จริยธรรมการตีพิมพ์บทความ

จริยธรรมในการตีพิมพ์

วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย ตระหนักและมุ่งมั่นต่อการรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์อย่างสูงสุด จึงให้ความสำคัญกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์อย่างเคร่งครัด

 

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย

  1. พิจารณาและตรวจสอบบทความที่ส่งเข้ามาเพื่อขอรับพิจารณาตีพิมพ์กับวารสารทุกบทความ โดยพิจารณาความสอดคล้องของเนื้อหาบทความกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร
  2. ตรวจสอบคุณภาพของบทความที่ส่งเข้ามาก่อนเสนอผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินบทความและก่อนการตีพิมพ์เผยแพร่
  3. ใช้เหตุผลทางวิชาการในการพิจารณาบทความทุกครั้งโดยปราศจากอคติที่มีต่อบทความและผู้นิพนธ์ทั้งด้านเชื้อชาติ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง และสังกัดของผู้นิพนธ์
  4. ปฏิบัติตามกระบวนการ ขั้นตอน และระเบียบต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่การพิจารณาคุณภาพบทความเบื้องต้น การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความตามความเชี่ยวชาญ การเสนอบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา การแจ้งผลพิจารณาบทความ การจัดสรรบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ และการตรวจสอบคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์
  5. ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์หรือผู้ทรงคุณวุฒิ และไม่นำบทความหรือวารสารไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจหรือนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
  6. ไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบทความและผลประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงไม่ปิดกั้นข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้นิพนธ์
  7. กำกับ ดูแล และรักษามาตรฐานของวารสาร รวมถึงพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและมีความทันสมัย

 

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์หรือผู้เขียนบทความ

  1. เป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาเผยแพร่ในวารสารฉบับอื่น
  2. นำเสนอข้อมูลที่เป็นผลจากการศึกษาวิจัย ผู้นิพนธ์ต้องไม่นำเสนอข้อมูลที่บิดเบือน ปลอมแปลง หรือนาเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จ และต้องรับผิดชอบต่อข้อคิดเห็นที่นำเสนอในเนื้อหาบทความ
  3. เป็นบทความที่ไม่มีการคัดลอกผลงานผู้อื่น และต้องมีการอ้างอิงทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาอ้างอิงในเนื้อหาบทความของตนเอง ตามรูปแบบการอ้างอิงที่วารสารกำหนดไว้
  4. ผู้นิพนธ์ยินดีและพึงกระทาตามขั้นตอน ระเบียบ และข้อกำหนดที่วารสารกาหนด เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของเนื้อหาบทความที่ได้นามาตีพิมพ์เผยแพร่

 

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ

  1. พิจารณาบทความโดยคำนึงถึงคุณภาพบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการ พิจารณาความถูกต้องและประโยชน์ของเนื้อหาบทความ โดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว
  2. ให้ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงบทความที่ชัดเจนและสร้างสรรค์ โดยใช้ความเชี่ยวชาญและความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของบทความที่รับประเมินอย่างแท้จริง
  3. ไม่แสวงหาประโยชน์จากบทความทางวิชาการที่ตอบรับการอ่านเพื่อพิจารณาคุณภาพของบทความ
  4. ตรวจสอบบทความที่รับประเมิน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเนื้อความที่คัดลอกมาจากผลงานชิ้นอื่น ๆ หากตรวจสอบพบว่ามีการคัดลอก ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที
  5. รักษาระยะเวลาในการประเมินบทความตามกรอบเวลาประเมินที่กองบรรณาธิการกาหนดไว้
  6. ไม่แสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ
  7. ไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ตอบรับเพื่อพิจารณาคุณภาพของบทความ