การพัฒนาชุดทักษะการเขียนโปรแกรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • พนภาค ผิวเกลี้ยง

คำสำคัญ:

ชุดฝึกทักษะ / การเขียนโปรแกรมภาษาปาสคาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนโปรแกรม   2)   พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะการเขียนโปรแกรม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) ทดลองใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนโปรแกรม 4) ประเมินและปรับปรุงแก้ไขชุดฝึกทักษะการเขียนโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี  จำนวน 34 คน โดยทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555  ระยะเวลาที่ใช้ 15 ชั่วโมง แผนการทดลอง คือ One Group Pretest – Posttest Design  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่า t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า  ผลการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมของนักเรียนก่อนและหลังใช้ชุดฝึกทักษะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0 .01 โดยหลังการใช้ชุดฝึกทักษะมีคะแนนสูงกว่าก่อนใช้ชุดฝึกทักษะ นักเรียนมีความคิดเห็นว่าชุดฝึกทักษะทำให้นักเรียนพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ช่วยให้นักเรียนสรุปเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้นและสามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างถูกต้องและนักเรียนมีความสามารถในการออกแบบเขียนโปรแกรมได้อยู่ในระดับดีมาก

The purpose of this research was to develop the development of  instructional package on pascal programming for eleventh grade students. with consisted 4 stages as follow: 1) to study fundamental data ,2)  to develop  of instructional pascal programming to meet the criterion of 75/75 , 3)  to implement  the  instructional package  , and 4) to evaluate and improve the  instructional package . The sample of research comprisied of 34 eleventh grades students of Somdejphapiyamaharajrommaneeyakhet  School,  Kanchanaburi Province.The experiment conducted during the first semester of academic year 2012 and within the duration of 15 hours. The experimental design was on One Group Pretest – Posttest Design. The collected data were analyzed by Percentage, Mean, Standard Deviation, t-test dependent, and content analysis.

The results showed that.  The students’ learning  outcome before and after the implementation of  instructional package on pascal programming were statistically significant different at the level.01, whereas the scores after the implementation were higher than before. The students revealed their opinions toward the  instructional package that, besides they were able to improve their summary skills and better understanding of the lesson. Moreover, the students’ abilities to create and design program were at the excellent level.

เผยแพร่แล้ว

2014-06-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย