การประเมินกิจกรรมพัฒนาสุขภาพและพลานามัย: กรณีศึกษานักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในประเทศไทย (The Evaluation of the Health and Physical Development Activities: A Case Study of High School Science Gifted Student in Thailand)

ผู้แต่ง

  • นิวัฒน์ บุญสม (Niwat Boonsom)

คำสำคัญ:

รูปแบบการประเมิน CIPP Model / กิจกรรมพัฒนาสุขภาพและพลานามัย /ดัชนีมวลกาย / เปอร์เซ็นต์ไขมัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินกิจกรรมพัฒนาสุขภาพและพลานามัย ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 2) ศึกษาผลของกิจกรรมพัฒนาสุขภาพและพลานามัย ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อดัชนีมวลกายและเปอร์เซ็นต์ไขมันของนักเรียน และ 3) ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนากิจกรรมพัฒนาสุขภาพและพลานามัย ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 241 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาสุขภาพและพลานามัย และเครื่องวัดไขมันและองค์ประกอบในร่างกาย (Body Composition Analyzer) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Paired Samples t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาสุขภาพและพลานามัย ในภาพรวม พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
  2. ผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาสุขภาพและพลานามัย ด้านบริบท พบว่า มีความคิดเห็นว่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ จุดมุ่งหมายของกิจกรรมมีความสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนและสังคม
  3. ผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาสุขภาพและพลานามัย ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีความคิดเห็นว่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดี (ไม่มีโรคประจำตัว) เหมาะสมกับการออกกำลังกาย
  4. ผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาสุขภาพและพลานามัย ด้านกระบวนการ พบว่า มีความคิดเห็นว่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนสามารถเลือกประเภทของการออกกำลังกายตามความสนใจได้
  5. ผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาสุขภาพและพลานามัย ด้านผลผลิต พบว่า มีความคิดเห็นว่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนสามารถออกกำลังกายได้ครบตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่หลักสูตรกำหนด
  6. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของดัชนีมวลกายและเปอร์เซ็นต์ไขมัน พบว่า ก่อนและหลังทดสอบของนักเรียน ไม่แตกต่างกัน
  7. ผลการศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนากิจกรรมพัฒนาสุขภาพและพลานามัย ในด้านต่างๆ มีดังนี้

7.1 ด้านบริบท พบว่า ควรปรับเกณฑ์ขั้นต่ำที่นักเรียนต้องออกกำลังกายต่อภาคเรียนและเวลาในการออกกำลังกายแต่ละครั้งให้น้อยลง หรือไม่ควรตั้งเกณฑ์ขั้นต่ำที่นักเรียนต้องออกกำลังกาย โดยให้ออกกำลังกายตามความสมัครใจของนักเรียน

7.2 ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ควรจัดสถานที่สำหรับการออกกำลังกายให้เพียงพอกับจำนวนคนใช้บริการ เพิ่มอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกกำลังกายให้เพียงพอต่อการใช้งาน จัดป้ายแสดงวิธีการใช้งานเครื่องออกกำลังกายในห้องฟิตเนส เพิ่มแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการออกกำลังกาย ปรับสภาพแวดล้อมของห้องฟิตเนส โดยเพิ่มโทรทัศน์ และจัดให้มีจุดบริการน้ำดื่มภายในศูนย์กีฬา

7.3 ด้านกระบวนการ พบว่า ควรลดกิจกรรมหรือภาระงานต่างๆ ของนักเรียนให้น้อยลง เพื่อให้นักเรียนมีเวลาในการออกกำลังกายมากขึ้น ควรมีผู้รับรองการบันทึกการออกกำลังกายในแต่ละสถานที่ออกกำลังกายและครูทุกคนสามารถรับรองได้ รวมถึงกรณีที่ออกกำลังกายในช่วงกลับบ้านที่เป็นวันหยุดหลายวัน สามารถให้ผู้ปกครองรับรองได้ และควรเปลี่ยนวิธีการบันทึกการออกกำลังกายด้วยการใช้สมุดบันทึกแบบเดิม ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่รัดกุม มีความยุ่งยาก และไม่สะดวก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย