การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้งานศิลปกรรมปูนปั้นเมืองเพชร (The Development of Education Tourism Routes of Stucco Artworks in Mueang Phetch)

ผู้แต่ง

  • จิตตรา มาคะผล (Jittra Makapol)
  • คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ (Kiriboon Jongwutiwes)
  • บำรุง ชำนาญเรือ (Bamroong Chamnanrua)
  • อนัน ปั้นอินทร์ (Anan Punin)
  • พรรณภัทร ปลั่งศรีเจริญสุข (Panpat Plungsricharoensuk)

คำสำคัญ:

งานศิลปกรรมปูนปั้น การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้งานศิลปกรรมปูนปั้นในอำเภอเมืองเพชรบุรี โดยการสำรวจงานปูนปั้นที่มีความสำคัญ งดงาม และโดดเด่น และคัดเลือกโดยคำนึงถึงสภาพและลักษณะงานตลอดจนสถานที่ตั้ง นำมาออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ และทดลองท่องเที่ยว รวบรวมข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ นักเรียน นักศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 113 คน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ศึกษางานศิลปกรรมปูนปั้นเมืองเพชรภายในวัด จำนวน 71 แห่ง และนอกบริเวณวัด จำนวน 3 แห่ง 2) ออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้งานศิลปกรรมปูนปั้นเมืองเพชร โดยมีแก่นเรื่องที่แตกต่างกัน จำนวน 4 เส้นทาง พร้อมจัดทำคู่มือประกอบการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ในแต่ละเส้นทาง จำนวน 4 เล่ม 3) ผลการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวฯ ผู้ร่วมกิจกรรมเกิดความประทับใจและได้เรียนรู้งานศิลปกรรมปูนปั้นในเรื่องต่างๆ เช่น สถานที่ตั้ง ลวดลายปูนปั้น วิธีการปั้น การเตรียมปูนปั้นแบบโบราณ และช่างปั้นที่มีฝีมือของจังหวัดเพชรบุรีทั้งในอดีตและปัจจุบัน

เผยแพร่แล้ว

2020-07-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย