การขับเคลื่อนชุมชนเพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสามารถด้านสุขภาพ (Community Mobilization for Promoting Active Aging in Health Dimension)

ผู้แต่ง

  • อุรปรีย์ เกิดในมงคล (Urapree Kerdnaimongkol)
  • ฐิติมา เวชพงศ์ (Thitima Vechpong)

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การขับเคลื่อนชุมชน, การใช้ชีวิตอย่างมีความสามารถ, สุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลการใช้ชีวิตอย่างมีความสามารถด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทย 2) พัฒนากิจกรรมขับเคลื่อนชุมชนเพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสามารถด้านสุขภาพ 3) ทดลองและประเมินกิจกรรมขับเคลื่อนชุมชนฯ และ 4) สังเคราะห์ปัจจัยสนับสนุนและเสนอ                     แนวทางการขับเคลื่อนชุมชนฯ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามภูมิภาคจากประชากรผู้สูงอายุทั่วประเทศ ศึกษากรณีชุมชนที่เป็นตัวอย่างการปฏิบัติที่ดี และทดลองเพื่อดำเนินการศึกษาพัฒนาและจัดกิจกรรมขับเคลื่อนชุมชน ผลการศึกษา มีดังนี้

  1. 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่สามารถดูแลช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น ด้านสุขภาพกาย พบว่า ทานอาหารครบ 5 หมู่ ไม่ออกกำลังกาย พบแพทย์เมื่อเจ็บป่วย นอนหลับ ขับถ่ายปกติ สามารถทำกิจวัตรประจำวัน ด้านสุขภาพจิต มีความสุข มีการผูกมิตรกับผู้อื่น และสามารถเผชิญกับปัญหา
  2. 2. การพัฒนากิจกรรมขับเคลื่อนชุมชนฯ มีขั้นตอนดังนี้ 1) สำรวจความต้องการ 2) ประสานผู้มีส่วนร่วม
    3) ออกแบบกิจกรรม 4) กำหนดการจัดกิจกรรม 5) ทดลองดำเนินการจัดกิจกรรม และ 6) ประเมินผลการ จัดกิจกรรม
  3. 3. การประเมินกิจกรรมขับเคลื่อนชุมชนฯ ด้านสุขภาพกาย พบว่า ได้ออกกำลังกาย บริหารสมอง
    ได้วิธีการดูแลสุขภาพ ทานอาหารที่ปลอดภัย ด้านสุขภาพจิต ได้ผ่อนคลาย ภาคภูมิใจ และมีเพื่อน
  4. 4. การสังเคราะห์ปัจจัยสนับสนุนและเสนอแนวทางฯ ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ความยั่งยืน แรงจูงใจที่เข้าร่วมกิจกรรม บทบาทในการขับเคลื่อน เงื่อนไขของการขับเคลื่อน และตัวบ่งชี้ ส่วนแนวทางฯ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า ขั้นตอนการขับเคลื่อน ผลต่อผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชน

References

Chaiyo, W. (2012). “The research on the concept of Happiness in the elderly: A case of Ban Wai Tong Niwet”. Journal of Human Sciences, Faculty of
Humanities, Chiang Mai University 13(1):16-30. [Online]. Retrieved from http://journal.human.cmu.ac.th/ojs//files/journals/
1/articles/39/public/39-171-1-PB.pdf
Keyuranon, P. (2008). Creating happiness in the elderly. Retrieved from file:///C:/Users/kerdn/Downloads/A1311251443423281.pdf
Krung Krai Phet, N. and et al, (2016). “The Driven Model of Healthy Community in Thamanow”. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University
24(3):34-46. [Online]. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/74911
Nakwijit, B. (2008). Psycho-social fators related to self- care behavior and happiness of the senior citizen club members in the hospitals under
medical service department, Bangkok metropolis. Master Thesis, (Applied Behavioral Science Research). Bangkok : Graduate School,
Srinakharinwirot University.
Office of Community Based Health Care Research and Development. (2011). Community Empowerment : Tools and knowledge management for
Community Health Development. Retrieved from https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/3163/hs1809.pdf?
sequence=3&isAllowed=y
Office of the National Economic and Social Development Council. (2013). Population Projections of Thailand 2010-2040. Retrieved from
http://socail.nesdb.go.th/social/Portals/0/Ducuments/การคาดประมาณ%20e-book.pdf
Kham Hom, R. and et al. (2004). The Evaluation on Social Welfare Services to develop the quality of Life of the Elderly in Thailand. Bangkok:
Bangkokblock. (in Thai)
Saengprachaksakula, S. (2014). “Active Ageing of Thai Elderly”. Journal of Social Sciences Srinakharinwirot University 17(17):231-248. [Online].
Retrieved from file:///C:/Users/kerdn/Downloads/4772-15594-1-PB%20(1).pdf
Sajjasophon, R. (2013). “Educational Concepts for Developing Active Aging in the Elderly”. KASETSART JOURNAL: SOCIAL SCIENCES 34(3):471-490.
[Online]. Retrieved from https://kukr.lib.ku.ac.th/journal/index.php?/KJSS/search_detail/result/308130
Sitthiprechachan, P and et al. (2012). “Community Participation in the Process of Care of Elderly at MABCARE Subdistrict”. Journal of The Royal Thai
Army Nurses 13(2):8-17. [Online]. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/3061/2750
World Health Organization. (2002). Active Aging: A Policy Framework. Retrieved from http://www.who.int/aging/publications/active/aging/en/
Yowa Pui, P. and et al, (n.d.). Health Promotion of the Elderly. Retrieved from http://www.smnc.ac.th/group/research/
images/stories/nurse/promotion.pdf

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย