การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (An Evaluation of Bachelor of Arts Program in Psychology Faculty of Education, Silpakorn University)

ผู้แต่ง

  • กมล โพธิเย็น (Kamol Phoyen)
  • ฐิติมา เวชพงศ์ (Thitima Vechpong)
  • กันยารัตน์ เมืองแก้ว (Kanyarat Muangkaew)
  • วนัญญา แก้วแก้วปาน (Wananya Kaewkaewpan)
  • ชินัณ บุญเรืองรัตน์ (Chinun Boonroungrut)

คำสำคัญ:

การประเมินหลักสูตร, หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา, รูปแบบ CIPPI

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินผลหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) ด้านสภาวะแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) ด้านสภาวะแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบ ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาจิตวิทยา 2) คณาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา 3) บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา ปีการศึกษา 2562 4) นักศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยา ปีการศึกษา 2563 ที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 5) ผู้ใช้บัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยา 6) ผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ และ 7)  ผู้บริหารสถานฝึกงานทางจิตวิทยาและผู้ดูแลนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1)  สภาวะแวดล้อมเกี่ยวกับแผนการดำเนินงาน จุดแข็ง/ จุดอ่อนของภาควิชาโดยรวมอยู่ใน  ระดับมาก 2) ปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ โครงสร้างและเนื้อหาสาระของหลักสูตร คุณสมบัติของผู้เรียน/การสอบคัดเลือก คุณสมบัติของคณาจารย์ที่สอน/ อาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ วัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และงบประมาณในการผลิตบัณฑิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก  3) กระบวนการเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของผู้สอน พฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางจิตวิทยา การให้บริการและการสนับสนุน

References

Khammani, T. (2001). Include official articles on project evaluation. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Pattanapol, M. (2015). Curriculum Evaluation for Learning and Development. 4th ed. Bangkok: Charansanitwong Publisher. (in Thai)
Office of the National Economics and Social Development Council. (2016). Summary of the National Economic and Social Development Plan Twelfth Edition, 2017-2021. Bangkok: Office of the National Economics and Social Development Council Prime Minister's Office. (in Thai)
Office of the Higher Education Commission. (2009). National Qualifications Framework for Higher Education, 2009. Bangkok: Office of the Higher Education Commission. (in Thai)
Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory, models and applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Stufflebeam, D. (2003). The CIPP model for evaluation, in International Handbook of Educational Evaluation. eds T. Kellaghan and D. Stufflebeam (Boston, MA: KluwerAcademic Publishers), p. 31-62.
Stufflebeam, Daniel L., and others. (1971). Education and Decision Making. Illinois: Peacock Pulisher Inc.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย