การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวตลาดน้ำภาคใต้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ

คำสำคัญ:

รูปแบบการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน / ตลาดน้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ  และปัจจัยหรือเงื่อนไขของการดำรงอยู่ของการท่องเที่ยวตลาดน้ำภาคใต้ ตลอดจนการพัฒนารูปแบบ                    การท่องเที่ยวตลาดน้ำภาคใต้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยเป็นการวิจัยในลักษณะของพหุเทศะกรณี  

                ผลการวิจัยพบว่า การเกิดขึ้นของแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำภาคใต้ส่วนใหญ่เกิดจากการจัดตั้งขึ้นใหม่ภายใต้การดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมีการบริหารในรูปของคณะกรรมการ รวมทั้งมีกฎระเบียบสำหรับใช้เป็นแนวปฏิบัติ สำหรับวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของ                การท่องเที่ยวตลาดน้ำภาคใต้  ได้แก่  การบริหารจัดการ และการดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นฐานในการพัฒนาตลาดน้ำ  ส่วนปัจจัยหรือเงื่อนไขของการดำรงอยู่ของการท่องเที่ยวตลาดน้ำภาคใต้  ได้แก่ 1) การมีสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว 2) การส่งเสริมและสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) การร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ 4) อัตลักษณ์และความแตกต่าง              5) การมีส่วนร่วม  6) การบริหารจัดการ และ 7) การประชาสัมพันธ์  สำหรับรูปแบบการท่องเที่ยวตลาดน้ำภาคใต้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินการ 10 ประการ ได้แก่                1) กิจกรรม สินค้า บริการ และโครงสร้างพื้นฐาน 2) เครือข่ายการท่องเที่ยว 3) ฐานทรัพยากร                 4) อัตลักษณ์ 5) การมีส่วนร่วม 6)  การประชาสัมพันธ์ 7) กระบวนการเรียนรู้ 8) การบริหารจัดการ                9) วัฒนธรรมชุมชน และ 10) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยอาจเรียกรูปแบบนี้ว่า  “A TRIP PLACE MODEL”  ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้การประเมินและผ่านการรับรองโดยเวทีประชาคมแล้ว

This research aims to explore performance condition, best practices, factors or criterions that effect to the existing of floating market tourism inSouthern Thailandas well as to develop the model of floating market tourism for sustainable development. In order to accomplish the objectives of this research, a mixed methodology design is adopt which consists of quantitative and qualitative methodologies (Multisite multi-case technique).

The finding of this research demonstrates that most of new floating markets inSouthern Thailandare found and managed by local government in the form of official committee. Besides, the regulations are regarded as an instrumental performance. Accordingly, the best practices of floating market tourism inSouthern Thailandare for instance an inclusive community’s participation based-development. The factors or criterions that effect to the existing of floating market tourism in Southern Thailand consist of 1) product and service for responding tourists’ need, 2) encouragement and supportive assistance for local government performance, 3) cooperation with other organizations, 4) identity and differences, 5) participation, 6) administrative management, and 7) public relation. Furthermore, the model of floating market tourism for sustainable development named “A TRIP PLACE MODEL” which consists of 10 major significant performances;                          1) activities, products, services and infrastructure, 2) tourism network, 3) resources based,                           4) identity, 5) participation, 6) public relations, 7) learning process,  8) administration management, 9) community culture, and 10) environmental conservation. Additionally, this model evaluation is expertized and certified by public hearing. 

เผยแพร่แล้ว

2014-06-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย