การพัฒนาชุดฝึกอบรม เรื่อง การผลิตส้มโอที่ได้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สำหรับเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม (The Training Packages Development in Title the Pomelo Planting with the Good Agriculture Practices for Farmers in Nakhon Pathom Province)

ผู้แต่ง

  • ณัฐวรรณ พุ่มดียิ่ง (Nuttawan Pumdeeying)
  • นภาภรณ์ ยอดสิน (Napaporn Yodsin)
  • จิราภรณ์ อนุตธโต (Jiraporn Anuttato)
  • พิชญาภา ยืนยาว (Pitchayapa Yuenyaw)
  • ศุภมาศ ปั้นปัญญา (Supamas Panpanya)
  • สุรพงษ์ อนุตธโต (Surapong Anuttato)

คำสำคัญ:

ชุดฝึกอบรม, การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี, ส้มโอ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรม เรื่อง การผลิตส้มโอที่ได้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สำหรับเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรที่ปลูกส้มโอ ที่อยู่ในเขตจังหวัดนครปฐม จำนวน 20 คนซึ่งได้มาด้วยโดยอาสาสมัคร (volunteer) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ชุดฝึกอบรมและแบบประเมินความรู้ เรื่อง การผลิตส้มโอที่ได้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. ชุดฝึกอบรม เรื่อง การผลิตส้มโอที่ได้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สำหรับเกษตรกรในจังหวัดนครปฐมมีหน่วยการเรียนรู้จำนวน 6 หน่วย คือ 1) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร 2) น้ำในการผลิตพืชและการเลือกพื้นที่ปลูกตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร 3) การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสม 4) การผลิตส้มโอตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร 5) การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ถูกต้องและเหมาะสม และ 6) การจดบันทึกตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร  2. ผลประเมินความรู้ เรื่อง การผลิตส้มโอที่ได้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเกษตรกรในจังหวัดนครปฐมของเกษตรกรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยหลังฝึกอบรม ( =24.05) สูงกว่าก่อนฝึกอบรม ( =19.85)

คำสำคัญ : ชุดฝึกอบรม/ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี/ ส้มโอ

Abstract

The purpose of this research was develop the training packages on Good Agricultural Practices for pomelo for farmers in Nakhon Pathom Province. The target population was 20 pomelo farmers of Nakhon Pathom province by Voluntary Sampling method. The research instrument was questionnaire. The statistics used in analyzing the data were mean and standard deviation.  The research finding were as follow: 1. There were 6 unit of the training packages on Good Agricultural Practices; 1) the basic knowledge of according Good Agricultural Practices stardard, 2) the water of planting and the cultivated area according according Good Agricultural Practices stardard, 3) the appropriate utilization of agricultural hazardous, 4) the pomelo planting according Good Agricultural Practices stardard, 5) the appropriate of harvesting, 6) the record and tracibity according Good Agricultural Practices stardard. 2. The posttest scores from Good Agricultural Practices knowledge was higher than pretest scores.

.

Keywords : Training packages/ Good Agricultural Paactices/ Pomelo

เผยแพร่แล้ว

2019-07-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย