ข้อเสนอการพัฒนาการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ (Proposal for Operational Improvement Regarding Senior Citizen’s Potential Enhancement)

ผู้แต่ง

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การพัฒนาศักยภาพ, โรงเรียนผู้สูงอายุ, การรวมกลุ่มผ่านกิจกรรม, ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษานโยบาย กลไก และมาตรการในการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาสภาพจริงของการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุในรูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุ การรวมตัวผ่านกิจกรรม และการรวมตัวกับกลุ่มคนหลายช่วงวัย  และ 3) เพื่อนำเสนอข้อเสนอการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุในรูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุ การรวมตัวผ่านกิจกรรม และการรวมตัวกับกลุ่มคนหลายช่วงวัย  ประชากรงานวิจัยนี้คือ ผู้บริหาร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กลุ่มคนต่างช่วงวัย และผู้สูงอายุ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุในรูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุ การรวมตัวผ่านกิจกรรม การรวมตัวกับกลุ่มคนหลายช่วงวัย และศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.)  จำนวน 556 คน  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแนวทางการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า  1) นโยบาย กลไก และมาตรการในการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ มุ่งเน้นด้านสุขภาพ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านความมั่นคงหรือการมีหลักประกันของชีวิต มีการจัดทำมาตรการและออกแบบกลไกเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรมทุกรูปแบบเน้นการส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง 2) สภาพจริงของการดำเนินงาน พบว่า มีความหลากหลายของรูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุขึ้นกับพื้นที่และหน่วยงาน องค์กร และเครือข่ายที่สนับสนุน มีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุ และองค์กรภาคีเครือข่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เน้นการส่งเสริมสังคมและสุขภาพเป็นสำคัญ โรงเรียนผู้สูงอายุ มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพและการดูแลตัวเอง โดยให้ผู้สูงอายุและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ จุดอ่อน คือ กลไกด้านหลักประกันไม่มีความสอดคล้องกับนโยบายและมาตรการ และยังเน้นการรวมกลุ่มเฉพาะผู้สูงอายุการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกชุมชนและการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกองทุนการออมน้อย  การรวมตัวผ่านกิจรรม มีจุดเน้นที่สำคัญ คือ การรวมกลุ่มเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าผ่านกิจกรรม ส่วนจุดอ่อนคือการนำชุมชนเข้ามาร่วมมือและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ และยังขาดการส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนการออม  ส่วนรูปแบบของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุพบว่ามีจุดเน้นคือการส่งเสริมให้มองเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุผ่านกิจกรรมหลากหลายทั้งด้านสุขภาพและอาชีพ  ส่วนจุดอ่อนคือการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและการส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนออม  ในด้านนโยบายทุกรูปแบบมุ่งการให้ผู้สูงอายุมองเห็นคุณค่าในตนเองผ่านกิจกรรมสุขภาพและการมีปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคม ในขณะที่ให้ความสำคัญกับนโยบายในด้านการเสริมสร้างความมั่นคงและหลักประกันในชีวิตรวมทั้งการพิทักษ์สิทธิ์ของตนเองน้อย   ในด้านมาตรการพบว่าทุกรูปแบบมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมกับการให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแต่การนำชุมชนเข้ามาร่วมในการบริหารจัดการยังให้ความสำคัญน้อย  สำหรับกลไกด้านสุขภาพ พบว่า เน้นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าใจตนเอง กลไกการมีส่วนร่วม มีการให้ความสำคัญกับความสะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรมและความหลากหลายของกิจกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ กลไกด้านความมั่นคงและมีหลักประกันในชีวิตของผู้สูงอายุพบว่ามีการส่งเสริมอาชีพ  ทุกรูปแบบยังให้ความสำคัญทางด้านหลักประกันและความมั่นคงในชีวิตน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดตั้งกองทุนเพื่อการส่งเสริมการออม   

Author Biography

อาชัญญา รัตนอุบล - (Archanya Ratana-Ubol), Faculty of Education, Department of Lifelong Education, Chulalongkorn University

ผลงานวิชาการ

  • รศ.ดร.อาชัญญา รัตนอุบล, ผศ.ดร.วีรฉัตร์ สุปัญโญ, ผศ.ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, ผศ.ดร.วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา, ผศ.ดร.มนัสวาส โกวิทยา และ ผศ.ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล ปีดำเนินการ 2557 การพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยวัยที่สามเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย (Development of Guidelines for Promoting the University of the Third Age for Lifelong Learning of Thai Aging) โครงการยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงลึก กองทุนรัชดาภิเษก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2558
  • อาชัญญา รัตนอุบล. ปีดำเนินการ 2556 การวิเคราะห์และสังเคราะห์ปรัชญา แนวคิดและหลักการของการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทุนสนับสนุนจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2557
  • วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, อาชัญญา รัตนอุบล, มนัสวาสน์ โกวิทยา, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา,

ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย และสุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. ปีดำเนินการ 2556 การวิจัยเชิงเปรียบเทียบกรอบด้านนโยบายและยุทธศาสตร์กรณีของประเทศในประชาคมอาเซียนในรอบ 3 ทศวรรษ: กรณีศึกษาประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ปีงบประมาณ 2557.

  • Archanya Ratana-Ubul, Weerachart Soopunyo, Wirathep Pathumcharoenwattana, and Suwithida Charungkaittikul. Research Study on Transforming Education and Training Systems to Create Lifelong Learning Societies in the Asia-Pacific. Sponsored by UNESCO Year 2015
  • อาชัญญา รัตนอุบล.  กระบวนการฝึกอบรมทางการศึกษานอกระบบโรงเรียน. 422657. 2534, 53 หน้า
  • อาชัญญา รัตนอุบล. การจัดระบบสื่อเพื่อการศึกษานอกระบบ ชุดวิชาการพัฒนาและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ (เล่ม 1 หน่วยที่ 2) นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2534, หน้า 35 – 71 จำนวน 37 หน้า, เผยแพร่โดย : คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

  • อาชัญญา รัตนอุบล และนวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม. การวิจัยการศึกษานอกระบบ ชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพการศึกษานอกระบบ (เล่ม 1 หน่วยที่ 7) นนทบุรี : สำนักพิมพ์หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2534, หน้า 247-296 จำนวน 48 หน้า (ร่วมทำ 50 %) เผยแพร่โดย : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อาชัญญา รัตนอุบล และเพ็ญศรี ทวิสุวรรณ. โครงสร้างทางวิชาการของการศึกษาทางไกล ชุดวิชาการศึกษาทางไกล (เล่ม 2 หน่วยที่ 8) นนทบุรี : สำนักพิมพ์วิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2534, หน้า 339 -389. (ร่วมทำ 50 %) เผยแพร่โดย : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อาชัญญา รัตนอุบล และชัยยงค์ พรหมวงศ์. การผลิตและการใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษานอกระบบ ชุดวิชาการพัฒนาและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ (เล่ม 2 หน่วยที่ 11) นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2534, หน้า 485-557, (ร่วมทำ 50%) เผยแพร่โดย : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อาชัญญา รัตนอุบล และทวิศักดิ์ จินดานุรักษ์. สภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect). วารสารเสริมสมอง เล่มที่ 10 ปีที่ 7 (กุมภาพันธ์ 2534) : หน้า 13-18.
  • อาชัญญา รัตนอุบล.การจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน. 2711375. 2539. 92  หน้า

 

  • อาชัญญา รัตนอุบล. กระบวนการการฝึกอบรมสำหรับการศึกษานอกระบบโรงเรียน.  กรุงเทพมหานคร : บริษัทประชาชน จำกัด, 2540. 128 หน้า แหล่งเผยแพร่ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาชัญญา รัตนอุบล.  ทักษะการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ. ชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพการศึกษานอกระบบ (เล่ม 1 หน่วยที่ 5) หน้า 160-203 จำนวน 44 หน้า. สมประสงค์  วิทยเกียรติ บรรณาธิการ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี :  สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2534. แหล่งเผยแพร่ :  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อาชัญญา รัตนอุบล.  “การศึกษาแบบการเรียนรู้ (Learning Styles)  ของผู้เรียนมีความสำคัญอย่างไรต่องานการศึกษานอกโรงเรียน” ข่าวสารวิจัยการศึกษา  ปีที่ 18  ฉบับที่ 2 (ธันวาคม 2537-มกราคม 2538 :  หน้า 29-33.
  • สุมาลี สังข์ศรี, สมประสงค์  วิทยเกียรติ, นฤมน  ตันธสุระเศรษฐ์, ศศิกาญจน์  ทวิสุวรรณ และอาชัญญา  รัตนอุบล. ความคิดเห็นและความคาดหวังของนักศึกษาและผลที่ได้รับจากหลักสูตรการศึกษานอกระบบ โดยระบบการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.  นนทบุรี : พิมพ์อัดสำเนาเย็บเล่ม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2535, 396 หน้า (ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช) แหล่งเผยแพร่ :  เสนอในการสัมมนางานวิจัยของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ณ อาคารวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ 31  กรกฎาคม พ.ศ. 2538. และเผยแพร่โดยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  • สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, ชนิตา  รักษ์พลเมือง, สุวิมล  ว่องวาณิช, อาชัญญา  รัตนอุบล,  อมรวิชช์  นาครทรรพ และวรรณดี  พรหมมา. การศึกษาแนวโน้มความต้องการและการผลิตกำลังคนระดับสูงกว่า  ปริญญาตรี. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์อัดสำเนาเย็บเล่ม คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2537, 252 หน้า. (ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ) แหล่งเผยแพร่ :  เสนอในการประชุมทางวิชาการเรื่อง การวิจัยทางการศึกษา และการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาครั้งที่ 9 วันที่ 9-12 ตุลาคม 2538  ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเผยแพร่โดยทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
  • อาชัญญา รัตนอุบล.  การศึกษาแบบการเรียนรู้ของนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน คณะครุศาสตร์ กรุงเทพมหานคร : พิมพ์อัดสำเนาเย็บเล่ม  คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538, 136 หน้า (ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากทุนส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ปี 2537)แหล่งเผยแพร่ : วารสารการศึกษาตลอดชีวิต ประจำเดือนกันยายน  2539 ปีที่ 18 ฉบับที่ 7 หน้า 20-21.
  • Oonta Nopakun, Suwimon Wongwanich, Archanya Ratana-Ubol and Chaiyosh lmsuwan. The Development of internal Efficiency Indicators and Productivity of Adult Literacy Programmes. Bangkok Metropolis : UNESCO/PROAP, 1995. 44 PP. (Supported by UNESCO/PROAP)  แหล่งเผยแพร่ : เสนอให้ UNESCO วิพากษ์เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาโครงการ Efficiency and Productivity of Literacy
  • อาชัญญา รัตนอุบล (หัวหน้าโครงการ), ผศ.ดร.วีรฉัตร์ สุปัญโญ, ผศ.ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, ผศ.ดร.วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา, ผศ.ดร.มนัสวาส โกวิทยา และ ผศ.ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. การพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยวัยที่สามเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย (Development of Guidelines for Promoting the University of the Third Age for Lifelong Learning of Thai Aging) แหล่งเผยแพร่ : โครงการยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงลึก กองทุนรัชดาภิเษก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 14 พฤษภาคม 2558 วารสาร  ปีที่ ฉบับที่ วัน เดือน เลขปีพ.ศ. เลขหน้า x-x (อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)
  • อาชัญญา รัตนอุบล (หัวหน้าโครงการวิจัย) วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, มนัสวาสน์ โกวิทยา, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา, ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย และสุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. การวิจัยเชิงเปรียบเทียบพัฒนาการด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาของประเทศในประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย.แหล่งเผยแพร่ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2557.วารสาร ปีที่ ฉบับที่ วัน เดือน เลขปีพ.ศ. เลขหน้า x-x (อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)
  • อาชัญญา รัตนอุบล (หัวหน้าโครงการ) สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล และระวี สัจจโสภณ. อนาคตภาพรูปแบบมหาวิทยาลัยวัยที่สามเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2558 หน้า 88 - 96 แหล่งเผยแพร่ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.วารสาร Kasetsart Journal of Social ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2558 หน้า 88 - 96 (อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)
  • อาชัญญา รัตนอุบล (หัวหน้าโครงการ) วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา ปาน กิมปี และระวี สัจจโสภณ. การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย.แหล่งเผยแพร่ : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2554.วารสาร  ปีที่ ฉบับที่ วัน เดือน เลขปีพ.ศ. เลขหน้า x-x (อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)
  • อาชัญญา รัตนอุบล (หัวหน้าโครงการ) สารีพันธุ์ ศุภวรรณ, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, มนัสวาสน์ โกวิทยา, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา, ปาน กิมปี, ณัฎฐลักษณ์ ศรีมีชัย, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล และระวี สัจจโสภณ. การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม – ตุลาคม 2555 หน้า 14-28 แหล่งเผยแพร่ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2553.วารสารครุศาสตร์ ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม – ตุลาคม 2555 หน้า 14 – 28 (อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)
  • อาชัญญา รัตนอุบล (หัวหน้าโครงการ) ปาน กิมปี, สารีพันธุ์ ศุภวรรณ, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, วรรัตน์ อภินันท์กูล, ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย และสุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. ผลการทดลองกิจกรรมบูรณาการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของผู้ใหญ่วัยแรงงาน. แหล่งเผยแพร่ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2553.วารสาร ปีที่ ฉบับที่ วัน เดือน เลขปีพ.ศ. เลขหน้า x-x (อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)
  • อาชัญญา รัตนอุบล (หัวหน้าโครงการ) สารีพันธุ์ ศุภวรรณ, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา, ปาน กิมปี, ณัฎฐลักษณ์ ศรีมีชัย, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล และระวี สัจจโสภณ. การศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการ และรูปแบบการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของผู้ใหญ่วัยแรงงาน. แหล่งเผยแพร่ : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2552. วารสาร  ปีที่ ฉบับที่ วัน เดือน เลขปีพ.ศ. เลขหน้า x-x (อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)
  • อาชัญญา รัตนอุบล (หัวหน้าโครงการ) ปาน กิมปี, สารีพันธุ์ ศุภวรรณ, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, วรรัตน์ อภินันท์กูล, ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย และสุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. แนวทางการพัฒนาการดำเนินการยกย่องครูภูมิปัญญาไทยในการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการศึกษา เศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่นอย่างครบวงจร. แหล่งเผยแพร่ : คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,  วารสาร  ปีที่ ฉบับที่ วัน เดือน เลขปีพ.ศ. เลขหน้า x-x (อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)
  • อาชัญญา รัตนอุบล (หัวหน้าโครงการ) วลัย พาณิช, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, วรรัตน์  อภินันท์กูล, ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย และสุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาเด็ก   เยาวชน และครอบครัว. แหล่งเผยแพร่ :  คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551 วารสาร ปีที่ ฉบับที่ วัน เดือน เลขปีพ.ศ. เลขหน้า x-x (อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)
  • อาชัญญา รัตนอุบล (หัวหน้าโครงการ) เกียรติวรรณ อมาตยกุล, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, วรรัตน์ อภินันท์กูล, ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย และสุวิธิดา จรุงเกียรติกุล.  แนวโน้มการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนของประเทศไทยในทศวรรษ. แหล่งเผยแพร่ :  คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,  วารสาร ปีที่ ฉบับที่ วัน เดือน เลขปีพ.ศ. เลขหน้า x-x (อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1)
  • อาชัญญา รัตนอุบล. พัฒนาการ การเรียนรู้และการจัดกิจกรรมสำหรับผู้ใหญ่. 177 หน้า. 2551 แหล่งเผยแพร่ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาชัญญา รัตนอุบล. การเรียนรู้ของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในสังคมไทย. 164 หน้า. 2559 แหล่งเผยแพร่ : ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวางจำหน่ายที่ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

ภาษาไทย
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2559). รายงานประจำปี พ.ศ.2558. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://dop.go.th/main/work_detail.php?id=9fee90122026a072eb0f8a530c23136e
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุ ปี 2559. แหล่งที่มา https://www.dop.go.th/th/know/2/54. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561.
กรมกิจการผู้สูงอายุร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ม.ป.ป). คู่มือการใช้มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ.
กรมอนามัย. (2557). รายงานประจำปีกรมอนามัย 2557. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.anamai.moph.go.th/. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561.
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (2545 - 2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (2552). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.
ดวงกมล (วัฒนสุข) พรชํานิ. (2550). การจัดเวทีประชาคม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.ayutthaya. doae.go.th/Knowledge-53/web-visa/EK-visa4.
นนทยา อิทธิชินบัญชร (2016). แนวทางการสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้กับผู้สูงอายุในจังหวัดศรีสะเกษ. Panyapiwat Journal, 8(1), 111-121. Retrieved from https://tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/55729
เพ็ญแข ลาภยิ่ง. (2552). ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชนในระบบสุขภาพ : แนวคิด หลักการและประสบการณ์ต่างประเทศ (Public-Private Partnerships in Health System: concept, principle and foreign experiences) : สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
ระวี สัจจโสภณ. (2556). แนวคิดทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ปีที่ 34, 471-490.
ศิริอมร กาวีระ. แนวทางการพัฒนาด้านการตลาดกลุ่มน้ำพริกเกษตรกรบ้านแม่โข อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น: ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (2017): มกราคม 2560 - มีนาคม 2560
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559).
แผนพัฒาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560 – 2564. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). ร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.nesdb .go.th/The Secretariat of the Prime Minister. (2016). Draft of the national strategy for 20 years. [Online]. Retrieved on April 10, 2018 from https://www.nesdb .go.th/
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพ และพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2557). คู่มือการดำเนินงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ (สทส.).
อาชัญญา รัตนอุบล, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล และระวี สัจจโสภณ. อนาคตภาพรูปแบบมหาวิทยาลัยวัยที่สามเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2558 หน้า 88 - 96

ภาษาอังกฤษ
Cohen, John M. and Uphoff, Norman T. (1977). Rural Participation:Concepts and
Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. In Rural Development Monograph No. 2 The Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University, January.
Conger, J. A., & Kanungo, R. N. (1988). The empowerment process: Integrating theory and practice. Academy Management Review.
Freeman, E.R. (1984). Strategic Management: A Stakeholder Approach. Boston: Pittman.
Henton, Doug, John Meville, Terry Amsler, and Malka Kopell. 2006. Collaborative
Governance: A Guide for Grantmakers. Menlo Park. CA: William and Flora Hewlett Foundation. www.hewlett.org. [Accessed August 14, 2018].
Maslow, A.H. 1962. A Theory of Human Motivation. Psychological. 50(4): 370.
World Health Organization. Retrieved November 25, 2018, from https://www.who.int/whr/2002/en/

เผยแพร่แล้ว

2019-07-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย