การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการท้องถิ่นอารยวิถีชุมชนบ้านหนองขาวสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (The Development of Integrated Local Curriculum on The Civilized Way of Ban Nong Khao Community Lifestyle of fifth Grade Students)

ผู้แต่ง

  • พิษณุวัฒน์ พวงเงิน (Pitsanuwat Pvongngern) 0818215885
  • จิตณรงค์ เอี่ยมสำอางค์ (Chitnaron GIamsam-ang)

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้ / อารยวิถีชุมชนบ้านหนองขาว / ผลการเรียนรู้ / ความภาคภูมิใจในท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนาหลักสูตร 3) ทดลองใช้หลักสูตร และ 4) ประเมินหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดอินทาราม “โกวิทอินทราทร” จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์            แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสอบถาม และประเด็นสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ใน   การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) อายรวิถีชุมชนบ้านหนองขาวเป็นมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แสดงถึงวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษที่ควรแก่การสืบสานและส่งต่อสู่คนรุ่นหลัง 2) หลักสูตรบูรณาการท้องถิ่นอารยวิถีชุมชนบ้านหนองขาว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) ความเป็นมาของหลักสูตร 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) คำอธิบายรายวิชา               5) ผลการเรียนรู้ 6) โครงสร้างรายวิชา 7) เวลาเรียน 8) แนวทางการจัดการเรียนรู้ 9) สื่อการเรียนรู้ 10) การวัดและประเมินผล 11) แผนการจัดการเรียนรู้ หลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและมีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.00/88.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) นักเรียนมีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความภาคภูมิใจในอารยวิถีชุมชนบ้านหนองขาวอยู่ในระดับมากที่สุด และหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 4) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีผลการประเมินด้านกระบวนและด้านผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย