การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยบูรณาการหลักอริยมรรคเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะของนักเรียนตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ (The Development of Economics Instructional Model Integrated with The Principle of Ariyamagga to Enhance Students’ Characteristics based on Buddhist Economics)

ผู้แต่ง

  • ธนภูมิ พุ่มจันทร์ (Thanapoom Phumchan)
  • อรพิณ ศิริสัมพันธ์ (Orapin Sirisamphan)

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์/อริยมรรค/เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยบูรณาการหลักอริยมรรค เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะของนักเรียนตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยบูรณาการหลักอริยมรรค เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะของนักเรียนตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือ    การใช้รูปแบบการเรียนการสอน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน    4) แบบทดสอบคุณลักษณะของนักเรียนตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ ด้านความรู้ 5) แบบประเมินคุณลักษณะของนักเรียนตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ ด้านทักษะกระบวนการ 6) แบบประเมินคุณลักษณะของนักเรียนตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ ด้านเจตพิสัย 7) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) รูปแบบการเรียนการสอนมีคุณภาพและความเหมาะสมในการนำไปใช้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) คุณลักษณะของนักเรียนตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ ได้แก่ ด้านความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านทักษะกระบวนการ มีพัฒนาการสูงขึ้นตามลำดับ และด้านเจตพิสัย มีพัฒนาการสูงขึ้นตามลำดับ และ 3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียน       การสอนอยู่ในระดับมากที่สุด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย