ผลของการใช้ชุดกิจกรรมสานสัมพันธ์สำหรับผู้ปกครองที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยในเขตพื้นที่ภาคกลางตะวันตก (Effect of Using Parents’ Relationship Activity Packages on Self-discipline of Young Children in the Western Area of Central Region of Thailand)
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรมสานสัมพันธ์สำหรับผู้ปกครอง/วินัยในตนเองของเด็กปฐมวัย/ผู้ปกครอง/ เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมสานสัมพันธ์สำหรับผู้ปกครองที่ส่งผลต่อวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมสานสัมพันธ์สำหรับผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ เด็กปฐมวัย ระดับบริบาลที่มีอายุระหว่าง 2 – 3 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ภาคกลางตะวันตก 5 แห่ง จำนวน 74 คน ซึ่งได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมสานสัมพันธ์สำหรับผู้ปกครอง 2) แบบสังเกตพฤติกรรมความมีวินัยในตนเอง 3) แบบทดสอบวัดวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิตินอนพาราเมตริกของวิลคอกซัน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมสานสัมพันธ์สำหรับผู้ปกครองที่ส่งผลต่อวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยมีค่าประสิทธิภาพ 79.56/79.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) เด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดกิจกรรมสานสัมพันธ์สำหรับผู้ปกครองมีระดับคะแนนความมีวินัยในตนเองก่อนการทดลองและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง
References
https://www.dmcr.go.th/detailAll/2426/pc/23. (in thai)
Department of Curriculum and Instruction Development. (1994A). Discipline Reinforcement and Operational Manual. Bangkok; The Teachers' Council Press. (in thai)
Pre-school Education Curriculum Manual. (2003). Pre-school Education Curriculum 2003. Bangkok; Ministry of Education. (in thai)
Kamrunglue, J. (2013). The Development of Self-Discipline of Pre-school Students Using Multi-age Inclusive Education of Baan Huay Muak Dang School, Chaiyaphum
Province. The Degree Master of Education Program in Early Childhood Education, Phranakhon Rajabhat University. (in thai)
Sripukdee, C. (2012). The Study of Preschool Children’s Self-Discipline Through Thai Game Experience. Master’s Thesis. M-Ed. (Early Childhood Ecucation). Srinakharinwirot
University. (in thai)
Chakchai, C. et al. (2012). The Participation of Parents in Baan Tham School’s Educational Management, Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 3. Master of
Education Program in Educational Administration Program. School of Liberal Arts, Mae Fah Luang University. (in thai)
Nakwatchara, W. (2001). Answering Children and Teenagers Foster Problems. 4 nd ed. Bangkok; Amarin Printing and Publishing. (in thai)
Kumvan, S. (2000). The reduction of aggressive behavior according to modelling technique and social reinforcement of Mattayom Suksa VI students. (Master’s Thesis in
Education). Khon Kaen University. (in thai)
Amonwiwat, S. (2002). Learning Process Reform of Pilot School. Selected Model. Bangkok. S.P.K.Paper and Form Co., Ltd. (in thai)
Royal Thai Government. (2017). 12th National Economic and Social Development Plan (B.E. 2017 - 2021). [Online]. Retrieved January 3, 2017, from http: //
www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/115/1.PDF. (in thai)
Office of the National Education Commission. (2007). Quality Assurance System and Nation Educational Standards. Bangkok : Pimdee. (in thai)
_______. (2011A). The Development of Educational Management Network by Thai Society Family. Bangkok : Pimdee, Photocopying. (in thai)
Tangkasombat, U. (2009). Building Discipline for Your Children. Bangkok : Sunprint Press. (in thai)