ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม (Innovative Leadership of School Administrators Affecting Effectiveness of the Pracharathschool under Samutsongkram Educational Service)

ผู้แต่ง

  • วัชรพงศ์ ทัศนบรรจง (Wacharaphong Thatsanabanjong)
  • จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย (Jittirat Saengloetuthai)

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม / ประสิทธิผลสถานศึกษา / โครงการโรงเรียนประชารัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม และ 3) วิเคราะห์ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู บุคลากรในโรงเรียนประชารัฐ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม จำนวน 216 คนได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย มีค่าความตรงด้านเนื้อหา ระหว่าง 0.67 และ 1.00 มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามด้านภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในในโครงการโรงเรียนประชารัฐ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.96 และด้านประสิทธิผลของสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนประชารัฐได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้านประกอบด้วยการมีวิสัยทัศน์ การสร้างบรรยากาศในการองค์กร การบริหารจัดการ การมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่าย และการสร้างองค์กรนวัตกรรมตามลำดับ 2. ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้านประกอบด้วย การสอนคุณธรรมในโรงเรียน การพัฒนาตนเองของครู การจัดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ความสามารถในการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา และความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และภาษาอังกฤษตามลำดับ และ 3. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม อันได้แก่ การสร้างบรรยากาศในการองค์กร (X5) และการสร้างองค์กรนวัตกรรม (X2) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 63.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสมการวิเคราะห์การถดถอย คือ  = 1.14 + 0.57 (X5)
+ 0.14 (X2)

References

Dejakup, P. (2015). Learning Management in the 21st Century. Bangkok: Chulalongkorn
University Press. (in Thai)
George. (2012, June). Innovation for inclusive growth: Towards a theoretical
framework and a research Agenda. Journal of Management Studies, 49 (4), 661-683
Horth, D. M. & Vehar, J. (2012). Becoming a leader who fosters innovation.
Baffles: Guildford & King Lynn.
Karnasuta, A. (2009). The Relationship between School Administrators Leadership and
Administrational Effectiveness of Basic Education Schools underthe Office of Prachuabkhirikhan Educational Service Area 1. Master of Science, Master of Education Educational Administration Program Graduate school Phetchaburi Rajabhat University. (in Thai)
Khumwongdee, M. (2013). Relationship between learning organization and effectiveess
of Pluakdang School under the Rayong primary education service area office 1. Master of Science, Master of Education Educational Administration Program Graduate school Burapha University. (in Thai)
Lindegaard. (2009, March). Navigating terrains of violence: How South African male
youngsters negotiate social change. Social Dynamics, 35 (1), 19-35.
McMillan. (2010). Cognitive development. California: Sage Publication.
Miller, Klokgiers & Deppen. (2012). Diffusion of innovations. New York: Simon &
Schuster.
Ministry of Education. (2009). Basic Education Core Curriculum B.E.2551 (A.D.2008).
Bangkok: Khet Chatuchak. (in Thai)
Office of the Basic Education Commission, Office of Educational Innovation Development.
(2016). School Administrators Development Course Pracharat School Project. [Online]. Retrieved December 16, 2018, from http://203.159.154.241/inno_obec/
index.php?module=view_group_inno&id=16. (in Thai)
Patel. (2012). Evolutionary crossroads in developmental biology. Development,
139 (11), 2637-2638.
Phongmit, W. (2013). Factors Affecting the Administrative Effectiveness of Schools
under the Office of Secondary Educational Service Areas, Area 21. Master of Education Thesis Educational Administration Program Graduate school Maha Sarakham University. (in Thai)
Phumali, K. (2014). The administrative factors affecting the effectiveness of small
school in the eastern region. Doctor of Philosophy Thesis Program in Management for Development Education Graduate School Rajabhat Rajanagarindra University. (in Thai)
Pollock. (2008). Pharmaceutical meaning‐making beyond marketing: Racialized
subjects of generic thiazide. Belmont, CA: Cengage/Wadsworth.
Prajanant, O. (2014). An educational innovative organization: A new choice of
educational administration. Bangkok: Top. (in Thai)
Roscorla, T. (2010). The 7 steps to innovative. Retrived 16 December 2017, from
http://www.convergemag.com/policy/The-7-Elements-of-Innovative-Leadership.html
Saengloetuthai, J. (2014). Educational research methods. Nakhon Pathom: Nakhon Pathom
Rajabhat University. (in Thai)
Sinlarat, P. (2012). CCPR. A new paradigm model of creative and productive leaders.
Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Sisaat, B. (2013). Statistical methods for research, Volume 1 (5th edition). Bangkok:
Suwiriya Sarasan. (in Thai)
Tamtool, V. (2014). Innovative Leadership of School Administrators affecting High
Performance Organization of School in the Secondary Educational Service Area Office 21. Master of Education thesis Educational Administration Program Graduate school Khon Kaen University. (in Thai)
The Secretariat of the House of Representatives, Office of the Commission. (2016).
Education reform. [Online]. Retrieved December 15, 2018, from http://www.senate.
go.th/w3c/senate/comm.php?url=home&comm_id=1548. (in Thai)
Toknak, K. (2013). A Factor Analysis of Innovation Leadership for Basic
Educational Administrators. Master of Education Thesis Educational Administration Program Faculty of Education Naresuan University. (in Thai)
Wattanarojphaibun, O. (2010). The development of innovative leadership model.
Master of Public Administration Thesis Department of Public Administration Bachelor of Science National Institute of Development Administration. (in Thai)

เผยแพร่แล้ว

2020-07-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย