ประสิทธิภาพการลดการถ่ายเทความร้อนในระบบผนังด้วยฉนวนใยแก้ว

Main Article Content

จิราภา เดชจิระกุล
ธนิต จินดาวณิค

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาค่าการต้านทานความร้อนของผนังภายนอกอาคาร เพื่อวางแนวทางในการปรับปรุงอาคารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและประเมินความคุ้มค่าด้านการลงทุนในฉนวนใยแก้วที่ความหนาแน่นและความหนาที่แตกต่างกัน การศึกษาใช้วิธีการวิเคราะห์ค่าการถ่ายเทความร้อนผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อประเมินประสิทธิภาพพลังงานของอาคาร (Building Energy Code Software, BEC) ผลการศึกษาพบว่า การใช้ฉนวนใยแก้วที่ผนัง สำหรับกรณีที่อาคารมีการออกแบบอัตราส่วนพื้นที่ของผนังโปร่งแสงต่อพื้นที่ผนังทั้งหมดเท่ากับหรือมากกว่า 30% ของอาคารที่มีการใช้งาน 9 และ 12 ชั่วโมงต่อวัน และ 35% ของอาคารที่มีการใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง จะไม่ส่งผลให้ค่าการถ่ายเทความร้อนของผนังอาคารผ่านเกณฑ์ที่กระทรวงพลังงานกำหนด เมื่อทำการวิเคราะห์ความคุ้มค่าด้านการเงินของการติดตั้งฉนวนที่ผนัง พบว่าฉนวนใยแก้วความหนาแน่น 16 kg/m³ ความหนา 25 mm มีความคุ้มค่ามากที่สุดในทุกอัตราส่วนพื้นที่ของผนังโปร่งแสงต่อพื้นที่ผนังทึบ ยกเว้นในกรณีอาคารที่มีการใช้งาน 9 ชั่วโมงต่อวัน ที่มีอัตราส่วนพื้นที่ของผนังโปร่งแสงต่อพื้นที่ผนังทั้งหมดเท่ากับ 25% ฉนวนใยแก้วความหนาแน่น 16 kg/m³ ความหนา 50 mm จะมีความคุ้มค่ามากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงพลังงาน. “แนวทางเบื้องต้นในการออกแบบการอนุรักษ์พลังงานประสิทธิภาพสูงเชิงสถาปัตยกรรม.” สืบค้น 12 กันยายน 2561. https://www.enconfund.go.th/pdf/Architectural-Guidebook.pdf.

กระทรวงพลังงาน. “แผนปฏิบัติการพัฒนาพลังงานทดแทดและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579.” สืบค้น 10 กันยายน

https://www.dede.go.th/download/files/AEDP%20Action%20Plan_Final.pdf.

คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน. “การอนุรักษ์พลังงานโดยใช้ข้อบัญญัติเกณฑ์มาตรฐานอาคาร

ด้านพลังงาน.” สืบค้น 12 กันยายน 2561. https://www.2e-building.com/list.php?cat=download.

ตระการ ก้าวกสิกรรม. คู่มือฉนวนความร้อน. กรุงเทพมหานคร: หจก.นำอักษรการพิมพ์, 2537.

ธนิต จินดาวณิค. การอนุรักษ์พลังงานในการออกแบบสถาปัตยกรรม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม.ป.ป.

พรรณจิรา ทิศาวิภาต ศรีสุธาพรรณและอวิรุทธ์ ศรีสุธาพรรณ. เทคนิคการออกแบบเปลือกอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556.

ศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน. คู่มือแนวทางการออกแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานปี 2560.

กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน, 2560.

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย. โครงการปรับปรุงข้อกำหนดการใช้พลังงานในอาคารควบคุม. กรุงเทพมหานคร: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2547.

อภิชญา อธิคมบัณฑิตกุล. “การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพวัสดุหลังคาที่มีสัมประสิทธิ์การแผ่รังสีต่ำและฉนวนกันความร้อนทั่วไป.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.

อรรจน์ เศรษฐบุตร. ค่าดัชนีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหัวของผู้ใช้อาคารในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร:

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.

Surapong Chirarattananon and Juntakan Taveekun. “An OTTV-Based Energy Estimation Model for

Commercial Buildings in Thailand: Energy and Buildings.” Accessed April 17, 2019.

https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0378778804000210.