การศึกษาความพึงพอใจในการใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในชั้นเรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ฺBundit Anuyahong

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตรการสอน ด้านกระบวนการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านครูผู้สอน ด้านการประเมินผล และด้านปัจจัยเกื้อหนุน 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจชั้นเรียนภาษาอังกฤษที่เรียนด้วยวิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จำแนกตามตัวแปรต่างๆ เช่น เพศ อายุชั้นปีที่ศึกษาและสาขาวิชาที่ศึกษา และ 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะและความคิดเห็นจากนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ปีการศึกษา 2554 จำนวน 532 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)การทดสอบที(t-test)การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one way ANOVA) หรือ F-test และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. ความพึงพอใจเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษที่เรียนด้วยวิธีการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าความพึงพอใจด้านหลักสูตรการสอน ด้านกระบวนการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านครูผู้สอน และด้านการประเมินผล มีการใช้วิธีการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในระดับมาก ส่วนด้านปัจจัยเกื้อหนุน นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับปานกลาง
2.นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นที่เป็นชายและหญิงมีความความพึงพอใจชั้นเรียนภาษาอังกฤษที่เรียนด้วยวิธีการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยรวมมีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านไม่มีความแตกต่างกัน
3. นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นที่มีอายุต่างกัน มีความความพึงพอใจชั้นเรียนภาษาอังกฤษที่เรียนด้วยวิธีการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยรวมมีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านปัจจัยเกื้อหนุนนักศึกษาที่มีอายุ 18 ปี มีความพึงพอใจแตกต่างกับนักศึกษาที่มีอายุ 22 ปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
4. นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นที่มีชั้นปีที่ศึกษาต่างกันมีความความพึงพอใจชั้นเรียนภาษาอังกฤษที่เรียนด้วยวิธีการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยรวมมีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านปัจจัยเกื้อหนุนนักศึกษาที่อยู่ชั้นปีที่1 มีความพึงพอใจแตกต่างกับนักศึกษาชั้นปีที่4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
5. นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นที่เข้าศึกษาในวิชาเอกที่ต่างกันมีความความพึงพอใจชั้นเรียนภาษาอังกฤษที่เรียนด้วยวิธีการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยรวมมีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านปัจจัยเกื้อหนุนนักศึกษาที่เรียนสาขาวิชาเอกต่างกันมีความพึงพอใจต่างกัน 2 คู่ ได้แก่ คู่ที่1 สาขาบริหารธุรกิจญี่ปุ่นกับสาขาวิศวกรรมการผลิต และคู่ที่2 สาขาบริหารธุรกิจญี่ปุ่นกับสาขาการจัดการอุตสาหกรรม
6. นักศึกษากลุ่มตัวอย่างให้ข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้ ด้านหลักสูตรการสอน ควรจัดทำหลักสูตรตามความต้องการของผู้เรียน ด้านกระบวนการเรียนการสอน ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย และเหมาะสมกับทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้านสื่อการเรียนการสอนควรใช้สื่อที่ทันสมัยและเป็นนวัตกรรมช่วยสอน ด้านการประเมิน ควรสอนวิธีการทำข้อสอบเพื่อให้ผู้เรียนมีความคุ้นเคยกับแนวข้อสอบและด้านปัจจัยเกื้อหนุน ควรจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น ระบบอินเตอร์เนตไร้สาย และอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัยทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน

Article Details

How to Cite
Anuyahong ฺ. (2018). การศึกษาความพึงพอใจในการใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในชั้นเรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพมหานคร. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), 86–100. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/spurhs/article/view/117010
บท
บทความวิจัย

References

Fortier, L. and J.A. Gagne. (1988). Larval herring dispersion and survival in the St. Lawrence Estuary: an evaluation of the match/mismatch and member/vagrant hypotheses. p.1-16.

Huba, M., & Freed, J. (2002). Learner-centred assessment on college campuses. Boston: Allyn & Bacon.

Knowles, M.S. (1970). The Modern Practice of Adult Education. Andragogy versus Pedagogy. New York: Association Press.

Krashen, Stephen D. (1987). "Theoretical Research and Second Language Acquisition Theory." In Methodology in TESOL: A Book of Readings 8 – 15. New York : Newbury House Publishers.

McCombs, B. L. (2000, July). Learner-Centred Psychological Principles: A Framework for Technology Evaluation. Invited paper presented at the U.S. Department of Education's Regional Conferences on "Evaluating Technology in Education," Atlanta.

Ministry of Education. The National Center for Learning Reform (2003). Learning Reform, Learner-centred Approach. Bangkok: Prikwan Publishing.
Nunan, D. (1988) The Learner-Centred Curriculum.

New York: Bell & Bain Lrd, Glasgow.Office of the National Education Commission (1999).National Education Act B.E. 2542, Office of the Prime Minister, Kingdom of Thailand.

Prachonpachanuk, Penkhae (2009). The application of learner centred concept and technique in teaching language to the business and technique students. Research Report. Bangkok: Thai-Nichi Institute of Technology.

Sharp, V. (2006). Computer education for teachers: Integrating technology into classroom Teaching (5th ed.). New York: McGraw-Hill.Thai-Nichi Institute of Technology (2011). TNI student handbook, Bangkok.

Wolman, B.B. (1973). Dictionary of behavioral science. New York:Van Nostrand Reinhold.

Falk, B. (1993). The Learner at the Center of Curriculum: a Case Study of the Process of Developing a Learner-Centred Curriculum at the Bronx New School (New York school) [Abstract]. Dissertation Abstracts International.

Meece, J. L. (2003, July). Applying learner-centred principles to middle school education. Theory into Practice 42 (2) : 109-116.

Nittaya Yonwichai. (2002). The Development of Child-Centred Instruction Activities Based on Cooperative Learning for Teaching Decimals to Prathomsuksa V Students. Master thesis, M.Ed. (Elementary Education) Khon Kaen: Graduate school, Khon Kaen University.