ผลกระทบของจำนวนด้านเปิดของอาคารต่อคุณภาพอากาศในพื้นที่กึ่งเปิดโล่ง ของศูนย์การค้าชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
คุณภาพอากาศ เป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพและรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คน ทั้งปัญหาฝุ่นละอองหรือการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ผู้คนเลือกที่จะหลีกเลี่ยงความแออัด เช่น สถานที่แออัดแบบศูนย์การค้าแบบปิดขนาดใหญ่ แล้วหันมาใช้บริการศูนย์การค้าชุมชนมากขึ้น ด้วยลักษณะทางกายภาพของอาคารแบบกึ่งเปิดโล่ง ซึ่งผู้คนโดยทั่วไปจะรับรู้ได้ว่าความโปร่งของอาคารช่วยลดความแออัดได้ อีกทั้งเกิดสภาวะน่าสบายในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ยังคงไม่มีการศึกษาศูนย์การค้าชุมชนกับความสบายในด้านอื่น โดยเฉพาะในด้านคุณภาพอากาศ งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาจำนวนด้านเปิดของศูนย์การค้าชุมชนกับทิศทางลมประจำ 3 ทิศทาง ที่สัมพันธ์กับคุณภาพอากาศ และชี้วัดด้วยมลพิษในอากาศ ผ่านการจำลองอาคาร กรณีศึกษาที่เป็นศูนย์การค้าชุมชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้วยโปรแกรมคำนวณพลศาสตร์ของไหล (Computational Fluid Dynamics; CFD) โดยแบ่งอาคารกรณีศึกษาเป็นกลุ่มตามจำนวนด้านเปิดของอาคารที่เปิดให้อากาศไหลผ่านได้
จากการจำลองอาคารด้วยโปรแกรมคำนวณพลศาสตร์ของไหลพบว่า อาคารที่มีด้านเปิดให้อากาศไหลผ่าน 4 ด้าน จะมีความเข้มข้นของมลพิษภายในลานกึ่งเปิดโล่งที่ต่ำที่สุด มีค่าความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นภายในต่อภายนอกเฉลี่ยอยู่ที่ 0.55 และมีอัตราการเปลี่ยนอากาศต่อชั่วโมงที่ 123.75 ACH หมายถึงการมีระดับของคุณภาพอากาศที่ดีกว่ารูปแบบอื่น ซึ่งมีอัตราส่วนความเข้มข้นเฉลี่ยใกล้เคียงหรือสูงกว่า 1 และยังพบปัจจัยเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการไหลของอากาศ คือทิศทางการวางอาคารที่สัมพันธ์กับทิศทางลม และอาคารโดยรอบ ก็ส่งผลต่อการไหลของอากาศและคุณภาพอากาศเช่นเดียวกัน ผลการวิจัยนี้นำไปสู่แนวทางการออกแบบอาคารศูนย์การค้าชุมชนเบื้องต้น หรืออาคารที่มีกายภาพกึ่งเปิดโล่งที่คล้ายคลึงกัน
Article Details
References
ณัฐพร ชีวาเกียรติยิ่งยง. (2557). รูปแบบและการบริหารลานกิจกรรมของโครงการคอมมูนิตี้มอลล์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทรัพย์มณี ชัยแสนสุข. (2548). การลดปริมาณมลพิษทางอากาศด้วยการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติสำหรับอาคารจอดรถชั้นใต้ดิน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุษกร ภู่แส. (2564). อานิสงส์‘พิษโควิด-ภาษีที่ดิน’ ดันคอมมูนิตี้มอลล์บูมรอบ 6 ปี. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/932230
ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป พ.ศ. 2553. (2553, 24 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนพิเศษ 37 ง หน้า 61.
วิทวัส รุ่งเรืองผล (2559). จัดผังคอมมูนิตี้มอลล์อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ. https://marketeer.co.th/2016/05/the-urban-land-institute/
สุพจน์ เตชะอำนวยวิทย์. (2551). การตรวจวัดคุณภาพอากาศในอาคาร. https://www.acat.or.th/download/acat_or_th/journal-14/14%20-%2009.pdf
สุรเชษฐ กองชีพ. (2562). ตลาดพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบ ณ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2562. https://www.phoenixproperty.co.th/blogs/research/86
ANSI/ASHRAE Standard 62.1-2010.(2010). Ventilation for acceptable indoor air quality. http://arco- hvac.ir/wp-content/uploads/2016/04/ASHRAE-62_1-2010.pdf
Atthakorn, S. (2019, April 26). Airflow patterns of semi-open shopping malls in Bangkok. Paper presented at RSU International Research Conference 2019, Rangsit University, Pathum Thani, Thailand.
Chakrabarty, R. K., Beeler, P., Liu, P., Goswami, S., Harvey, R. D., Pervez, S., van Donkelaar, A., & Martin, R. V. (2021). Ambient PM2.5 exposure and rapid spread of COVID-19 in the United States. Science of The Total Environment, (760), 1-7.
Chen, C., & Zhao, B. (2011). Review of relationship between indoor and outdoor particles: I/O ratio, infiltration factor and penetration factor. Atmospheric Environment, 45(2), 275-288.
Kaewrat, J., Janta, R., Sichum, S., & Kanabkaew, T. (2021). Indoor air quality and human health risk assessment in the open-air classroom. Sustainability, 13(15), 1-13.
Peng, Z., & Jimenez, J. (2020). Exhaled CO2 as COVID-19 infection risk proxy for different indoor environments and activities. Environmental, Science & Technology Letters, 8(5), 392-397.
Tantasavasdi, C., & Inprom, N. (2020). Impact of design features on natural ventilation of open-air malls in Thailand. International Journal of Low-Carbon Technologies, 16(2), 488-501.
Thai Meteorological Department. (2020). Climate data. http://www.aws-observation.tmd.go.th/web/climate /climate_past.asp
Thomas, B., Alahmad, B., Maesano, C., & Bind, M. A. (2021). The impact of outdoor air pollution on COVID-19: A review of evidence from in vitro, animal, and human studies. European Respiratory Review, 30(159), 1-18.