
Idris, M.F.M., Hamzah, A.I.N. and Ayop, S.M. “Occupants' Responses on Rain Noise Underneath Metal Deck Roof System.” Procedia - Social and Behavioral Sciences 35 (2012): 404-411.
Junjie, L., Shuai, L. and Xiang Y. “Experimental Studies on the Rain Noise of lightweight Roofs: Natural Rains vs Artificial Rains.” Applied Acoustics 106 (2016): 63–76.
Nascimento, R.L.X. and Zindeluk, M. “Measurement of Sound Absorbtion Coefficients of Materials to be Used
in Scale Modeling.” Accessed January 15, 2018. https://www.abcm.org.br/anais/cobem/2007/ pdf/COBEM2007-1469.pdf.
Pedroso, M., Brito, J.D. and Silvestre, J.D. “Characterization of Eco- Efficient Acoustic Insulation Materials (Traditional andIinnovative).” Construction and Building Materials 140 (2017): 221–228.
Seidman, M.D. and Standring, R.T. “Noise and Quality of Life.” Int. J. Environ. Res. Public Health 7(2010): 3730-3738.
Sivertsen, K. “Polymerfoams.” Accessed January 15, 2018. www.ocw.mit.edu/courses/materials- science-and-engineering/3-063-polymer-physics-spring-2007/assignments/polymer_foams.pdf.
Suga, H. and Tachibana, H. “Sound Radiation Characteristics of Lightweight Roof Constructions Excited by Rain.” Journal of Building Acoustic 1, 4 (1994): 249-270.
Swift, M. “Multifunctional Thermal and Acoustical Solution: Insulation Outlock.” Accessed December14, 2017. https://insulation.org/io/articles/multifunctional-thermal-and-acoustical-solutions/.