แนวทางการออกแบบภูมิทัศน์อาคารสำหรับพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน ทางราง: กรณีศึกษา ย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง, กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ภัทร สุขสิงห์

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้ มุ่งเน้นศึกษาหลักการสากลรวมถึงกรณีศึกษาในต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์อาคารสำหรับพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนทางราง ที่ส่งเสริมการมองเห็นและเข้าถึงให้เหมาะสมต่อการรักษานัยยะความเป็นสถานที่ที่สะท้อน 1) การเป็นพื้นที่สาธารณะที่อเนกประโยชน์ และ 2) การเป็นพื้นที่ที่เอื้อต่อการรับรู้เชิงทัศน์ต่อภูมิทัศน์อาคารในประเด็นเรื่องความปลอดภัยและอัตลักษณ์ของพื้นที่เป็นหลัก อันสามารถรักษา “ความเป็นสถานที่ของเมือง”
ให้สมดุลกับ “ความเป็นจุดเชื่อมต่อเครือข่ายระบบสัญจร” ของพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนทางราง ซึ่งเป็นคุณสมบัติของพื้นที่รอบสถานีที่ดี โดยเลือกพื้นที่ย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ศึกษาและใช้เครื่องมือการศึกษาสัณฐานวิทยาเมือง ที่สามารถแสดงผลบนแผนที่จริงตามระดับความเข้มอ่อนของสี เพื่อการวัดผลเชิงประจักษ์
จากการศึกษาพบว่าปัญหาสำคัญ คือข้อกฎหมายที่ยังขาดการคำนึงถึงความแตกต่าง เฉพาะตัวในบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนทางราง ที่มีตัวแปรทางกายภาพที่ชัดเจนและมีผลกระทบโดยตรง คือ โครงสร้างยกระดับ ดังนั้น ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างยกระดับดังกล่าวได้ แต่หากสามารถเพิ่มเติมข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องผ่านการมีแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์อาคารสำหรับพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนทางราง
โดยผู้วิจัยได้สรุปแนวทางการออกแบบเพื่อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ระยะ สัดส่วน: กำหนดสัดส่วนความสูงฐานอาคารต่อระยะแนวราบให้สอดคล้องกับมุมมองของผู้คนในทุกระดับชั้น รวมทั้งโครงสร้างสถานี รางและทางสัญจรยกระดับ 2) การใช้ประโยชน์พื้นที่: กำหนดให้ความเป็นสาธารณะสามารถแทรกซึมเข้าไปในพื้นที่และอาคารโดยรอบ 3) รูปแบบและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม: กำหนดให้ทุกฐานอาคารต้องให้ความสำคัญกับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมบนรูปด้านหน้าอาคารที่แสดงถึงความปลอดภัยและอัตลักษณ์ของพื้นที่เป็นหลัก รวมทั้งเพิ่มเติมการกำหนดรูปแบบของส่วนเชื่อมต่อให้มีลักษณะที่โปร่ง ไม่ทึบตัน อีกทั้งกำหนดให้บริเวณอาคารและแนวรั้วที่ตั้งอยู่หัวมุมถนน ต้องปาดมุมให้มีขนาดที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการเป็นจุดเชื่อมต่อมุมมองและและการเข้าถึงจากพื้นที่รอบสถานีสู่พื้นที่ที่ลึกเข้าไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ. (2562). ฐานอาคารในเมืองราง การปรับภูมิทัศน์เมืองในย่านศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานคร. หน้าจั่ว, 16(2), 176-197.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. ศูนย์บริการวิชาการ. (2553). โครงการจัดทำมาตรฐานด้านผังเมืองของ กรุงเทพมหานคร: ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชานน กิติโสภากุล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าที่ทำให้เกิดการพัฒนาเต็มศักยภาพ ตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ณัฐพล เกรียงประภากิต. (2563). กรณีศึกษาธุรกิจรถไฟฟ้าในประเทศไทย: อุปสรรคในอดีตและความท้าทายในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แทนศร พรปัญญาภัทร. (2555). การเชื่อมโยงมุมมองทางสายตาในการออกแบบภูมิทัศน์เมืองชายทะเล: กรณีศึกษา เมืองพัทยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ปราณระฟ้า พรหมประวัติ. (2550). สนามทัศน์และรูปแบบการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะของชุมชนเมือง: กรณีศึกษา ชุมชนย่านเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย. (2561). ข้อแนะนำการออกแบบบาทวิถีและสิ่งแวดล้อมเพื่อทุกคน Design Recommendation on Pathways and Environments for All. กรุงเทพมหานคร: สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย.

สาโรจน์ เจียรักสุวรรณ. (2549). ความคิดเห็นของข้าราชการสังกัดสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับระดับความรุนแรงของปัญหามลพิษทางทัศนียภาพที่เกิดจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส: กรณีศึกษาสถานีสยาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

อภิรดี เกษมศุข. (2561). สเปซซินแท็กซ์: หนึ่งในการศึกษาสัณฐานวิทยา. กรุงเทพมหานคร: เมจิค พับบลิเคชั่น.

Benedikt, M. L. (1979, January). To take hold of space: Isovists and isovist fields. Environment and Planning B Planning and Design, 6(1), 47-65.

Bertolini, L. & Spit, T. (1998). Cities on rails: The redevelopment of railway station areas. London: E & F Spon.

Cullen, G. (1961). The concise townscape. London: The Architectural Press.

Gehl J. (2010). Cities for people. Copenhagen: Island Press.

Jacobs J. (1961). The death and life of Great American cities. London: Penguin Books.

Space Syntax Laboratory. (2002). “Tate Britain”, report on the spatial accessibility study of the proposed layouts. London: Space Syntax Limited.

Turner, A. & Penn, A. (1999). Making isovists syntactic: Isovist integration analysis. In Proceeding: The Second International Symposium on Space Syntax. Paper presented at University of Brasilia, Brazil, April 1999.