การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในรายวิชาสื่อและวัสดุทางศิลปะ เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของนักศึกษาศิลปศึกษา

ผู้แต่ง

  • ประติมา ธันยบูรณ์ตระกูล สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ, ชุมชนเป็นฐาน, การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในรายวิชาสื่อและวัสดุทางศิลปะเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของนักศึกษาศิลปศึกษา และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง 2) ออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะแล้วตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) นำกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะไปทดลองใช้ และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา ชั้นปีที่ 3 จำนวน 28 คน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะรวม 6 กิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเชิงลึก กิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน แบบประเมินชิ้นงานแบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินความพึงพอใจ และการเขียนสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่                     การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการนำกิจกรรมไปใช้สรุปได้ว่า 1) ชิ้นงานของผู้เรียนมีคุณภาพผลงานอยู่ในระดับดี 2) พฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในเกณฑ์ดี 3) ผลงานสร้างสรรค์จากการแปรรูปผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ โดยภาพรวมของผลงานอยู่ในระดับดีเยี่ยม ( = 45.32) และ 4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจในกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะฯ ในระดับมากที่สุด ( = 4.51) 5) การสะท้อนคิดของผู้เรียน มีดังนี้ ผู้เรียนรู้สึกตื่นเต้นที่ได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยทำมาก่อน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมชุมชน ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในผลงานของตนเองและผู้อื่น และคิดว่ากิจกรรมนี้ทำให้ผู้เรียนรู้สึกได้เป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานศิลปวัฒนธรรมชุมชนให้คงอยู่เห็นคุณค่าในศิลปวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น และสามารถพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีความร่วมสมัยต่อไปได้

 

References

Aporn, J. (2010). Teaching Principles. 5th ed. Bangkok : O.S. Printing House. (in Thai)
Aran, W. (2016). OTOP Design. Bangkok : Chulalongkorn University Printing House.
(in Thai)
Bedri, Z, de Frein, R. and Dowling, G. (2017). Community-based learning : A primer. Irish Journal
of Academic Practice, Retrieved on February 18, 2021, from
https://arrow.dit.ie/ijap/vol6/iss1/5
Chalood, N. (2016). Elements of art. 10th ed. Bangkok: Amarin. (in Thai)
Chutima, V. (2008). management of visual arts learning on the basis of community culture.
Bangkok : Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)
Pirapong, G. (2018). Creative and Education in Art. Journal of Information. 17 (1) :
49 - 58. (in Thai)
Poonarat, P. (2017). Psychology of Art : The Empirical Aesthetics. Bangkok : Chulalongkorn
University Printing House. (in Thai)
Rawee, S. (2020). The Community-Based Learning Approach for Designing School
Curriculums in Early Childhood Education with an Application to Promote a 21st Century Learning. [Online]. Retrieved February 10, 2021, from http://nakhonnayok.dusit.ac.th
Ranumas, M. (2016). effective teaching and learning management in higher education. Journal
of Southern Technology. 9(2) : 169 – 176. (in Thai)
Vicharn Panich. (2014). Innovation towards an education country. [Online]. Retrieved on
February 18, 2021, from https://www.gotoknow.org/posts/565909
Zelanski, P. and Fisher, M.P. (1991). The art seeing. New Jersey : Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย