แนวทางการเลือกวัสดุก่อสร้างในองค์ประกอบของอาคารเพื่อลดผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคารสำนักงานในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในปัจจุบัน สาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจกในภาคอาคารนอกจากการใช้พลังงานระหว่างช่วงใช้สอยแล้ว การผลิตวัสดุก่อสร้างยังถือเป็นอีกส่วนหนึ่งในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน ด้วยเหตุนี้การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงตั้งแต่ช่วงการออกแบบอาคาร เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด
งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในองค์ประกอบของอาคารสำนักงานในประเทศไทยจำนวน 2 แห่ง ซึ่งมีขนาดไม่เกิน 10,000 ตารางเมตร แต่มีความแตกต่างของวัสดุอาคาร ด้วยการประเมินวัฏจักรชีวิตเพื่อวิเคราะห์และหาแนวทางที่ช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม กระบวนการวิจัยเริ่มต้นจากรวบรวมข้อมูลบัญชีรายการวัสดุจากแบบจำลองสารสนเทศและแบบก่อสร้าง ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้วยโปรแกรม One Click LCA และตรวจสอบการใช้พลังงานด้วยโปรแกรม EnergyPlus จากการศึกษาพบว่า ระบบพื้นเป็นองค์ประกอบที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด ตามด้วยระบบเสาเข็มและระบบผนังภายนอก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเสนอแนวทางลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1) การใช้ระบบพื้นไร้คานท้องเรียบแบบกลวง (bubble deck slab) แทนระบบพื้นอัดแรง 2) การใช้ซีเมนต์ที่มีส่วนผสมเถ้าลอยเพิ่มขึ้นเป็น 30% 3) การใช้ผนังคอนกรีตมวลเบา และ 4) การใช้ผนังไฟเบอร์ซีเมนต์แทนผนังเดิม (กรณีศึกษาที่ 1 เปลี่ยนจากระบบผนังคอนกรีตสำเร็จรูป และ อาคารกรณีศึกษาที่ 2 เปลี่ยนจากผนังก่ออิฐฉาบปูนและผนังเหล็กชุบสังกะสี) ซึ่งแต่ละแนวทางต่างลดการใช้พลังงานและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากแบบอาคารอ้างอิงได้อย่างตรงเป้าหมายตามเกณฑ์ LEED BD+C V4.1
Article Details
References
กันตพงศ์ ศรีเมือง, อรรจน์ เศรษฐบุตร, และสริน พินิจ. (2565). การประเมินผลมาตรการประหยัดพลังงานและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมพักอาศัย ด้วยการประเมินต้นทุนส่วนเพิ่มสุทธิของการลดการปล่อยคาร์บอน. สาระศาสตร์, 5(3), 509-522.
ชนิกานต์ ยิ้มประยูร, รัตนาวรรณ มั่งคั่ง, ภัทรนันท์ ทักขนนท์, และสิงห์ อินทรชูโต. (2564). เกณฑ์ประเมินและให้ฉลากแบบบ้านประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยอิงการจำลองพลังงานและการประเมินวัฏจักรชีวิต. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, 19(1), 179-200. https://doi.org/10.56261/jars.v19i1.243880
ภาคภูมิ วานิช. (2561, 28 เมษายน). ระบบพื้นไร้คานท้องเรียบแบบกลวง. SNP-POST. https://snp-precast.snp post.com/knowledge-read/14
อรรจน์ เศรษฐบุตร. (2555). ดัชนีปลดปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไชค์ของอาคารในประเทศไทย. วารสารสถาปัตยกรรม, 61, 147-162.
American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers. (2016). ASHRAE standard 90.1-2016: Energy standard for buildings except low-rise residential buildings. ASHRAE.
Babalu, R., Anil, A., Sudarshan, K., & Amol, P. (2023). Compressive strength, flexural strength, and durability of high-volume fly ash concrete. Innovative Infrastructure Solutions, 8, 154. https://doi.org/10.1007/s41062-023-01120-x
Ecoinvent. (n.d.). ecoinvent database. https://ecoinvent.org/database/
EnergyPlus. (n.d.). EnergyPlus. https://energyplus.net/
European Committee for Standardization. (2012). CEN EN 15978:2011 Sustainability of construction works - Assessment of environmental performance of buildings - Calculation method. https://standards.iteh.ai/catalog/standards/cen/62c22cef-5666-4719-91f9-c21cb6aa0ab3/en-15978-2011
Fouad, F., Ramadan, W., Schoch, T., & Kirby, J. (2023). Environmental performance of autoclaved aerated concrete in the USA. ICAAC 2023: 7th International Conference on Autoclaved Aerated Concrete, 6(2), 5-14. https://doi.org/10.1002/cepa.2223
Gibbon, O., Orr, J., Archer-Jones, C., Arnold, W., & Green, D. (2022). How to calculate embodied carbon (2nd ed.). The Institution of Structural Engineers. https://www.egbc.ca/getmedia/a7603519-43cc-4795-8558-6960b2b7b5d1/HTCEC-2nd-edition.pdf.aspx
Hammond, G. P., & Jones, C. I. (2008). Embodied energy and carbon in construction materials. Proceedings of the Institution of Civil Engineers – Energy, 161(2), 87-98. https://doi.org/10.1680/ener.2008.161.2.87
International Organization for Standardization. (2006). ISO 14040: 2006(en) Environmental management Life cycle assessment principles and framework. https://www.iso.org/standard/37456.html
Kofoworola, O., & Gheewala, S. (2008). Environmental life cycle assessment of a commercial office building in Thailand. International Journal of Life Cycle Assessment, 13, 498-511. https://doi.org/10.1007/s11367-008-0012-1
Lawrie, L., & Crawley, D. (2022). Development of global typical meteorological years (TMYx). http://climate.onebuilding.org
Layton, M. (2023, December 26). How long does fiber cement siding last? Today’s Homeowner. https://todayshomeowner.com/siding/guides/how-long-does-fiber-cement-siding-last/
Oukaili, N., & Merie, H. (2019). Sustainability analysis and shear capacity of bubble deck slabs with openings. In Proceedings in 2018 11th International Conference on Developments in eSystems Engineering (DeSE) (pp. 250-255). IEEE. https://doi.org/10.1109/DeSE.2018.00051
Overbey, D. (2021, January 29). LCA stages matter when tracking embodied carbon. Building Enclosure Online. https://www.buildingenclosureonline.com/blogs/14-the-be-blog/post/89547-lca-stages-matter-when-tracking-embodied-carbon
Sphera. (n.d.). Product sustainability gabi data search. https://sphera.com/product-sustainability-gabi-data-search/
Thomas, M. D. A. (2007). Optimizing the use of fly ash in concrete (Vol. 5420). Portland Cement Association.
United Nations Environment Programme. (2022). 2022 Global status report for buildings and construction: Towards a zero-emission, efficient and resilient buildings, and construction sector. https://www.unep.org/resources/publication/2022-global-status-report-buildings-and-construction
U.S. Green Building Council. (2019). LEED v4.1. https://www.usgbc.org/leed/v41
World Health Organization [WHO]. (2023, October 12). Climate change. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/climate-change-and-health
Zijlstra, S. (n.d.). Impact assessment categories: CML, TRACI, and PEF. One Click LCA. https://oneclicklca. zendesk.com/hc/en-us/articles/360015036980-Impact-Assessment-Categories-CML-TRACI-and-PEF