การเขียนอ้างอิงภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
เรียน ผู้นำส่งบทความวิจัยที่จะตีพิมพ์ในวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย ทุกท่าน
เพื่อโปรดทราบ ด้วยกองบรรณาธิการวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัยได้พัฒนาคุณภาพวารสาร และเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ระบบการคัดเลือกนำวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล ACI ซึ่งเป็นฐานข้อมูลระดับอาเซียน นั้น กองบรรณาธิการวารสารฯ จึงขอเปลี่ยนแปลงการเขียนอ้างอิงจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยเริ่มตั้งแต่วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป
การอ้างอิง
- การอ้างอิงในเนื้อหาใช้ระบบนาม-ปี (Name-year Reference)
1.1 การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาจากสื่อทุกประเภท ให้อ้างอิงในรูปแบบดังนี้ (ชื่อผู้เขียน, \ ปีพิมพ์: \ เลขหน้าที่ปรากฏ) เช่น (Scott and Jeff, 1991: )
1.2 กรณีอ้างอิงเอกสารที่เผยแพร่เป็นภาษาไทย ให้ระบุเฉพาะนามสกุลของผู้แต่งเป็นภาษาอังกฤษ ดังตัวอย่าง
- กระทรวงศึกษาธิการ (Ministry of Education, 2008: 8) ได้กล่าวถึง เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน.....
- มาเรียม นิลพันธุ์ (Nillapun, 2015: 143) ได้กล่าวถึง แบบแผนการทดลองเพื่อประเมินทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์เป็นการวิจัยแบบ (One -Shot Case Study)……..
- ประเด็นดังกล่าวสอดคล้องกับ อัจฉรา เจตบุตร (Jettabut, 2013: 121) ที่พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนสื่อประสมในระดับมาก
หมายเหตุ: ทุกรายการที่อ้างอิงในเนื้อหา ต้องปรากฏในรายการอ้างอิงท้ายบทความเสมอ
2. รายการอ้างอิง (References)
การเขียนรายการอ้างอิงท้ายบทความ 1) การอ้างอิงใช้รูปแบบตามหลักเกณฑ์ของ APA (American Psychology Association) 2) กรณีอ้างอิงจากเอกสารที่เผยแพร่เป็นภาษาไทยให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และใส่ข้อความ (in Thai) ไว้ท้ายรายการเอกสารอ้างอิงนั้นๆ ซึ่งมีรายละเอียดตามชนิดของเอกสาร ดังตัวอย่างต่อไปนี้
2.1 หนังสือ
ตัวอย่าง
Scott, C.D. and Jeffe D.T. (1991). Empowerment : Building a committed workforce.
California: Kojen Page.
Boonwong, N. (1996). Principles of Design. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Tidd, J., Bessant, J. and Pavitt, K. (2001). Managing innovation. 2nd ed. Chichester:
John Wiley and Sons.
2.2 บทความวารสาร
ตัวอย่าง
Shani, A., Sena, J. and Olin, T. (2003). “Knowledge Management and New Product Development: a Study of Two Companies”. European Journal of Innovation Management 6(3): 137-149.
Piyasri, B., Nillapun. M. (2015). “The Professional Development Model to Enhance
Teaching Competency of Teachers Through Differentiated Instruction”.
Silpakorn Educational Research Journal 7(1): 97-109. (in Thai)
2.3 วิทยานิพนธ์
ตัวอย่าง
Changkuen, P. (2001). Korat Traditional Play: Analyzing the Value of Physical Education and Folklore.
Master of Education Thesis Program in Physical Education Graduate School Khonkaen University. (in
Thai)
2.4 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
2.4.1 หนังสือออนไลน์ (online / e-Book)
ตัวอย่าง
Humm, M. (1997). Feminism and Film. [Online]. Retrieved October 20, 2001, from
https://www.netlibrary.com.
2.4.2 บทความจากวารสารออนไลน์ (online / e-journal)
ตัวอย่าง
Kenneth, I. A. (2000). “A Buddhist Response to The Nature of Human Rights”. Journal of Buddhist Ethics
8(3):13-15. [Online]. Retrieved March 2, 2009, from https://www.cac.psu.edu/jbe/twocont.html.
Webb, S. L. (1998). “Dealing With Sexual Harassment”. Small Business Reports 17(5):11-14. [Online].
Retrieved January 15, 2005, from BRS, File: ABI/INFORM Item: 00591201.
2.4.3 ฐานข้อมูล
ตัวอย่าง
Beckenbach, F. and Daskalakis, M. (2009). Invention and Innovation as Creative Problem Solving
Activities: A Contribution to Evolutionary Microeconomics. [Online]. Retrieved September 12, 2009, from http:www.wiwi.uni-augsburg.de/vwl/hanusch/emaee/ papers/Beckenbach_neu.pdf.