การออกแบบภูมิทัศน์พื้นที่ส่วนกลางที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อโครงการบ้านเดี่ยวในเขตกรุงเทพฯ: กรณีศึกษา โครงการเพอร์เฟค เพลส

Main Article Content

กชมน แก้วพรหม
ฉมาวงศ์ สุริยจันทร์
นิลุบล คล่องเวสสะ

บทคัดย่อ

          ปัจจุบันผู้ประกอบการ ให้ความสำคัญกับการออกแบบภูมิทัศน์พื้นที่ส่วนกลางมากขึ้นเพราะเป็นส่วนหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการขายและการตัดสินใจซื้อโครงการบ้านเดี่ยวในเขตกรุงเทพฯ เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี น่าสนใจต่อการอยู่อาศัย ตรงความต้องการของผู้ตัดสินใจซื้อบ้าน และเป็นแนวทางสำหรับการวางแผนพัฒนาการออกแบบภูมิทัศน์พื้นที่ส่วนกลางให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด ขอบเขตการวิจัยคือโครงการเพอร์เฟค เพลส เนื่องจากเป็นโครงการบ้านเดี่ยวระดับราคา 5 - 10 ล้านบาท ที่มีหลายโครงการกระจายตัวทั่วไปในกรุงเทพฯ และมีจำนวนผู้ซื้อมากพอที่จะได้ผลสำรวจที่เชื่อถือได้ โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุลักษณะความต้องการส่วนบุคคลที่สัมพันธ์ต่อการออกแบบภูมิทัศน์ พื้นที่ส่วนกลางโครงการบ้านเดี่ยวระดับราคา 5 - 10 ล้านบาท ตลอดจนเพื่อเสนอแนะข้อพิจารณาการออกแบบภูมิทัศน์พื้นที่ส่วนกลางโครงการบ้านเดี่ยวระดับราคา 5 - 10 ล้านบาท
           การวิจัยเริ่มต้นด้วยการทบทวนวรรณกรรมและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ซึ่งมีตำแหน่งภูมิสถาปนิก สถาปนิกหรือผู้ออกแบบ ฝ่ายวางแผนโครงการและการตลาด และสำรวจความต้องการส่วนบุคคลโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ที่ซื้อและกำลังจะซื้อโครงการ ผลจากแบบสัมภาษณ์พบว่าองค์ประกอบหลักของพื้นที่ส่วนกลางได้แก่ ทางเข้าโครงการ สวนส่วนกลาง สโมสร ถนนและทางเท้า ผลจากแบบสอบถามพบว่า ความปลอดภัยของพื้นที่ทางเข้าโครงการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเป็นลำดับแรก โดยที่สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนทั่วไป คนพิการ และผู้สูงอายุ บริเวณสโมสรมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเป็นลำดับสุดท้าย ข้อพิจารณาในการออกแบบทางเข้าโครงการ สวนส่วนกลาง สโมสร ถนนและทางเท้า ควรพัฒนาให้เป็นไปตามพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้ซื้อ โดยพบว่าผู้ซื้อให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตในโครงการพักอาศัยในด้านความปลอดภัยและความสะดวกในชีวิตประจำวันมากกว่าเรื่องขนาดและตำแหน่งของภูมิทัศน์พื้นที่ส่วนกลาง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

“ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนพิเศษ 21 ง หน้า 13. (2550, 23 กุมภาพันธ์).

จรัสพิมพ์ บุญญานันต์. “การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมชุมชนที่น่าอยู่อาศัยและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในชุมชน: เอกสารการสอนวิชาการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม 2 (E-Learning) มหาวิทยาลัยแม่โจ้.” สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2562. http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning47/section2/la332/index2.htm.

ณภัทร ณ ลำพูน. “ข้อพิจารณาเพื่อการออกแบบสวนสาธารณะของหมู่บ้านจัดสรรขนาดกลาง ระดับ ราคาปานกลาง ในกรุงเทพมหานคร เขตต่อเมือง(ด้านตะวันออก).” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.

เดชา บุญค้ำและฆณฑชัย โรจนะสมิต. สวนสาธารณะหมู่บ้านจัดสรรในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.

ธงชัย โรจนกนันท์. สถาปัตยกรรมผังเมืองการวิเคราะห์รูปทรงและโครงสร้างของเมือง. กรุงเทพมหานคร: บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง, 2559.

ธนทัต ตรีคุณประภา. “กระบวนการการกำหนดแนวคิดและออกแบบพื้นที่นันทนาการเพื่อเป็นจุดขายในโครงการหมู่บ้านจัดสรร.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557.

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด(มหาชน). “รายงานการขายประจำไตรมาส บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด(มหาชน).” สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2562. https://www.pf.co.th/th/home.

พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓. การบํารุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ มาตรา 14. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2543.

มานพ พงศทัต. PRE-TEST/แนวคิดพื้นฐานการพัฒนาอสังหาริมทรพย์/Thailand Future Trends 4.0 โครงการอบรมทางวิชาการ กลยุทธ์การบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ยุค TRUMP-2 รุ่นที่ 58. กรุงเทพฯ: สมาคมผู้บริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560.

วรินทร์ กุลินทรประเสริฐและกองกูณฑ์ โตชัยวัฒน์. ปัจจัยการออกแบบพื้นที่ส่วนกลางที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อหมู่บ้านจัดสรร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจําปี 2559 (RSU National Research Conference 2016), มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี, 29 เมษายน 2559.

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์. “สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 2 ปี 2562 และครึ่งแรก ปี 2562.” สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2562. https://www.ghbank.co.th.

สมบัติ กาญจนกิจ. นันทนาการและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.

สมาคมภูมิสถาปนิกแห่งประเทศไทย. “มาตรฐานในการประกอบวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรม งานออกแบบ (มาตรฐานออกแบบ 53.08.19).” สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2562. http://www.tala.or.th/user-files/20160629094734.pdf.

เสริชย์ โชติพานิชและวัลยา พัฒนพีระเดช. การจัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. “จำนวนการเกิด การตาย การย้ายเข้า และการย้ายออกทะเบียนบ้าน จำแนกตามเพศ ภาค และจังหวัด ปี พ.ศ. 2553-2562.” สืบค้น 15 มิถุนายน 2563. http://www.statbbi.nso.go.th.

สำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์. “หลักเกณฑ์การจัดทำแผนผัง โครงการ และวิธีในการจัดสรรที่ดิน.” สืบค้น 15 มิถุนายน 2563. https://www.dol.go.th/estate/Pages/default.aspx.

ไอริณ ภานุวัฒน์วนิชย์. “คุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยที่เกิดจากพื้นที่สีเขียวภายในโครงการหมู่บ้านจัดสรรระดับราคาปานกลางกรณีศึกษาโครงการเพอร์เฟคเพลสรัตนาธิเบศร์และโครงการเพอร์เฟคเพลสราชพฤกษ์.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.

Arens, W .F. Contemporary Advertising. 9th ed. New York, NY.: McGraw-Hill, 2004.

Belch G. E., M. A., Belch Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective. 7th ed. Boston, MA.: McGraw-Hill Irwin, 2007.

Kotler and Keller. Marketing Management. 14th ed. Upper Saddle River, NJ.: Pearson Education Limited, 2012.

Whittick, Arnold. Encyclopedia of Urban Planning. New York: McGraw‐Hill Book Company, 1974.

Yamane, Taro. Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row, 1967.