ความสัมพันธ์ของยุทธศาสตร์การศึกษาของจังหวัดกับระดับคุณภาพของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากผลการประเมินเชิงพื้นที่ (Area-Based Assessment) (The Relationship between Strategy of Provincial Education and Quality Education Level at the Basic Education Area-Based Assessment)

Main Article Content

ดวงใจ ชนะสิทธิ์ (Duangjai Chanasid)
อรพรรณ ตู้จินดา (Oraphan Toujinda)
ชัยยุธ มณีรัตน์ (Chaiyut Maneerat)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดกับระดับคุณภาพของสถานศึกษา 2) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ในการยกระดับคุณภาพสถานศึกษาเสนอต่อรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างคือ สำนักงานจังหวัดจำนวน 14 จังหวัด ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม จำนวน 397 แห่ง ใช้การสุ่มแบบแบ่งประเภท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกภาคสนาม ประเด็นในการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Cramer’s V และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์ของยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดกับระดับคุณภาพสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ในการยกระดับคุณภาพสถานศึกษาเสนอต่อรัฐบาล พบว่าประเด็นที่รัฐบาลจะต้องขับเคลื่อน 6 ประเด็นเร่งด่วนคือ 2.1) ปรับโครงสร้างของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด 2.2) ควรพิจารณาการคัดเลือกคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดโดยกำหนดสัดส่วนให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถคัดเลือกหรือสรรหาเอง 2.3) ควรส่งเสริมให้มีการสอนงานอาชีพในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อตอบสนองท้องถิ่นและตลาดแรงงานให้มากขึ้น 2.4) ควรกำกับติดตามผลการดำเนินงานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเชิงพื้นที่อย่างจริงจังเพื่อแก้ปัญหาได้ทันท่วงที 2.5) ควรมีมาตรการป้องกันการเกิดระบบอุปถัมภ์มากกว่าระบบคุณธรรมในการวิ่งเต้น โยกย้าย หรือการเก็บเงินในรูปแบบต่างๆ และ 2.6) ควรหามาตรการส่งเสริมและปรับทัศนคติ ค่านิยมของผู้ปกครองในการมุ่งส่งบุตรหลานเข้าเรียนมหาวิทยาลัยโดยไม่สนใจทักษะทางด้านอาชีพ

Article Details

Section
บทความวิจัย