การวิเคราะห์การใช้ภาษาไทยกับสถานภาพทางสังคมของบุคคลเพื่อพัฒนาแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย: กรณีศึกษากลวิธีการใช้ภาษาในการเปิดและปิดสนทนาทางโทรศัพท์ (The Analysis of Thai Language Influenced by the Social Status of People, for Developing Approaches to Teach Thai Language: A Case Study on the Strategy of Using Thai Language in Opening and Closing Phone Conversations)

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา หอมฟุ้ง (Cholticha Homfung)
  • สมพร ร่วมสุข (Somporn Ruamsuk)
  • กฤษณะ ลำทะแย (Kritsana Lumthaya)
  • รจนา คานึงผล (Rodchana Khumnungphon)
  • วันวิสาห์ ปัญญาจิรวุฒิ (Wanwisa Punyajirawiti)
  • ไพรินทร์ พึ่งพงษ์ (Phairin PungPong)

คำสำคัญ:

กลวิธีการใช้ภาษาไทย, การเริ่มต้นและจบบทสนทนา, แนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์การใช้ภาษาไทยกับสถานภาพทางสังคมของบุคคลเพื่อพัฒนาแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย: กรณีศึกษากลวิธีการใช้ภาษาในการเริ่มต้นและจบบทสนทนาทางโทรศัพท์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การใช้ภาษาไทยในการเริ่มบทสนทนาทางโทรศัพท์และจบบทสนทนาทางโทรศัพท์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพทางสังคมของบุคคลกับการใช้ภาษาไทยในการเริ่มบทสนทนาทางโทรศัพท์และจบบทสนทนาทางโทรศัพท์ และ 3) วิเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยจากกรณีศึกษาการเริ่มบทสนทนาทางโทรศัพท์และจบบทสนทนาทางโทรศัพท์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 40 คน ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และร้อยละ ได้ผลการวิจัย ดังนี้

          1.ผลการวิเคราะห์การใช้ภาษาในการเริ่มบทสนทนาทางโทรศัพท์พบ 1 กลวิธีใหญ่ คือ การเรียกหา ประกอบไปด้วยกลวิธีย่อย 5 กลวิธีดังนี้ การทักทาย การอุทาน การเรียกขาน การเรียกความสนใจด้วยการใช้คำถาม และการใช้คำตอบรับ โดยกลวิธีย่อยที่พบมากที่สุด คือ การทักทาย ในด้านกลวิธีที่ใช้ในการจบบทสนทนาทางโทรศัพท์พบว่ากลวิธีที่ใช้มากที่สุดคือการบอกเหตุผล แบ่งเป็น 2 แบบ คือ บอกเหตุผลแบบตรง และ บอกเหตุผลแบบอ้อม

  1. การเริ่มบทสนทนาและจบบทสนทนาทางโทรศัพท์กับสถานภาพทางสังคมของบุคคล พบว่าสถานภาพและระยะห่างทางสังคมมีผลต่อการเลือกใช้กลวิธีการเริ่มและจบบทสนทนาทางโทรศัพท์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกใช้กลวิธีและภาษาที่แสดงความเป็นทางการและแสดงความสุภาพมากกับบุคคลที่มีสถานภาพทางสังคมสูงกว่าและมีระยะห่างทางสังคมมากกว่าคือ “ครู” สำหรับบุคคลที่มีสถานภาพทางสังคมเท่ากันแต่มีระยะห่างทางสังคมมาก ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกใช้กลวิธีและภาษาที่แสดงความเป็นทางการและแสดงความสุภาพเช่นกัน คือ “เพื่อนบ้าน” และ “คนแปลกหน้า” สำหรับบุคคลที่มีสถานภาพทางสังคมสูงกว่าและมีระยะห่างทางสังคมน้อยคือ “ผู้ปกครอง” ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกใช้กลวิธีและภาษาที่แสดงความสุภาพแต่ไม่มากและใช้ภาษาที่แสดงความสนิทสนม สำหรับบุคคลที่มีสถานภาพทางสังคมเท่าเทียมกันและมีระยะห่างทางสังคมน้อย ผู้ตอบแบบสอบถามใช้กลวิธีและภาษาที่แสดงความเป็นกันเอง
  2. การวิเคราะห์แนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยจากกรณีศึกษาการใช้ภาษาในการเริ่มบทสนทนาทางโทรศัพท์และจบบทสนทนาทางโทรศัพท์ ผลการวิเคราะห์ได้กิจกรรมทั้งหมด 16 กิจกรรม 4 สาระในวิชาภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551 ได้แก่ สาระที่ 1 การอ่าน สาระที่ 2 การเขียน สาระที่ 3 การฟังการดูและการพูด และสาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย ทั้งนี้ ผลการประเมินคุณภาพแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยจากกรณีศึกษาการใช้ภาษาในการเริ่มบทสนทนาทางโทรศัพท์และจบบทสนทนาทางโทรศัพท์โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าทุกกิจกรรมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (= 5.00, S.D. = 0.00) สามารถนำไปใช้สอนได้จริง

References

ทรงธรรม อินทจักร.(2550). แนวคิดพื้นฐานด้านวัจนปฏิบัติศาสตร์.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุรีรัตน์ รอดทิพย์. (2544). การเปิดการสนทนาทางโทรศัพท์ในภาษาไทย” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มยุรี สวัสดิ์เมือง. (2540). “การศึกษาภาษาสนทนาทางโทรศัพท์ทางสถานีวิทยุข่าวสาร และการจราจร (จส 100)”วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2555). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
HaoSun.(2004). “Opening moves in informal Chinese telephone conversations.” Journal of Pragmatics. Volume 36, Issue 8, August 2004, Pages 1429-1465. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0378216604000207
Leech, G. N. (1983). Principles of Pragmatics. London: Longman.
Levinson. (1983). Pragmatics. Cambridge University Press
Mohsen. (2009). “A conversation analytical study of telephone conversation openings of Tranian speakers.” Journal of International Social Research . Aug 2009, Vol. 2 Issue 8, p375-384.
Natthaporn Panpothong.(2001). “Thai Way of Saying ‘No’ to a Request.” MANUSYA: Journal of Humanities 4, 2 (2001):63-75.
Pattama Lomajarean.(2004). A Study of the Pattern and Strategies Used in Telephone Conversations at The Metropolitan Electricity Authority (MEA) Call Center. Mahidol University.

เผยแพร่แล้ว

2020-07-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย