การประเมินความต้องการจำเป็นในการให้บริการของศูนย์ออกกำลังกาย Fitness SU. ED Center คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Needs Assessment Service for Fitness SU. ED Center, Faculty of Education Silpakorn University)
คำสำคัญ:
ความต้องการจำเป็น, ศูนย์ออกกำลังกาย, มหาวิทยาลัยศิลปากรบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการ 2. ประเมินความต้องการจำเป็นในการให้บริการ และ 3. ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการให้บริการของศูนย์ออกกำลังกาย Fitness SU. ED Center คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ครั้งนี้คือ สมาชิกของศูนย์ออกกำลังกาย Fitness SU. ED Center คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งกำหนดขนาดของตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G * Power ได้จำนวน 200 คน ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือผู้รับผิดชอบศูนย์ออกกำลังกาย Fitness SU. ED Center คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามได้ค่าความเชื่อถือ 0.971 และแนวทางการสัมภาษณ์ระดับลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1. พฤติกรรมการใช้บริการ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้ลู่วิ่งไฟฟ้า ใช้บริการเวลา 15.30-20.30 น. (จันทร์-ศุกร์) เป็นสมาชิกรายเดือน เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ใช้บริการเพื่อต้องการให้รูปร่างดี ใช้บริการ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้บริการครั้งละ 1.30 ชั่วโมง – 2 ชั่วโมง และบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการคือตัวเอง 2. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการให้บริการของศูนย์ออกกำลังกาย มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNIM) โดยรวมเท่ากับ 0.15 และค่า PNIM รายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการให้บริการ ด้านความปลอดภัย ด้านอุปกรณ์ออกกำลังกายด้านบุคลากรผู้ให้บริการ และด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม 3. แนวทางการพัฒนาการให้บริการของศูนย์ออกกำลังกาย ประกอบด้วย 3.1 ด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมโดยการจัดสภาพแวดล้อมภายในให้เหมาะสมและการพัฒนาสถานที่ให้จัดกิจกรรมได้หลายรูปแบบ 3.2 ด้านอุปกรณ์การออกกำลังกาย โดยการจัดเตรียมอุปกรณ์การออกกำลังกายที่ทันสมัยและเพียงพอต่อความต้องการ 3.3 ด้านการให้บริการ โดยการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม 4. ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาความรู้ด้านการออกกำลังกาย และพัฒนาบุคลากรประจำศูนย์ออกกำลังกาย และ 5. ด้านความปลอดภัยโดยการประเมินความเสี่ยงของผู้รับบริการ และการใช้มาตรฐานความปลอดภัยในการให้บริการ
References
กายเพื่อสุขภาพฉบับที่ 1. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
_______. (2560). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในสถานประกอบการ. มปท.
กาญจนศรี สิงห์ภู่. (2560). คู่มือการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับประชาชน. สืบค้นเมื่อ 17
มีนาคม 2562.จาก http://mossiraporn.blogspot.com/2013/09/blog-
%20post_3683.html
จรวยพร ธรณินทร์. (2557). พฤติกรรมการออกกำลังกาย. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่าน
ศึก.
รัตพงษ์ ฤกษ์ไชโย และภัทรียา ลาสุนนท์. (2562). “สมรรถภาพทางกายโดยรวมของผู้สูงอายุในเขต
ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย.” วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ. 3(1). 1-10.
สมบัติ กาญจนกิจ. (2541). พฤติกรรมการออกกำลังกาย. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่าน
ศึก.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Drucker, P. (2001). The essential Drucker. New York: Harper Business.